การเพาะเลี้ยง ของ Lithops

ไฟล์:Lithops dividing.JPGกลุ่มของ Lithops sp. ที่กำลังแตกหน่อและใบเก่ากำลังเหี่ยวไป

ในต่างประเทศ Lithops เป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนาสายพันธุ์แปลกๆขึ้นมาอย่างมากมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งลวดลายและสีสันของใบที่สวยแปลกตา เรามักพบว่าเมล็ดและต้นก็มีการซื้อขายกันอย่างกว้างขวางใน Internet และจัดว่าเป็นไม้ที่เพาะเลี้ยงได้ง่าย ราคาไม่แพง สกุลหนึ่งเลยทีเดียว

แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น Lithops เป็นพืชอวบน้ำที่ค่อนข้างเลี้ยงยากสกุลหนึ่ง อันเนื่องมาจากลักษณะดินฟ้าอากาศของประเทศไทย ที่เป็นแบบร้อนชื้น ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของ Lithops เท่าไหร่นัก มักเน่าตายเป็นส่วนใหญ่ เพราะ Lithops มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนในช่วงหน้าฝนรวมกันไม่ถึง 2 นิ้วต่อเดือน และอยู่ท่ามกลางโขดหินซึ่งกักเก็บความชื้นไว้ได้น้อย อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน

การเพาะเลี้ยง Lithops ในโรงเรือนสำหรับประเทศไทยนั้น เพื่อให้สามารถควบคุมเรื่องปริมาณน้ำและความชื้นซึ่งเป็นปัญหาหลักในการปลูกได้ดี ควรมีโรงเรือนแบบเปิดหลังคาพลาสติกใส ที่สามารถป้องกันฝนสาดใส่ Lithops ให้แสงแดดในช่วงเช้า (ตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นถึงราว 11โมง) และแสงในช่วงเย็น (ตั้งแต่ 4โมงเย็นถึงอาทิตย์ตกดิน) ส่องตรงถึง Lithops ได้ ทำการพรางแสงในช่วงเที่ยงวันสัก 50% เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการไหม้จากแสงแดดที่แรงจนเกินไป ซึ่งอาจทำได้โดยการติดซาแลน เฉพาะส่วนใต้หลังคาโรงเรือนเท่านั้น (ไม่ต้องติดคลุมทั้งโรงเรือน)

ภาชนะสำหรับปลูก Lithops ต้องระบายน้ำได้ดี ในกรณีที่ปลูกเป็นจำนวนมาก สามารถนำตะกร้าที่มีช่องรู ประมาณ 0.5x0.5 ซม.มีความสูงสักประมาณ 3-4นิ้ว ซึ่งระบายน้ำได้ดี และประหยัดภาชนะที่ใช้ปลูกไปด้วย เพราะใบหนึ่งสามารถปลูกได้หลายต้น รองพื้นตะกร้าด้วยและรอบๆตะกร้าด้วยหินภูเขาไฟเบอร์ 1 เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กกว่าไหลออกไปตามรูของตะกร้า

การเตรียมวัสดุปลูก Lithops ซึ่งมีมากมายหลายสูตร เช่น ใช้หินภูเขาไฟเบอร์ 00 เพียงอย่างเดียว, หินภูเขาไฟเบอร์ 00 ผสม เวอร์มิคูไลท์, หินภูเขาไฟเบอร์ 00 2 ส่วน ผสมดินปลูกแคสตัส 1 ส่วน แต่โดยหลักการของวัสดุปลูกก็คือระบายน้ำได้ดีและแห้งได้เร็ว โดยเมื่อหลังจากรดน้ำแล้วทิ้งไว้สัก 1 วัน สังเกตที่หินภูเขาไฟจะเหลือแค่ร่องรอยของความชื้นเท่านั้น(สีเข้มว่าปกติเล็กน้อย) เอาไม้แหลมจิ้มลงไปในวัสดุปลูกไม่ควรมีอะไรติดขึ้นมาหรือติดขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เหตุที่ต้องให้แห้งได้เร็วแบบนี้ ก็เพื่อเผื่อในกรณีช่วงฤดูฝนที่ฝนตกติดต่อกันทุกวัน อากาศมีความชื้นสูง ทำให้วัสดุปลูกแห้งช้าลง

การให้น้ำสำหรับ Lithops หลักเกณฑ์พื้นฐานก็คือ "ให้อดจนแสดงอาการ จึงให้กิน" กล่าวคือเราจะไม่รดน้ำจนกว่า Lithopsแสดงอาการว่าขาดน้ำ โดยอาการที่ว่าก็คือเกิดรอยย่นขึ้นบริเวณโคนต้น และตัววัสดุปลูกแห้งสนิท จึงจะรดน้ำให้ ในการปลูกจำนวนหลายต้นในภาชนะเดียวกัน เป็นไปได้ว่ามีบางต้นแสดงอาการ บางต้นไม่แสดงอาการ เพราะความต้องการน้ำของ Lithops แต่ละต้นย่อมแตกต่างกัน ไปตามสายพันธุ์ ขนาดต้น ฯลฯ ดังนั้นเราสามารถให้น้ำตรงบริเวณโคนต้นเฉพาะต้นที่แสดงอาการ หรืออาจรอให้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเริ่มแสดงอาการ จึงค่อยรดพร้อมกันทีเดียวก็ได้

ในการขยายพันธุ์ของ Lithops มี 2 วิธีที่นิยมกัน คือการเพาะเมล็ด และการแยกหน่อ ในการเพาะเมล็ดนั้นสามารถทำได้โดยการเก็บฝักของ Lithops มาแกะด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเมล็ดของ Lithops มีขนาดเล็กมาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: Lithops http://faculty.ucc.edu/biology-ombrello/POW/living... http://www.lithops.info/en/books/literature.html http://www.lithops.info/en/cultivation.html http://www.lithops.info/en/gallery/lithops_c054.ht... http://www.lithops.info/en/gallery/lithops_c11.htm... http://www.lithops.info/en/gallery/lithops_c116.ht... http://www.lithops.info/en/gallery/lithops_c117.ht... http://www.lithops.info/en/gallery/lithops_c12.htm... http://www.lithops.info/en/gallery/lithops_c125.ht... http://www.lithops.info/en/gallery/lithops_c126.ht...