กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์
กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์

กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์

กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดทะลุผ่าน (อังกฤษ: scanning tunneling microscope; STM) คือเครื่องมือสำหรับการจับภาพพื้นผิวในระดับของอะตอม คิดค้นขึ้นโดย Gerd Binnig และ Heinrich Rohrer (จากไอบีเอ็ม ซูริก) ในปี ค.ศ. 1981 และทำให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1986[1][2] สำหรับ STM เครื่องหนึ่ง ค่าความละเอียดที่ดีควรอยู่ที่ 0.1 นาโนเมตรในแนวขวาง และ 0.01 นาโนเมตรในแนวลึก[3] ด้วยค่าความละเอียดขนาดนี้ อะตอมแต่ละหน่วยในสสารจะมีการหมุนเวียนและจับภาพไว้ได้ เราสามารถใช้ STM ได้ไม่เพียงในที่สุญญากาศยิ่งยวด แต่ยังใช้ได้ในอากาศ ในน้ำ และของเหลวอื่นๆ หรือในก๊าซ และที่ระดับอุณหภูมิแตกต่างกันได้ตั้งแต่เกือบศูนย์เคลวินไปจนถึงหลายร้อยองศาเซลเซียส[4]เครื่อง STM มีพื้นฐานบนหลักการของการทะลุผ่านทางควอนตัม (quantum tunnelling) เมื่อนำปลายตัวนำไปใกล้กับพื้นผิวที่ต้องการตรวจสอบ จะเกิดไบแอส (โวลท์ที่ต่างกัน) ระหว่างพื้นผิวทั้งสองและทำให้อิเล็กตรอนสามารถลอดผ่านสุญญากาศระหว่างทั้งสองได้ "กระแสทะลุผ่าน" ที่เกิดขึ้นคือฟังก์ชันระหว่างตำแหน่งของปลายตัวนำ โวลท์ที่ใช้ และความหนาแน่นภายในของสถานะ (local density of states; LDOS) ของสารตัวอย่างนั้น[4] การเก็บข้อมูลทำโดยการจับค่ากระแสขณะที่ปลายตัวนำเคลื่อนที่กราดไปทั่วพื้นผิว และมักแสดงผลในรูปของภาพ การใช้งาน STM เป็นเทคนิคอันท้าทาย เพราะต้องใช้พื้นผิวที่สะอาดและเสถียรอย่างยิ่ง ปลายตัวนำที่แหลม การควบคุมการสั่นอย่างเยี่ยมยอด และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันสลับซับซ้อน

ใกล้เคียง

กล้อง กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน กล้องจุลทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์ซูบารุ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ กล้องไร้กระจก กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ กล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ http://www.iap.tuwien.ac.at/www/surface/STM_Galler... http://molecularmodelingbasics.blogspot.com/2009/0... http://books.google.com/?id=3Q08jRmmtrkC&pg=PA345 http://books.google.com/?id=EXae0pjS2vwC&printsec=... http://www.almaden.ibm.com/vis/stm/gallery.html http://www.nanotimes-corp.com http://www.fz-juelich.de/ibn/microscope_e http://www.nano.geo.uni-muenchen.de/SW/images/zoom... http://www.uni-ulm.de/~hhoster/personal/metal_orga... http://www.uni-ulm.de/~hhoster/personal/self_assem...