กบนา
กบนา

กบนา

กบนา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoplobatrachus rugulosus) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบนา (Ranidae)ลักษณะผิวด้านหลังมีสีน้ำตาลจุดดำ ผิวหนังขรุขระมีรอยย่น ที่ริมฝีปากมีแถบดำ ใต้คางมีจุดดำ หรือแถบลายดำ เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนัก 200–400 กรัม กบนาตัวเมีย มีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ท้องจะมีลักษณะอูมเคลื่อนไหวช้าและข้างลำตัวจะมีตุ่มเมื่อคลำดูมีลักษณะ สากมือ ตุ่มที่ด้านข้างลำตัวแสดงถึงความพร้อมของตัวเมีย กบนาตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักประมาณ 150– 50 กรัม เมื่อโตเต็มที่และพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมองเห็นถุงเสียง เป็นรอยย่นสีดำที่ใต้คาง ถุงเสียงเกิดจากการที่กบนาตัวผู้ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมียในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้พร้อมที่จะผสมพันธุ์ในช่วงนี้ลำตัวจะมีสีเหลือง นิ้วเท้าด้านหน้าจะมีตุ่มที่ขยายใหญ่ขึ้น มองเห็นได้ชัดเจน ตุ่มนี้มีประโยชน์ในการใช้เกาะตัวเมียและตุ่มนี้จะหายไปในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ โดยมีช่วงฤดูผสมพันธุ์อยู่ที่ระหว่างเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนกันยายน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ 1 ปี วางไข่ครั้งละ 1,500–3,000 ฟอง ต่อครั้ง ระยะการฟักไข่กลายเป็นลูกอ๊อดใช้เวลา 24–36 ชั่วโมง ลูกอ๊อดพัฒนาไปเป็นลูกกบใช้เวลา 28–45 วัน โดยลูกอ๊อดมีลำตัวสีเขียวพบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น นาข้าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยเป็นกบชนิดที่นิยมบริโภคกันเป็นอาหารมาอย่างช้านาน มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ในตัวที่มีผิวสีเผือกขาวหรือสีทองอาจเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงได้ [2]