กระสวยอวกาศ
กระสวยอวกาศ

กระสวยอวกาศ

กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International สเปซชัทเทิลทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้งกระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอดส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB จะหมดลง และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักจึงหยุดทำงาน และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าจะถูกปล่อยตกลงสู่ทะเล เครื่องยนต์ของจรวดสองลำจะรับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจรเมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และยานจะหลุดออกจากการโคจร แล้วกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วภารกิจก็จะจบลง

กระสวยอวกาศ

จำนวนเที่ยวบิน 135
สำเร็จ ปล่อยยานที่ประสบความสำเร็จ 134 ครั้ง
ลงจอดสำเร็จ 133 ครั้ง
ผู้ผลิต United Space Alliance:
Thiokol/Alliant Techsystems (SRBs)
ล็อกฮีด มาร์ติน/มาร์ติน มาร์เรตต้า (ET)
โบอิง/Rockwell (orbiter)
เครื่องยนต์ 3 SSMEs located on Orbiter
เครื่องยนตร์ 2 OME
แรงดลจำเพาะ 316 วินาที
Notable payloads Tracking and Data Relay Satellites
Spacelab
Great Observatories (including Hubble)
Galileo, Magellan, Ulysses
Mir Docking Module
ISS components
หน้าที่ Manned orbital launch and reentry
เวลาเผาไหม้ 1,250 วินาที
น้ำหนักบรรทุกสู่GTO 3,810 กิโลกรัม (8,390 ปอนด์ต่อตารางเมตร)
น้ำหนักบรรทุกสู่Landing[1] 14,400 กิโลกรัม (32,000 ปอนด์)[1]
(น้ำหนักที่สามารถบรรทุกคืน)
เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.7 เมตร (28.5 ฟุต)
ล้มเหลว 2 (launch failure, Challenger;
re-entry failure, Columbia)
จำนวนบูสเตอร์ 2
แรงขับ 53.4 kN combined total vacuum thrust (12,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว)
น้ำหนักบรรทุกสู่br />Polar orbit 12,700 กิโลกรัม (28,000 ปอนด์)
เชื้อเพลิง MMH / N2O4

ใกล้เคียง

กระสวยอวกาศ กระสวยแซงเวลา กระสวยอวกาศแอตแลนติส กระสวยอวกาศโคลัมเบีย กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ กระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ กระสวย กระสวยกล้ามเนื้อ