กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน
กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน

กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งกลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[2](อังกฤษ: Benzodiazepine withdrawal syndrome, Benzo withdrawal)เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับบุคคลผู้กินยาเบ็นโซไดอาเซพีนไม่ว่าจะเพื่อรักษาหรือเพื่อเสพติด เกิดติดยา แล้วลดยาหรือหยุดยาการเกิดติดยาแล้วตามด้วยผลคือกลุ่มอาการขาดยาโดยอาการบางอย่างอาจคงยืนเป็นปี ๆ อาจเกิดจากการกินยาตามแพทย์สั่งมีอาการเป็นปัญหาการนอน, หงุดหงิด, ตึงเครียดและวิตกกังวลง่าย, เกิดตื่นตระหนก (panic attack), มือสั่น, ตัวสั่น, เหงื่อออก, ไม่มีสมาธิ, สับสนและมีปัญหาทางประชาน/ความคิด, ปัญหาความจำ, คลื่นไส้และขย้อนแห้ง (dry retching), น้ำหนักลด, ใจสั่น, ปวดหัว, กล้ามเนื้อตึงและปวด, ปัญหาการรับรู้ต่าง ๆ, ประสาทหลอน, ชัก, อาการโรคจิต[3]และเสี่ยงฆ่าตัวตายเพิ่ม[4][5](ดูหัวข้อ "อาการ" ต่อไปสำหรับรายการเต็ม)อนึ่ง อาการเหล่านี้แปลกเพราะขึ้น ๆ ลง ๆ รุนแรงไม่เท่ากัน เป็นวันต่อวัน หรือสัปดาห์ต่อสัปดาห์ แทนที่จะค่อย ๆ ลดลงเป็นลำดับ[6](ปรากฏการณ์นี้เรียกในภาษาอังกฤษว่า "waves" และ "windows")มันอาจเป็นอาการรุนแรง ซับซ้อน และมักยืดเยื้อ[7][8]การใช้ยาระยะยาว นิยามเป็นการกินทุกวันเป็นอย่างน้อย 3 เดือน[9]ไม่ควรทำเพราะเสี่ยงติดยา[10],เสี่ยงต้องเพิ่มยา, เสี่ยงยาเกิดไม่มีผล, เสี่ยงอุบัติเหตุและหกล้มโดยเฉพาะในคนชรา[11]และยังอาจเกิดปัญหาทางประชาน[12]ทางประสาท และทางเชาวน์ปัญญา[13]การใช้ยานอนหลับที่มีฤทธิ์สั้น ๆ แม้จะช่วยให้เริ่มนอนหลับ แต่ก็มีผลเสียต่อการนอนครึ่งที่สองเพราะผลการขาดยา[14]อาการขาดเบ็นโซไดอาเซพีนอาจรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น การชัก[15]โดยเฉพาะเมื่อลดยาเร็วเกินไปหลังจากใช้ในขนาดมาก ๆ หรือเป็นระยะยาว[7]อาการขาดยารุนแรงก็ยังสามารถเกิดเมื่อค่อย ๆ ลดยา หรือในบุคคลที่กินยาน้อยเป็นระยะสั้น[16]ในสัตว์ทดลอง นี่เกิดแม้เมื่อใช้ยาขนาดมาก ๆ เพียงครั้งเดียว[17][18]บุคคลจำนวนน้อยจะประสบกับอาการยืดเยื้อ (protracted) โดยมีอาการไม่ถึงกับกับรุนแรง (sub-acute) เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีหลังจากหยุดยาโอกาสเช่นนี้สามารถลดได้โดยให้ค่อย ๆ ลดยาอย่างช้า ๆ[19]การได้ยาเป็นประจำทำให้ประสาทปรับตัวต้านฤทธิ์ของยา ก่อการชินยา (tolerance) และติดยา (dependence)[20]แม้จะกินยาในระดับรักษา แต่การกินยานาน ๆ ก็อาจก่ออาการขาดยาโดยเฉพาะในระหว่างมื้อยา[21]และเมื่อหยุดยาหรือลดขนาดยา อาการขาดยาอาจปรากฏแล้วคงยืนจนกระทั่งร่างกายปรับตัวได้[22]อาการที่เด้งกลับมาอีก (rebound symptom) อาจเหมือนกับอาการที่ตอนแรกใช้ยาระงับ หรืออาจเป็นอาการเพราะหยุดใช้ยา[23]ในกรณีรุนแรง การขาดยาอาจเพิ่มปัญหาหรือคล้ายกับปัญหาทางจิตเวชหรือปัญหาทางการแพทย์ที่รุนแรง เช่น อาการฟุ้งพล่าน โรคจิตเภท และการชักโดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดมาก[24]การไม่เข้าใจว่าเป็นอาการขาดยาอาจทำให้วินิจฉัยอย่างผิด ๆ ว่าต้องให้เบ็นโซไดอาเซพีน ทำให้หยุดยาไม่สำเร็จเพราะกลับไปใช้ยาต่อ บ่อยครั้งในขนาดที่มากขึ้น ๆ[24]การเข้าใจปฏิกิริยาแบบขาดยา การเลือกใช้กลยุทธ์เป็นรายบุคคลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบวกกับวิธีอื่น ๆ เช่น ให้กำลังใจหรือมีกลุ่มสนับสนุนให้หยุดเบ็นโซไดอาเซพีน ล้วนเพิ่มอัตราการหยุดยาได้[25][26]

กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน

สาขาวิชา จิตเวช
ชื่ออื่น Benzo withdrawal

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่ม 20 กลุ่ม 7

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน http://thebrain.mcgill.ca/flash/a/a_01/a_01_m/a_01... http://us.gsk.com/products/assets/us_wellbutrinXL.... http://www.rocheusa.com/products/romazicon/pi.pdf http://archive.wikiwix.com/cache/20110915105636/ht... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10220122 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/103443 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10418790 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10512781 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10591888 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10623971