กฎหมายสิ่งแวดล้อม

กฎหมายสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: environmental law) คือ กฎหมายประเภทหนึ่ง มักตราขึ้นเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เนื้อหาครอบคลุมการป้องกัน และเยียวยาความเสื่อมโทรมแห่งสุขภาพทั้งของมนุษย์และอมนุษย์ และมักคาบเกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณี สนธิสัญญา ข้อตกลง พันธกรณี กฎระเบียบ และนโยบาย ฯลฯ หลากชนิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมของบางประเภทอาจกำหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจำกัดเงื่อนไขในการดำเนินกิจการบางประเภทของมนุษย์ เช่น กำหนดปริมาณของภาวะมลพิษที่จะให้มีได้ หรือกำหนดให้ต้องมีการวางแผนและการตรวจสอบกิจการบางอย่าง เป็นต้น นโยบายของรัฐ เป็นต้นว่า มาตรการกันไว้ดีกว่าแก้ (precautionary principles) การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม และมาตรการใครทำคนนั้นจ่าย (polluter pay principles) ล้วนเป็นลักษณะหนึ่งของกฎหมายสิ่งแวดล้อมได้มีการริเริ่มจะให้มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมประมาณช่วง พ.ศ. 2503อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่านานาประเทศในโลกจะได้ตรากฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้น แต่กลไกแห่งกฎหมายดังกล่าวก็มักไม่ประสบผล และในปัจจุบัน กฎหมายสิ่งแวดล้อมก็ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการโฆษณาและส่งเสริมกลไกการพัฒนาอย่างยั่งยืนการปฏิรูปกฎหมายสิ่งแวดล้อมในขณะนี้ เป็นไปเพื่อพัฒนามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมที่ใช้มาตรการบังคับและควบคุม (command and control) ซึ่งผู้คนมักไม่พึงใจนัก ผลส่วนหนึ่งที่ได้จากการปฏิรูปดังกล่าว เป็นต้นว่า การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม การวางมาตรฐานบางอย่าง เช่น ไอเอสโอ 14001