กลุ่มภาษาอิตาลิก
กลุ่มภาษาอิตาลิก

กลุ่มภาษาอิตาลิก

กลุ่มภาษาอิตาลิก เป็นสมาชิกของสาขาเซนตุม (Centum) ของกลุ่มภาษาอินโด-ยุโรเปียน ซึ่งรวมถึงกลุ่มภาษาโรมานซ์ (มีภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษาสเปน กับภาษาอื่น ๆ) และภาษาที่สูญพันธุ์บางภาษาอิตาลิกมี 2 สาขา คือคนที่พูดภาษาอิตาลิก ไม่ได้เป็นชาวพื้นเมืองของอิตาลี แต่ได้ย้างมาตั้งถิ่นฐานในอิตาลีในช่วง 2000 ปีก่อนคริสตกาล ตามหลักฐานโบราณคดี วัฒนธรรมแอปเปไนน์ (การฝังศพ) เข้ามาสู่คาบสมุทรอิตาลีประมาณ 1350 BCจากตะวันออกสู่ตะวันตก ยุคเหล็กเจ้ามาสู่อืตาลีในช่วง 1100 BC กับวัฒนธรรมวิลลาโนวา (การเผาศพ) จากเหนือสู่ใต้ ก่อนหน้าที่จะมีชาวอิตาลิกนั้น ประชากรของอิตาลีส่วนใหญ่เป้นกลุ่มที่ไม่ใช่อินโด-ยุโรเปียน (อาจรวมถึงชาวเอทรัสแกน) การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่เนินพาลาทีน (Palatine hill)เกิดขึ้นเมื่อ 750 BC ส่วนการตั้งถิ่นฐานที่ เนินคิรินัล(Quirinal) เกิดขึ้นเมื่อ 720 BC ภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาอิตาลิกมากที่สุดคือกลุ่มภาษาเคลติก (ดู อิตาโล-เคลติก)กลุ่มภาษาอิตาลิกพบเป็นอักษรครั้งแรกจากคำจารึกของ ภาษาอัมเบรียนและภาษาฟาลิสกันจากศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล อักษรที่ใช้มาจากอักษรอิตาลิกโบราณ ซึ่งสืบมาจากอักษรกรีก กลุ่มภาษาอิตาลิกแสดงถึงอิทธิพลจากภาษาเอทรัสแกน (Etruscan) เล็กน้อย และจากภาษาของกรีกโบราณมากขึ้นในขณะที่โรม ได้แผ่อาณาเขตทั่วคาบสมุทรอิตาลี ภาษาละตินได้กลายเป็นภาษาที่เด่นเหนือภาษาอื่น ๆ ในกลุ่มอิตาลิก ซึ่งสูญพันธุ์ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และจากภาษาละตินสามัญ หรือ (Vulgar Latin) ก่อให้เกิดกลุ่มภาษาโรมานซ์ภาษาเวเนติก (Venetic) ซึ่งเป็นภาษาโบราณที่ปรากฏในคำจารึก (ซึ่งรวมถึงประโยคเต็ม ๆ ด้วย) ถือโดยนักภาษาศาสตร์หลายท่านว่าใกล้เคียงกับกลุ่มภาษาอิตาลิก และในบางกรณีถือเป็นกลุ่มภาษาอิตาลิกด้วย

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่ม 20 กลุ่ม 7