Bibliometrics

การตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ความรู้ถือเป็นขนวบการหนึ่งของงานวิจัย วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ การผลิตความรู้ใหม่ และเผยแพร่ความรู้ใหม่ด้วยการตีพิมพ์ผลงานในสิ่งพิมพ์วิชาการ เช่น วารสาร การนับจำนวนบทความวิจัยจึงสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดถึงความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่ผลิตโดยนักวิจัย ส่วนผลกระทบของความรู้ใหม่ สามารถวัดได้จากจำนวนครั้งที่บทความตีพิมพ์นั้นได้รับการอ้างอิงจากนักวิจัยในงานวิจัยที่ต่อเนื่องมา Scientific Literature บทความวิจัยวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ ทำหน้าที่แทน/แสดงให้เห็นถึงขบวนการวิจัยเรื่องใหม่และเป็นการส่งมอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในรูปของในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ทำหน้าที่เผยแพร่ผลงานวิจัยของตนเองผ่านสื่อในหลายรูปแบบและหลายวิธีการที่เป็นไปได้ เช่น ตีพิมพ์ในแหล่งเสรี (Open Access)/วารสารที่มีค่า IF สูง/ฝากบทความไว้ที่คลังของสถาบัน (Institntional Repository, IR) /หน้าเว็บเพจส่วนตัว/บริการ E – Print ต่างๆ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ทำให้บทความของนักวิจัยสามารถให้สาธารณชนเข้าถึงได้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าวิธีเดิมที่ตีพิมพ์ในวารสารเท่านั้น มีโอกาสทำให้เกิดการนำไปใช้/การอ้างอิงเพิ่มมากขึ้นWWW ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดความท้าทายในสาขาการวิเคราะห์การอ้างอิงเกิดฐานข้อมูล/เครื่องมือที่สามารถตรวจสอบการอ้างอิงได้มากกว่าในอดีตยิ่งขึ้น เช่น Web of Science, Scopus, Google Scholar , arXiv.org นักวิจัย ผู้บริหาร ที่ต้องการประเมินคุณค่า/ผลกระทบของงานวิจัยสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้นค่าดัชนี Bibliometrics ไม่ได้มาแทนที่การ Peer Review