Extrafusal_muscle_fiber
Extrafusal_muscle_fiber

Extrafusal_muscle_fiber

extrafusal muscle fibers แปลว่า เส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวย เป็นเส้นใยกล้ามเนื้อโครงร่างธรรมดาที่ได้เส้นประสาทจากเซลล์ประสาทสั่งการอัลฟาและสร้างแรงตึงโดยหดเกร็ง จึงทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่โตแล้วโดยมาก เส้นใยกล้ามเนื้อหนึ่ง ๆ จะได้แอกซอนจากเซลล์ประสาทสั่งการเพียงเซลล์เดียว[1]และเพราะร่างกายมีเซลล์ประสาทสั่งการน้อยกว่าเส้นใยกล้ามเนื้อมาก แอกซอนหนึ่ง ๆ ของเซลล์ประสาทสั่งการจะแตกสาขาส่งไปยังเส้นใยกล้ามเนื้อหลายเส้นภายในกล้ามเนื้อเดียวกัน ซึ่งปกติจะกระจายไปในกล้ามเนื้อ โดยเชื่อว่าเพราะทำให้การออกแรงกระจายไปทั่ว ๆ กันและช่วยให้กล้ามเนื้อยังสามารถทำงานแม้เซลล์ประสาทสั่งการหนึ่ง ๆ จะเสียหาย[2]ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมาก กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นมวลร่างกาย 55% และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเคลื่อนที่ การสร้างความร้อนเมื่อหนาว และเมแทบอลิซึมโดยทั่วไป[3]มันเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อโครงร่างโดยมาก และยึดอยู่กับกระดูกด้วยเอ็นเซลล์ประสาทสั่งกาอัลฟาแต่ละตัวบวกกับเส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยทั้งหมดที่เซลล์ส่งเส้นประสาทไปถึงเรียกว่า หน่วยสั่งการ (motor unit) เป็นหน่วยการทำงานพื้นฐานที่ระบบประสาทใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย[2]ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทสั่งกาอัลฟากับเส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยเรียกว่า แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) เป็นบริเวณที่กระแสประสาทของเซลล์ดำเนินต่อโดยเป็นสารสื่อประสาทคือ acetylcholine ไปยังเส้นใยกล้ามเนื้อเส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยไม่ควรสับสนกับ intrafusal muscle fiber (เส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวย) ซึ่งมีเส้นประสาทรับความรู้สึกไปยุติอยู่ที่ส่วนตรงกลางซึ่งหดเกร็งไม่ได้ และมีเส้นประสาทสั่งการจากเซลล์ประสาทสั่งการแกมมาที่ส่วนปลายทั้งสองซึ่งหดเกร็งได้ เส้นใยกล้ามเนื้อในกระสวยทำหน้าที่เป็นตัวรับรู้อากัปกิริยา (proprioceptor) ในระบบรับความรู้สึกเส้นใยกล้ามเนื้อนอกกระสวยสามารถทำในจานทดลอง (in vitro) จากเซลล์ต้นกำเนิดแบบ pluripotent stem cell ผ่านกระบวนการทางวิศวกรรมชีวภาพคือ directed differentiation[4]ซึ่งช่วยให้สามารถศึกษาการเกิดและสรีรภาพของมัน