ผลต่อสุขภาพ ของ กรดโฟลิก

การตั้งครรภ์

การทานกรดโฟลิกในช่วงตั้งครรภ์สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) และความบกพร่องแต่กำเนิดโดยเฉพาะอื่น ๆ ต่อทารกที่น้อยลง[23]แต่ก็ยังมีความวิตกกังวลทั่วโลกเกี่ยวกับการมีกรดโฟลิกสูงแต่มีวิตามินบี12ต่ำในช่วงก่อนเกิดว่า เป็นเหตุความเปลี่ยนแปลงทางอีพีเจเนติกส์ต่อทารก เพิ่มแนวโน้มของความผิดปกติทางเมแทบอลิซึม ภาวะเนื้อเยื่อไขมันมากส่วนท้อง (central adiposity) และโรคที่มีในผู้ใหญ่ เช่น โรคเบาหวานแบบ 2[24]

แม้ว่าจะมีความกังวลเช่นนี้ แต่ก็ไม่ปรากฏสหสัมพันธ์ระหว่างการทานกรดโฟลิกเสริมของแม่ กับความเสี่ยงต่อโรคหืดที่สูงขึ้นสำหรับเด็กในครรภ์[25]

ภาวะเจริญพันธุ์

โฟเลตเป็นสารที่จำเป็นเพื่อความเจริญพันธุ์ทั้งในชายหญิงเพราะมีส่วนในการสร้างสเปิร์มและดังนั้น จึงจำเป็นที่จะได้อย่างพอเพียงจากอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นหมัน[26]นอกจากนั้นแล้ว ภาวะพหุสัณฐานของยีนที่เข้ารหัสเอนไซม์ที่เกี่ยวกับเมแทบอลิซึมของโฟเลต อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งในปัญหาในหญิงบางคนที่ความเป็นหมันไม่ทราบสาเหตุ[27]

โรคหัวใจ

การทานกรดโฟลิกเสริมเป็นระยะเวลานานสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจได้โดย 4%[9]แม้ว่างานศึกษาอีกงานหนึ่งจะไม่พบผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ก็มีผลลดระดับ homocysteine ในเลือด[28]

การทานกรดโฟลิกเสริมก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์อาจลดสภาวะหัวใจวิการในทารก[29]

โรคหลอดเลือดสมอง

การทานกรดโฟลิกเสริมเป็นประจำลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองโดย 10% ซึ่งอาจเป็นเพราะบทบาทของโฟเลตในการควบคุมระดับ homocysteine[9]งานทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ชี้ว่า โอกาสเสี่ยงดูจะลดลงสำหรับบางคนเท่านั้น ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีระดับการเสริมกรดโฟลิกที่แนะนำเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองนอกเหนือไปจากระดับ RDA ที่บัณฑิตยสถานแห่งชาติสหรัฐแนะนำ[30]คนเอเชียได้ระดับการป้องกันโรคหลอดเลือดในสมองที่สูงกว่าเมื่อเสริมโฟเลตเทียบกับคนยุโรปหรืออเมริกาเหนือ[9]การลดโรคหลอดเลือดสมองที่พบ เข้ากับการลดความต่างระหว่างความดันช่วงหัวใจบีบตัวและขยายตัว (pulse pressure) ที่ได้จากการทานโฟเลตเสริม 5 มก. ต่อวัน เพราะว่า ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหลอดเลือดสมองยาเม็ดเสริมกรดโฟลิกไม่แพงและใช้ง่าย ซึ่งเป็นเหตุผลที่แนะนำคนไข้โรคหลอดเลือดสมองหรือมีภาวะ homocysteine เกิน (hyperhomocysteinemia) ให้ทานวิตามินบีทุก ๆ วันรวมทั้งกรดโฟลิก[31]

มะเร็ง

การเสริมกรดโฟลิกอาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งบางอย่างเล็กน้อย เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก[32][33]แต่ระดับโฟเลตที่ต่ำก็สัมพันธ์กับมะเร็งบางอย่างอื่น ๆ เช่นเดียวกัน[34]แต่ว่า ก็ไม่ชัดเจนว่า การทานโฟเลตตามที่แนะนำหรือว่าสูงกว่านั้น ไม่ว่าจะจากอาหารหรือจากยาเสริม สามารถลดความเสี่ยงมะเร็งได้หรือไม่[35]

เคมีบำบัดต้านโฟเลต

โฟเลตเป็นสารสำคัญต่อเซลล์และเนื้อเยื่อที่ต้องแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว[36]เซลล์มะเร็งก็แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ยาที่ขัดขวางเมแทบอลิซึมของโฟเลตจึงใช้รักษามะเร็งได้ด้วยเช่น ยา methotrexate ที่ใช้รักษาโรคมะเร็งก็เป็นยาต้านโฟเลตด้วย เพราะมันขัดขวางการผลิตวิตามินที่มีฤทธิ์แบบ Tetrahydrofolic acid (THF) จากแบบที่ไม่มีฤทธิ์คือ dihydrofolate (DHF)แต่ว่า methotrexate สามารถเป็นพิษ[37][38][39]ทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การอักเสบในทางเดินอาหารที่ทำให้ยากที่จะทานอาหารปกตินอกจากนั้นแล้ว ไขสันหลังอาจทำงานน้อยลงทำให้เกิดภาวะ leukopenia และ thrombocytopenia และตับไตวาย

กรด folinic ภายใต้ชื่อการค้า leucovorin ซึ่งเป็นโฟเลตแบบ formyl-THF สามารถแก้พิษของ methotrexate[40]แต่ว่า กรด Folinic ไม่ใช่กรดโฟลิกและยาเสริมโฟลิกก็ไม่มีหลักฐานว่าช่วยในการเคมีบำบัดโรคมะเร็ง[41][42]แต่ว่า มีกรณีการทดแทนกรด folinic ด้วยกรดโฟลิกโดยอุบัติเหตุ สร้างผลร้ายรุนแรงต่อคนไข้ที่กำลังใช้ยา methotrexate สำหรับเคมีบำบัดดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ที่ได้ methotrexate ที่จะทำตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการใช้กรดโฟลิก หรือกรด folinicการเสริมกรด folinic สำหรับคนไข้ที่ได้ methotrexate ก็เพื่อให้เซลล์ที่แบ่งตัวช้ากว่า (มะเร็ง) ได้โฟเลตเพียงพอเพื่อทำหน้าที่ปกติได้เนื่องจากเซลล์มะเร็งจะใช้โฟเลตที่ให้เสริมหมดเพื่อแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้กันปัญหาที่มากับ methotrexate ได้

ผลทางจิตใจ

มีหลักฐานที่สัมพันธ์การขาดโฟเลตกับโรคซึมเศร้า[43]หลักฐานจำกัดจากงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) แสดงว่า การให้กรดโฟลิกเสริมยากลุ่ม SSRI (เช่น ฟลูออกซิติน) อาจมีประโยชน์[44]และงานศึกษาที่มหาวิทยาลัยแพทย์แห่งหนึ่ง (University of York and Hull York Medical School) พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคซึมเศร้ากับระดับโฟเลตที่ต่ำ[45]งานศึกษาหนึ่งโดยกลุ่มเดียวกันมีผู้ร่วมการทดลอง 15,315 คน[46]ยาเสริมกรดโฟลิกมีผลต่อตัวรับ noradrenaline และตัวรับเซโรโทนินภายในสมอง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้กรดโฟลิกสามารถต้านความซึมเศร้าได้[47][48]

แม้ว่ากลไกของโรคจิตเภทและโรคซึมเศร้าจะยังไม่ชัดเจน แต่ว่า โฟเลตที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive) คือ methyltetrahydrofolate (5-MTHF) เป็นสารที่รับกลุ่ม methyl จากสารให้เมทิลเช่น S-adenosyl methionine (SAMe) โดยตรง และอำนวยการนำ dihydrobiopterin (BH2) ไปใช้ใหม่โดยเปลี่ยนเป็น tetrahydrobiopterin (BH4) ซึ่งเป็น cofactor ที่จำเป็นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีนหลายอย่าง รวมทั้งเซโรโทนิน และโดพามีนดังนั้น BH4 จึงเป็นตัวควบคุมการสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน และจำเป็นในการอำนวยฤทธิ์ของยาแก้ซึมเศร้าโดยมากนอกจากนั้นแล้ว 5-MTHF ยังมีบทบาททั้งโดยตรงโดยอ้อมต่อกระบวนการเติม methyl ให้ดีเอ็นเอ (DNA methylation), การสังเคราะห์ NO2, และเมแทบอลิซึมแบบคาร์บอนเดี่ยว ๆ (one-carbon metabolism)[49]

จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องจากอายุ (Age related macular degeneration)

งานศึกษาปี 2552 (substudy of the Women's Antioxidant and Folic Acid Cardiovascular Study) รายงานการใช้อาหารเสริมที่มีกรดโฟลิก วิตามินบี6 (pyridoxine) และวิตามินบี12 (cyanocobalamin) ว่าลดโอกาสเสี่ยงการเกิดจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องจากอายุ (age-related macular degeneration) โดย 34.7%[50]

กรดโฟลิก วิตามินบี12 และธาตุเหล็ก

มีปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างกรดโฟลิก วิตามินบี12 และธาตุเหล็กการขาดอย่างหนึ่งอาจจะไม่ปรากฏถ้ามีอีกอย่างหนึ่งเกิน ดังนั้น ทั้งสามอย่างต้องสมดุลกัน[51][52][53]

ความเป็นพิษ

โอกาสเสี่ยงจากความเป็นพิษเนื่องจากกรดโฟลิกมีน้อย เพราะว่า โฟเลตละลายน้ำได้ ร่างกายจึงขับออกทางปัสสาวะเป็นประจำ[54]แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับการได้กรดโฟลิกสูงก็คือมันอาจอำพรางการวินิจฉัยภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anaemia)[55]และผลลบอย่างอื่น ๆ[โปรดขยายความ] ที่เป็นไปได้ต่อสุขภาพ[56]

การขาดโฟเลต

ดูบทความหลักที่: การขาดโฟเลต

การขาดโฟเลตอาจมาจากการทานอาหารที่ไม่ถูกอนามัย คือไม่ได้รวมผักและผลไม้เพียงพอ, จากมีโรคที่ทำให้ดูดซึมกรดโฟลิกได้ไม่ดี เช่น Crohn's disease หรือ celiac disease, จากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่มีผลต่อระดับโฟเลต, และจากการทานยาบางอย่าง เช่น phenytoin, sulfasalazine, หรือ trimethoprim-sulfamethoxazole[57]การขาดโฟเลตจะแย่ลงถ้าดื่มเหล้า[58]

การขาดโฟเลตอาจทำให้เกิดลิ้นอักเสบ (glossitis) ท้องเสีย ซึมเศร้า สับสน เลือดจาง, ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) หรือความพิการทางสมองสำหรับทารกในครรภ์[59]อาการอื่น ๆ อาจรวมความล้า ผมหงอก แผลในปาก เจริญเติบโตช้า และลิ้นบวม[57]

ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยโดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) วัดระดับวิตามินบี12 และระดับโฟเลตในเลือด[59]แม้ว่า CBC อาจจะแสดงเลือดจางแบบเม็ดเลือดโต (megaloblastic) แต่นี่ก็อาจจะเป็นอาการของการขาดวิตามินบี12 ได้ด้วย[59]ระดับโฟเลตในเลือดที่เท่ากับหรือน้อยกว่า 3 μg/L แสดงว่าขาด[59]แม้ว่าระดับโฟเลตในเลือดสามารถสะท้อนสถานะของโฟเลต แต่ระดับโฟเลตในเม็ดเลือดแดงจะสะท้อนถึงการสะสมในร่างกายได้ดีกว่าหลังจากทานเข้าไป[59]เพราะว่า ระดับในเลือดจะมีปฏิกิริยาเมื่อทาน รวดเร็วกว่าที่ระดับในเม็ดเลือดแดงจะมี[60]ระดับโฟเลตในเม็ดเลือดแดงที่เท่ากับหรือต่ำกว่า 140 μg/L บ่งว่าขาด[59]

ระดับ homocysteine ที่สูงขึ้นอาจแสดงการขาดโฟเลตในร่างกาย แต่ระดับ homocysteine ก็อาจมีผลจากระดับวิตามินบี12 วิตามินบี6 การทำงานของไต และพันธุกรรมได้[59]วิธีอย่างหนึ่งเพื่อจำแนกอาการระหว่างการขาดโฟเลตและวิตามินบี12 ก็คือตรวจระดับกรด methylmalonic (MMA)[59]MMA ที่ปกติ แสดงว่าขาดโฟเลตและระดับ MMA ที่สูง แสดงว่าขาดวิตามินบี12[59]

การขาดโฟเลตรักษาโดยการทานโฟเลตเสริมประมาณ 400-1,000 μg ต่อวันวิธีนี้ได้ผลดีมากในการเพิ่มการสะสมในร่าง แม้ในกรณีที่มีปัญหาการดูดซึม[59]คนไข้ที่มีเลือดจางแบบเม็ดเลือดโต (megaloblastic) ต้องตรวจว่าขาดวิตามินบี12 ก่อนเสริมโฟเลต เพราะว่า ถ้าคนไข้ขาดวิตามินบี12 การเสริมโฟเลตจะกำจัดภาวะเลือดจาง แต่สามารถทำปัญหาทางประสาทให้แย่ลง[59]

คนไข้ที่อ้วนมาก คือมีดัชนีมวลกายสูงกว่า 50 มีโอกาสขาดโฟเลตมากกว่า[61]คนไข้โรค celiac disease ก็มีโอกาสขาดสูงกว่าด้วย[61]การขาดวิตามินบี12อาจนำไปสู่การขาดโฟเลต ซึ่งจะเพิ่มระดับ homocysteine และอาจมีผลเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสภาวิรูปแต่เกิดสำหรับทารกในครรภ์[62]

มาลาเรีย

งานวิจัยบางงานแสดงว่าการให้เหล็ก-โฟเลตเสริมกับเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบอาจเพิ่มอัตราการตายเนื่องจากโรคมาลาเรียซึ่งทำให้องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนนโยบายเสริมเหล็ก-โฟเลตให้กับเด็กในเขตที่มาลาเรียชุก เช่นในอินเดีย[63]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรดโฟลิก http://www.smh.com.au/news/National/Bread-fortific... http://www.hc-sc.gc.ca http://www.healthlinkbc.ca/healthfiles/hfile68g.st... http://www.altmedrev.com/publications/14/3/247.pdf http://www.beyondveg.com/tu-j-l/raw-cooked/raw-coo... http://www.boston.com/yourlife/health/women/articl... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.5815.... http://www.medscape.com/viewarticle/591111 http://www.merck.com http://ebm.sagepub.com/content/60/2/259.short