การใช้งาน ของ Emacs

ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นใช้งานจากเชลล์ยูนิกซ์ได้โดยการพิมพ์ "emacs [ชื่อไฟล์]" เพื่อทำการแก้ไขไฟล์ตามชื่อ ถ้าไม่มีไฟล์ตามที่พิมพ์อีแม็คส์จะสร้างบัฟเฟอร์ใหม่มีชื่อตามที่ชื่อไฟล์ อย่างไรก็ตาม การใช้งานอีแม็คส์ให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรแก้ไขหลายๆ ไฟล์จากอีแม็คส์ตัวเดียว ไม่ควรแยกการแก้ไขไฟล์เพียงไฟล์เดียวต่อหนึ่งอีแม็คส์

ในโหมดการใช้งานตามปกติผู้ใช้พิมพ์ตัวหนังสือและแก้ไขเหมือนโปรแกรมแก้ไขข้อความโดยทั่วไป ผู้ใช้จะเรียกคำสั่งต่างๆ โดยการกดปุ่ม Ctrl และ/หรือ Meta/Alt ร่วมกับปุ่มอื่นๆ ที่จริงแล้วการพิมพ์เพียงง่ายๆ เช่นการพิมพ์ตัวหนังสือหนึ่งตัวก็เป็นการเรียกคำสั่งที่มีชื่อว่า self-insert-command

คำสั่งเบื้องต้น

ต่อไปนี้คือคำสั่งเบื้องตนเพียงบางส่วน ตัว C คือปุ่ม Ctrl ตัว M คือปุ่ม Meta หรือ Alt

คำสั่งเคาะแป้นพิมพ์อธิบาย
forward-wordM-fเลื่อนไปข้างหน้าหนึ่งคำ
search-wordC-sค้นหาคำ
undoC-/ยกเลิกข้อความที่พิมพ์ล่าสุด
keyboard-quitC-gยกเลิกคำสั่งที่กำลังพิมพ์อยู่
find-fileC-x C-fเปิดไฟล์เพื่อแก้ไข
save-bufferC-x C-sบันทึกบัฟเฟอร์
save-with-newnameC-x C-wบันทึกบัฟเฟอร์ในไฟล์ใหม่
save-buffers-kill-emacsC-x C-cบันทึกบัฟเฟอร์และออกจากอีแม็คส์
set-markerC-[space] หรือ C-@ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่งปัจจุบัน
cutC-wตัด เริ่มต้นจากเครื่องหมายที่ทำไว้ถึงตำแหน่งปัจจุบัน
copyM-wคัดลอก เริ่มต้นจากเครื่องหมายที่ทำไว้ถึงตำแหน่งปัจจุบัน
pasteC-yแปะข้อความจากคลิปบอร์ด
kill bufferC-x kปิดบัฟเฟอร์ปัจจุบัน

คำสั่ง save-buffer ใช้การกดคำสั่งหลายครั้งร่วมกันเช่น C-x C-s คือการกดปุ่มตัวเอ็กซ์ในขณะที่กดคอนโทรลค้างไว้ จากนั้นกดปุ่มตัวเอสในขณะที่กดคอนโทรลค้างไว้ วิธีนี้แม้จะดูเหมือนยุ่งยากเมื่อเริ่มเรียนรู้แต่ก็ทำให้อีแม็คส์สามารถมีคำสั่งจากคีย์บอร์ดได้มากมายไม่ถูกจำกัดโดยจำนวนปุ่มบนแป้นพิมพ์

ผู้ใช้สามารถเรียกคำสั่งบางคำสั่งจากเมนูได้เมื่ออยู่ในกราฟิกโหมด อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ชอบที่จะใช้การเรียกคำสั่งจากแป้นพิมพ์เพราะเมื่อจำคำสั่งได้แล้วจะทำได้เร็วกว่า

ใกล้เคียง

Emacs