ปฏิกิริยาและการตอบรับ ของ MissingNo.

แม้ว่า MissingNo. จะปรากฏในเกมไม่กี่เกมในเกมชุดโปเกมอน แต่มันมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ นินเท็นโด เรียกมันว่า "ความพลิกผันทางโปรแกรมมิง" (programming quirk) เตือนไม่ให้เผชิญหน้ากับมัน อ้างว่าผู้เล่นอาจต้องเริ่มเกมใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อลบกลิตช์เกี่ยวกับภาพดังกล่าวออก[1][6][8] แม้ว่านินเท็นโดเตือนเช่นนั้น ในนิตยสารและคู่มือเกมหลายฉบับได้พิมพ์วิธีการเผชิญหน้ากับ MissingNo. เนื่องจากมีผลการตอบรับดี[8][11][12] ผู้เล่นจำนวนหนึ่งพยายามขาย "เคล็ดลับ" การจับ MissingNo. ในราคาสูงถึง 200 ดอลลาร์[13] แม้ว่าไม่ได้เป็นส่วนที่เกมตั้งใจให้มี ไอจีเอ็นใส่ MissingNo. ในรายชื่อไข่อีสเตอร์ในวิดีโอเกมยอดเยี่ยม โดยอ้างถึงประโยชน์ในการทำซ้ำไอเทมหายาก[14] ไอจีเอ็นกล่าวในบทความบทความหนึ่งว่า "มันบอกบางอย่างเกี่ยวกับแฟนโปเกมอน ว่าพวกเขานำสิ่งที่เป็นกลิตช์ทำลายเกมมาใช้เป็นทางลัดในการเพิ่มเลเวลให้โปเกมอนของพวกเขา"[7] และต่อมาเรียกมันว่ากลิตช์ "ที่ไม่อาจลืมได้" ที่ช่วยดันเกมให้เป็น "ซูเปอร์ดาราเกม" (gaming super stardom)[15]

ปฏิกิริยาของผู้เล่นที่มีต่อ MissingNo. กลายเป็นหัวข้อในการศึกษาทางสังคมวิทยาหลายเรื่อง นักสังคมวิทยา วิลเลียม ซิมส์ เบนบริดจ์ กล่าวว่า เกมฟรีกสร้าง "หนึ่งในกลิตช์ที่มีเป็นที่นิยมที่สุดในประวัติศาสตร์เกม" และกล่าวถึงการที่ผู้เล่นนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์[2] ในหนังสือเรื่อง Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon ศาสตราจารย์ด้านครุศาสตร์ จูเลียน เซฟตัน-กรีน สังเกตในการวิจัยจากปฏิกิริยาของลูกชายของเขาที่มีต่อการใช้ MissingNo. ในฐานะ "การโกง" โดยทัศนคติของลูกที่มีต่อเกมเปลี่ยนไปอย่างมาก และเสริมว่า การมีกลิตช์ดังกล่าวทลายภาพลวงตาของเกมที่มองว่าเป็นโลกปิดและเตือนใจพวกเขาว่า "โดยแท้แล้ว มันก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์"[16] หนังสือเรื่อง Playing with Videogames เล่าเกี่ยวกับการศึกษา MissingNo. เชิงลึก โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเมื่อเผชิญหน้ากับมัน หนังสือบรรยายจุดประสงค์ของผู้เล่นแต่ละคนเพื่อเปรียบเทียบ และเพื่อประเมินและวิจารณ์การพบเจอของแต่ละคน[17] หนังสือกล่าวอีกว่า จากความพยายามกำหนดฉบับแท้ให้กับ MissingNo. ผ่านแฟนอาร์ตและแฟนฟิกชัน ชุมชนโปเกมอนยกย่องข้อบกพร่องของเกมและพยายามประทับตนในฉบับแท้ของเกม[18] นักเขียนบรรยายสถานการณ์เหล่านี้ว่าเป็นเอกลักษณ์ และเรียกความนิยมดังกล่าวว่าเป็นกรณีประหลาด[10]