กติกาสัญญาวอร์ซอ
กติกาสัญญาวอร์ซอ

กติกาสัญญาวอร์ซอ

บัลแกเรีย
เชโกสโลวาเกีย
เยอรมนีตะวันออก
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2533)2
ฮังการี
โปแลนด์
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2533)
โรมาเนีย
กติกาสัญญาวอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw Pact) หรือชื่อทางการว่า สนธิสัญญาแห่งไมตรี ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (อังกฤษ: Treaty of Friendship, Co-operation, and Mutual Assistance; รัสเซีย: Договор о дружбе, сотрудничестве и взаимной помощи) บางครั้งเรียกขานอย่างไม่เป็นทางการว่า วอร์แพ็ก (อังกฤษ: WarPac)[1] เป็นกติกาสัญญาด้านความมั่นคงร่วมกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับรัฐบริวารของตนอีกเจ็ดแห่งในยุโรปตอนกลางและตะวันออกระหว่างช่วงสงครามเย็น กติกาสัญญาวอร์ซอเป็นส่วนเพิ่มด้านการทหารของคณะกรรมาธิการเพื่อการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันหรือ โคเมคอน (Council for Mutual Economic Assistance; CoMEcon) ซึ่งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคสำหรับรัฐคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลางและตะวันออก ทั้งนี้กติกาสัญญาวอร์ซอก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโต้การที่เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท)[2][3][4][5] ในปี พ.ศ. 2498 จากการลงนามในสนธิสัญญาปารีส พ.ศ. 2497[6][7][8][9][10] แต่ก็ยังถือว่าก่อตั้งขึ้นเพราะสหภาพโซเวียตต้องการดำรงอำนาจควบคุมทางการทหารในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออกด้วยเช่นกัน[11]แม้ว่ากติกาสัญญาวอร์ซอจะก่อตั้งขึ้นเพื่อคานอำนาจ[12] หรือต่อกร[13] กับองค์การเนโท แต่ไม่ปรากฏการเผชิญหน้าโดยตรงของทั้งสองฝ่าย หากแต่ความขัดแย้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการต่อสู่ทางแนวคิดและอุดมการณ์ ทั้งสนธิสัญญาเนโทและกติกาสัญญาวอร์ซอต่างทำให้เกิดการขยายกองกำลังทางทหารและบูรณาการความร่วมมือในหมู่ประเทศสมาชิกของตน[13] โดยปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นก็คือการบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2511 (รัฐสมาชิกเข้าร่วมทุกแห่งยกเว้นแอลเบเนียและโรมาเนีย)[12] ซึ่งทำให้แอลเบเนียถอนตัวออกจากกติกาสัญญาดังกล่าวภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนหลังจากนั้น ต่อเอกภาพขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอเริ่มสั่นคลอนจากการแผ่ขยายของการปฏิวัติ พ.ศ. 2532 ทั่วทั้งภูมิภาคยุโรปตะวันออก ซึ่งเริ่มจากขบวนการเอกภาพ (Solidarity movement) ในโปแลนด์[14] และการเลือกตั้งที่ประสบความสำเร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2532ทั้งเยอรมนีตะวันออกและโปแลนด์ถอนตัวออกจากกติกาสัญญาในปี พ.ศ. 2533 ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ที่ประชุมของรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศจากรัฐสมาชิกที่เหลืออยู่ห้าแห่งประกาศให้กติกาสัญญาดังกล่าวยุติบทบาทลง ตามมาด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ซึ่งแม้ว่าอดีตสาธารณรัฐโซเวียตส่วนมากจะรวมกลุ่มกันตั้งองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมแห่งใหม่ขึ้นมาไม่นานหลังจากนั้น แต่รัฐสมาชิกนอกสหภาพโซเวียตของกติกาสัญญาวอร์ซอเดิมจำนวนเจ็ดแห่งกลับไปเข้าร่วมกับองค์การเนโทแทน (เยอรมนีตะวันออกที่ผ่านการรวมประเทศกับเยอรมนีตะวันตก; สาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวักในฐานะรัฐอธิปไตยที่แยกออกจากกัน)

กติกาสัญญาวอร์ซอ

สำนักงานใหญ่ มอสโก, สหภาพโซเวียต
ประเภท พันธมิตรทางการทหาร
คำขวัญ สหภาพแห่งสันติภาพและสังคมนิยม
(รัสเซีย: Союз мира и социализма)
ผู้บัญชาการสูงสุด อีวาน โคเนฟ (คนสุดท้าย)
หัวหน้าคณะเจ้าพนักงาน วลาดีมีร์ โลบอฟ (คนสุดท้าย)
สมาชิก แอลเบเนีย
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2511)1

บัลแกเรีย
เชโกสโลวาเกีย
เยอรมนีตะวันออก
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2533)2
ฮังการี
โปแลนด์
(ถอนตัวปี พ.ศ. 2533)
โรมาเนีย

สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
ยุติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
ก่อตั้ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2498

ใกล้เคียง

กติกาฟุตบอล กติกาสัญญาวอร์ซอ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ กติกาสัญญาไตรภาคี กติกาสัญญาเหล็ก กติกาสัญญาเคลลอก–บริยอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: กติกาสัญญาวอร์ซอ http://www.php.isn.ethz.ch/ http://books.google.com/books/about/Konrad_Adenaue... http://books.google.com/books?id=Jm4L_b8CHycC&lpg=... http://www.history.com/this-day-in-history/the-war... http://www.history.com/topics/cold-war/formation-o... http://content.time.com/time/magazine/article/0,91... http://books.google.fr/books?id=f4VHp88-bpAC&dq http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/ http://memory.loc.gov/frd/cs/soviet_union/su_appnc... http://www.nato.int/history/nato-history.html