เชิงอรรถ ของ กฐิน

หมายเหตุ 1: การทำผ้าจีวรในสมัยโบราณต้องใช้เวลาและความร่วมมือในการทำมาก การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตกฐินเพื่อให้คณะสงฆ์ทั้งหมดที่จำพรรษามาด้วยกันในอาวาสเดียวกันมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ (องค์ (วัตถุ) กฐินตามพระวินัยนั้นมีผ้าในไตรจีวรเพียงผืนเดียว เช่น มีจีวรเพียงผืนเดียว หรือมีสบงเพียงผืนเดียว ก็สามารถประกอบสังฆกรรมนี้ได้)

หมายเหตุ 2: โดยพระวินัยนั้นพระภิกษุมีหน้าที่ต้องรักษาผ้าครองไตรจีวรของตน หากไม่สามารถรักษาไว้ได้ตลอดคืนหนึ่งย่อมต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์[12] ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงผ่อนปรนพระวินัยให้ภิกษุผู้กรานกฐิน ไม่จำต้องรักษาไตรจีวรของตนครบสำรับดังกล่าว จึงเป็นการผ่อนปรนเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐิน

หมายเหตุ 3: คำว่า คณโภชน์ มีความเข้าใจผิดกันมากว่าหมายถึง ล้อมวงฉัน แต่ความจริงคณโภชน์ในคณโภชนสิกขาบท หมายถึงภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ฉันที่เขานิมนโดยออกชื่อโภชนะ ๕ คือ ข้าว ปลา เนื้อ ขนมสด ขนมแห้ง ถ้าหากได้อานิสงส์กฐินแล้ว พระภิกษุสามารถรับนิมนต์ที่เขานิมนต์ฉันโดยออกชื่อโภชนะ ๕ ได้ ตลอดระยะเวลาอานิสงส์กฐิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กฐิน http://www.alittlebuddha.com/html/The%20Vision%20o... http://watsoonthornpradit.igetweb.com/index.php?mo... http://youtube.com/watch?v=QRL7R3froS8 http://www.youtube.com/watch?v=7H-cEOaze9M http://www.youtube.com/watch?v=k2G9rJvkZSE http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25... http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=... http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=... http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php... http://scitech.rmutsv.ac.th/majorSci/generalstudy/...