กรณีพิพาทอโยธยา
กรณีพิพาทอโยธยา

กรณีพิพาทอโยธยา

กรณีพิพาทอโยธยา เป็นประเด็นถกเถียงในเชิงรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมและศาสนาในประเทศอินเดีย อันเกี่ยวกับที่ดินหนึ่งในเมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับการควบคุมพื้นที่ที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าของฮินดู,[1] การเป็นที่ตั้งในทางประวัติศาสตร์ของมัสยิดบาบรี และประเด็นถกเถียงว่าก่อนหน้าที่จะเป็นมัสยิดนั้นพื้นที่นี้เคยเป็นโบสถ์พราหมณ์มาก่อนหรือไม่มัสยิดที่เคยตั้งอยู่บนที่ดินผืนนี้คือมัสยิดบาบรีที่ถูกทำลายระหว่างกิจกรรมการเมืองหนึ่งที่ท้ายที่สุดได้กลายเป็นการวิวาทอย่างรุนแรงในวันที่ 6 ธันวาคม 1992 ต่อมากรณีพิพาทถึงความเป็นเจ้าของของที่ดินผืนนี้ได้ถูกนำส่งเข้าตัดสินโดยศาลสูงอลาหาบาดที่ซึ่งออกคำตัดสินในวันที่ 30 กันยายน 2010 มีใจความว่า ผู้พิพากษาประจำศาลสูงอลาหาบาดสามคนได้ระบุให้ที่ดินขนาด 2.77 เอเคอร์s (แม่แบบ:Convert/เฮกตาร์) ที่เป็นปัญหานี้แบ่งออกเป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน โดยส่วนแรกเป็นของฮินดูมหาสภาเพื่อใช้งานเกี่ยวกับความเชื่อที่เกี่ยวกับรามลัลล พระรามปางประสูติ, ส่วนที่สองเป็นของคณะกรรมการซุนนีวักฟ์ (Sunni Waqf Board), และส่วนสุดท้ายเป็นของนิรโมหีอขร นิกายหนึ่งของฮินดู ถึงแม้ผลการตัดสินของผู้พิพากษาทั้งสามคนจะไม่มีความเป็นเอกฉันท์ในตัวเองถึงกรณีว่ามัสยิดบาบรีนั้นสร้างขึ้นโดยการทำลายโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมหรือไม่ แต่ได้มีข้อตกลงร่วมว่ามีโครงสร้างของโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมที่เก่าแก่กว่ามัสยิดอยู่[2][3]การสืบพยานหลักฐานโดยผู้พิพากษาห้าคนภายใต้ศาลสูงสุดอินเดียได้ดำเนินไปในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2019[4][5] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2019 ศาลสูงนำโดยหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูงสุดของอินเดีย ราชัน โกโกอี ได้ประกาศคำตัดสินใจความว่าได้ยกเลิกคำตัดสินเดิมเมื่อปี 2010 และให้ที่ดินตกเป็นของรัฐบาลโดยอ้างจากบันทึกการเสียภาษี[6] นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้มอบที่ดินนี้แก่คณะกรรมการเพื่อสร้างโบสถ์พราหมณ์ขึ้น และให้รัฐบาลมอบที่ดินขนาดห้าเอเคอร์ทดแทนให้กับคณะกรรมการซุนนีวักฟ์เพื่อสร้างมัสยิดขึ้นใหม่แทนในพื้นที่เดิม[7]ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2020 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศตั้งชื่อคณะกรรมการดูแลโบสถ์พราหมณ์ขึ้นในชื่อ ศรีรามชนมภูมิตีรถเกษตร และการก่อสร้างโบสถ์พราหมณ์ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 สิงหาคม 2020 โดยมีนายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมทีเดินทางไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ร่วมกับโยคีอาทิตยนาถ ผู้ว่าการรัฐอุตตรประเทศ

ใกล้เคียง

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา กรณีพิพาทอินโดจีน กรณีพิพาทหมู่เกาะคูริล กรณีพิพาทอโยธยา กรณีพิพาทกู่เต็งนาโย่ง กรณีพิพาทชื่อทะเลญี่ปุ่น กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกากุ กรณีพิพาทกัศมีร์ กรณีพิพาทเปดราบรังกา กรณีพิพาทกุญแจเข้ารหัสเอเอซีเอส