คุณสมบัติทางกายภาพ ของ WHL0137-LS

คาดว่าแสงที่ตรวจพบจากเอเรนเดล ถูกปล่อยออกมาราว 900 ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง ดาวดวงนี้วัดได้ว่ามีการเลื่อนไปทางแดง (redshift) ที่ 6.2±0.1 ซึ่งหมายความว่าแสงจากเอเรนเดลใช้เวลาเดินทาง 12.9 พันล้านปี ถึงโลก[1][11][5] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขยายตัวของเอกภพ ตำแหน่งของดาวที่สังเกตได้จึงอยู่ห่างออกไป 28 พันล้านปีแสงในปัจจุบัน[2]

เอเรนเดลน่าจะมีมวลประมาณ 50 ถึง 100 เท่าของมวลดวงอาทิตย์[12] เนื่องจากมวลของมันมาก ดาวจึงมีแนวโน้มที่จะระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาแล้วเพียงไม่กี่ล้านปีหลังจากการก่อตัว[12][13] คาดว่ามีอุณหภูมิยังผลประมาณ 20,000 K (20,000 °C; 36,000 °F)[1] เอเรนเดลอาจเป็นดาวฤกษ์ชนิด "Population III stars" ซึ่งหมายความว่าแทบไม่มีองค์ประกอบอื่นใดนอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียม[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: WHL0137-LS //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35354998 //doi.org/10.1038%2Fs41586-022-04449-y http://hubblesite.org/contents/media/images/2022/0... https://news.abplive.com/science/hubble-detects-ea... https://arstechnica.com/science/2022/03/hubble-pic... https://astronomy.com/news/2022/03/hubble-spots-th... https://www.latimes.com/science/story/2022-03-30/e... https://www.nature.com/articles/s41586-022-04449-y https://www.space.com/hubble-most-distant-star-tol... https://www.theverge.com/2022/3/30/23002980/earend...