ความสำคัญและช่วงของความถูกต้อง ของ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

กฎของนิวตันถูกตรวจสอบได้โดยการทดลองมาเป็นเวลากว่า 200 ปี ว่าใช้ได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับช่วงขนาดและความเร็วของชีวิตประจำวัน กฎเหล่านี้ร่วมกับกฎความโน้มถ่วงสากลและแคลคูลัส นำไปสู่คำอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในเชิงปริมาณอย่างหลากหลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของวิชาวิทยาศาสตร์

กฎทั้งสามข้อนี้เป็นการประมาณที่ดีมากสำหรับสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามกฎของนิวตัน (รวมถึงความโน้มถ่วงสากลและพลศาสตร์ไฟฟ้าดั้งเดิม) ไม่สามารถใช้ได้ในบางสถานการณ์ โดยเฉพาะในช่วงขนาดที่เล็กมาก ๆ ช่วงความเร็วที่สูงมาก ๆ (ซึ่งในสัมพัทธภาพพิเศษจะต้องเพิ่มตัวคูณลอเรนซ์ในสูตรของโมเมนตัม มวลนิ่ง และความเร็ว) หรือสนามโน้มถ่วงกำลังสูงมาก ๆ ดังนั้นกฎเหล่านี้จึงไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์เช่นการนำไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำ สมบัติทางทัศนศาสตร์ของสสาร ความผิดพลาดของระบบจีพีเอสที่ไม่คำนึงถึงสัมพัทธภาพ และสภาพนำยวดยิ่ง ซึ่งการอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ต้องการทฤษฎีที่ซับซ้อนขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ทฤษฎีสนามควอนตัม เป็นต้น

ในกลศาสตร์ควอนตัม แนวคิดอย่างแรง โมเมนตัม และตำแหน่ง จะถูกนิยามโดยใช้ตัวดำเนินการเชิงเส้นซึ่งกระทำกับสถานะควอนตัม: ในช่วงความเร็วต่ำ ๆ กฎของนิวตันจะตรงกับตัวดำเนินการเหล่านี้สำหรับวัตถุทั่วไป แต่เมื่อความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสงจะไม่ตรง โดยกฎข้อที่สองจะเป็นจริงเฉพาะในรูป F = dp/dt เมื่อ F และ p เป็นเวกเตอร์สี่มิติ

ใกล้เคียง

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเค็พเพลอร์ กฎการพาดหัวของเบ็ทเทอร์ริดจ์ กฎการปะทะ กฎการอนุรักษ์ กฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ กฎการแผ่รังสีความร้อนของเคียร์ชฮ็อฟ กฎการสลับที่ กฎการดูดกลืน กฎการมีตัวอย่างน้อย

แหล่งที่มา

WikiPedia: กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน http://www.lightandmatter.com/html_books/1np/ch04/... http://www.springerlink.com/content/j42866672t8635... http://members.tripod.com/~gravitee/axioms.htm http://www.ce.berkeley.edu/~coby/plas/pdf/book.pdf http://adsabs.harvard.edu/abs/1992CeMDA..53..227P http://adsabs.harvard.edu/abs/1992PhyEd..27..112H http://adsabs.harvard.edu/abs/2003Sc&Ed..12...45G http://ocw.mit.edu/courses/physics/8-01-physics-i-... http://plato.stanford.edu/entries/newton-principia... //doi.org/10.1007%2FBF00052611