กรรมฐาน
กรรมฐาน

กรรมฐาน

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

สถานีมิกิย่อย
ประวัติศาสนาพุทธพระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์กรรมฐาน (บาลี :kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่างอย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน[1] [2] มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น[3]เสยฺยถาปิ มาณว กสิกมฺมฏฺาน มหตฺถ มหากิจฺจมหาธิกรณ มหาสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ เอวเมวโข มาณว ฆราวาสกมฺมฏฺาน มหตฺถ มหากิจฺจ มหาธิกรณมหาสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ ฯ เสยฺยถาปิ มาณวกสิเยว กมฺมฏฺาน มหตฺถ มหากิจฺจ มหาธิกรณ มหาสมารมฺภสมฺปชฺชมาน มหปฺผล โหติ เอวเมว โข มาณว ฆราวาสกมฺมฏฺานมหตฺถ มหากิจฺจ มหาธิกรณ มหาสมารมฺภ สมฺปชฺชมานมหปฺผล โหติ ฯ เสยฺยถาปิ มาณว วนิชฺชากมฺมฏฺาน อปฺปตฺถอปฺปกิจฺจ อปฺปาธิกรณ อปฺปสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ เอวเมว โข มาณว ปพฺพชฺชากมฺมฏฺาน อปฺปตฺถ อปฺปกิจฺจอปฺปาธิกรณ อปฺปสมารมฺภ วิปชฺชมาน อปฺปปฺผล โหติ ฯ เสยฺยถาปิมาณว วนิชฺชาเยว กมฺมฏฺาน อปฺปตฺถ อปฺปกิจฺจ อปฺปาธิกรณอปฺปสมารมฺภ สมฺปชฺชมาน มหปฺผล โหติ เอวเมว โข มาณวปพฺพชฺชากมฺมฏฺาน อปฺปตฺถ อปฺปกิจฺจ อปฺปาธิกรณ อปฺปสมารมฺภสมฺปชฺชมาน มหปฺผล โหตีติ ฯดูกรมาณพ เปรียบเหมือนฐานะคือกสิกรรม ที่มีความต้องการมาก มีกิจมากมีอธิกรณ์มาก มีความเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย. ฐานะคือกสิกรรมนั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก. การงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อยเมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย. ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อยเมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก