Damerau–Levenshtein_distance

ในทฤษฎีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ Damerau–Levenshtein distance (ตั้งตามชื่อผู้คิดค้น Frederick J. Damerau และ Vladimir I. Levenshtein) คือระยะทางระหว่างสองสายอักขระ ซึ่งสามารถหาได้จากจำนวนการกระทำที่น้อยที่ในการแปลงสายอักขระหนึ่งมาเป็นอีกสายอักขนะหนึ่ง โดยการกระทำที่สามารถทำกับสายอักขระได้มีสี่แบบ ดังนี้Damerau คิดเฉพาะการสะกดผิดที่สามารถแก้ไขด้วยการกระทำเพียงครั้งเดียว ส่วนการหาระยะทางที่เกิดจากการกระทำหลายการกระทำเป็นของ Levenshtein[1] ในชื่อ Levenshtein edit distance แต่ Levenshtein ไม่มีการกระทำสลับอักขระ เมื่อนำมารวมกันจึงได้เป็น Damerau–Levenshtein distanceถึงแม้ตอนแรกจะใช้ในการแก้คำที่ผู้ใช้พิมพ์ผิด แต่ในปัจจุบัน Damerau–Levenshtein distance ถูกใช้ในชีววิทยาในการหาความแตกต่างระหว่างสายอักขระ DNA อีกด้วย