รายชื่อพายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[4] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[5] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[4] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[5] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[6] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[7]

ชุดที่ 5

  • ซ้านหวู่ (2301)
  • มาวาร์ (2302)
  • กูโชล (2303)
  • ตาลิม (2304)
  • ทกซูรี (2305) (ใช้ในปัจจุบัน)
  • ขนุน (ยังไม่ใช้)
  • แลง (ยังไม่ใช้)
  • เซาลา (ยังไม่ใช้)

ชุดที่ 1

  • ด็อมเร็ย (ยังไม่ใช้)
  • ไห่ขุย (ยังไม่ใช้)
  • คีโรกี (ยังไม่ใช้)
  • ยุนยาง (ยังไม่ใช้)
  • โคอินุ (ยังไม่ใช้)
  • ซันปา (ยังไม่ใช้)
  • เจอลาวัต (ยังไม่ใช้)
  • เอวิเนียร์ (ยังไม่ใช้)
  • แคมี (ยังไม่ใช้)
  • พระพิรุณ (ยังไม่ใช้)
  • มาเรีย (ยังไม่ใช้)
  • เซินติญ (ยังไม่ใช้)
  • อ็อมปึล (ยังไม่ใช้)
  • อู๋คง (ยังไม่ใช้)
  • ชงดารี (ยังไม่ใช้)
  • ชานชาน (ยังไม่ใช้)
  • ยางิ (ยังไม่ใช้)
  • หลี่ผี (ยังไม่ใช้)
  • เบบินคา (ยังไม่ใช้)
  • ปูลาซัน (ยังไม่ใช้)
  • ซูลิก (ยังไม่ใช้)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[8] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 2561) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2026 (พ.ศ. 2569) ด้วย[8] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น โอเบต, โรซัล และ อุมเบร์โต ที่ถูกนำมาแทน โอมโปง, โรซีตา และอุสมัน ที่ถูกถอนไป[8]

  • อามัง
  • เบตตี
  • เชเดง
  • โดโดง
  • เอไก (ใช้ในปัจจุบัน)
  • ฟัลโกน (ยังไม่ใช้)
  • โกริง (ยังไม่ใช้)
  • ฮันนา (ยังไม่ใช้)
  • อีเนง (ยังไม่ใช้)
  • เจนนี (ยังไม่ใช้)
  • กาบายัน (ยังไม่ใช้)
  • ลีไวไว (ยังไม่ใช้)
  • แมริลิน (ยังไม่ใช้)
  • นิมฟา (ยังไม่ใช้)
  • โอนโยก (ยังไม่ใช้)
  • เปร์ลา (ยังไม่ใช้)
  • กีเยล (ยังไม่ใช้)
  • ราโมน (ยังไม่ใช้)
  • ซาราห์ (ยังไม่ใช้)
  • ตามาเรา (ยังไม่ใช้)
  • อูโกง (ยังไม่ใช้)
  • บีริง (ยังไม่ใช้)
  • เวง (ยังไม่ใช้)
  • โยโยย (ยังไม่ใช้)
  • ซิกซัก (ยังไม่ใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
  • อาเบ (ยังไม่ใช้)
  • เบร์โต (ยังไม่ใช้)
  • ชาโร (ยังไม่ใช้)
  • ดาโด (ยังไม่ใช้)
  • เอสโตย (ยังไม่ใช้)
  • เฟลีโยน (ยังไม่ใช้)
  • เฮนิง (ยังไม่ใช้)
  • เฮอร์มัน (ยังไม่ใช้)
  • อีร์มา (ยังไม่ใช้)
  • ไฮเม (ยังไม่ใช้)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRNWPForeca... https://pubfiles.pagasa.dost.gov.ph/pagasaweb/file... http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200... https://web.archive.org/web/20120211074501/http://... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC... https://web.archive.org/web/20130801020116/http://... https://web.archive.org/web/20170812172856/http://... https://doi.org/10.6057%2F2012TCRR01.03 https://www.worldcat.org/issn/2225-6032