การยื่นญัตติขอเปิดการอภิปราย ของ การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554 มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นญัตติขออภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวม 10 คน (จากพรรคประชาธิปัตย์ 6 คน และพรรคภูมิใจไทย 4 คน[1]) ประกอบด้วย

รายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย
ลำดับที่ชื่อ / ตำแหน่งประเด็นการอภิปราย[1]
1อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
  • การสลายการชุมนุม เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
  • การทุจริตและประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ การใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ
  • ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ-เศรษฐกิจ)
2สุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรี
  • การสลายการชุมนุม เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
  • การทุจริตในการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันปาล์ม
3กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • การซื้อขายหุ้นโดยใช้ข้อมูลภายใน
  • การปั่นหุ้น ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง โดยเฉพาะการปล่อยข่าวซื้อหุ้นดาวเทียมไทยคม
4พรทิวา นาคาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • การดูแลการระบายข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาล
  • การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันปาล์ม
5องอาจ คล้ามไพบูลย์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์ไม่โปร่งใส
6จุติ ไกรฤกษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
7ชวรัตน์ ชาญวีรกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ทุจริตการสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ
  • ทุจริตการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการฝ่ายปกครอง
8โสภณ ซารัมย์
รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม
  • ทุจริตโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และ หัวลำโพง-บางแค
  • ทุจริตโครงการประมูลซ่อมบำรุงทางของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
9ศุภชัย โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การถือครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ 700 ไร่ ในจังหวัดนครพนม
10กษิต ภิรมย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ความล้มเหลวในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

โดยฝ่ายค้านให้เหตุผลว่า รัฐมนตรีดังกล่าวบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา การปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายไม่มีความถูกต้อง เป็นธรรม ใช้กฎหมายลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต จงใจบิดเบือนการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ปล่อยให้มีการกักตุนสินค้า การผูกขาดโดยเอกชน ไม่รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม แทรกแซงการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยแนบคำขอยื่นถอดถอนรัฐมนตรีดังกล่าวทุกคน ยกเว้นกษิต ภิรมย์[2]

สำหรับเหตุผลที่ฝ่ายค้านยื่นถอดถอนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นั้น ประกอบด้วยสี่ประการ ได้แก่ 1. กรณีการสลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นผลทำให้ช่างภาพชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตหนึ่งคน 2. การใช้อำนาจแทรกแซงกรมสอบสวนคดีพิเศษและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่เสร็จตามระยะเวลาของกฎหมาย 3. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กรณีเหตุวางเพลิงห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เนื่องจากมีกำลังทหารอยู่ใกล้เคียง และมีทีมดับเพลิงอยู่ภายใต้ห้างนับสิบทีม แต่ไม่สามารถป้องกันเหตุได้[3] และ 4. กรณีใช้อำนาจแทรกแซงกรมสรรพากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีกับบริษัทฟิลลิป มอร์ริส ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งนำเข้าบุหรี่จากฟิลิปปินส์ และเลี่ยงภาษีอากร ทำให้รัฐเสียประโยชน์กว่า 68,000 ล้านบาท[3]

ด้านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้ว่า ฝ่ายค้านไม่ระบุเหตุผลการยื่นญัตติให้ชัดเจน อาจไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอภิสิทธิ์ชี้ว่า หากฝ่ายค้านไม่ยอมเปิดเผยเหตุผลที่ชัดเจน อาจทำให้ไม่สามารถอภิปรายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของประธานรัฐสภา[4]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย มีนาคม พ.ศ. 2554 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?... http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B... http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?new... http://www.ryt9.com/s/iq02/1098961 http://news.sanook.com/1009479-%E0%B8%AA%E0%B8%AA.... http://www.komchadluek.net/detail/20110225/89898/%... http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/177549.htm... http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/182066.htm...