กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด
กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อังกฤษ: Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุดMI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่าการรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตตินเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

อาการ เจ็บอก, การหายใจลำบาก, คลื่นไส้, รู้สึกหน้ามืด, เหงื่อออกท่วม, รู้สึกล้า[1]
สาขาวิชา หทัยวิทยา
ความชุก 15.9 ล้านครั้ง (2558)[9]
สาเหตุ มักเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ[2]
วิธีวินิจฉัย การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), การทดสอบเลือด, การบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ[6]
ปัจจัยเสี่ยง ความดันโลหิตสูง, การสูบบุหรี่, โรคเบาหวาน, การไม่ออกกำลังกาย, โรคอ้วน, ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด[4][5]
ยา แอสไพริน, ไนโตรกลีเซอริน, เฮปาริน[7][8]
ภาวะแทรกซ้อน ภาวะหัวใจล้มเหลว, ภาวะหัวใจเสียจังหวะ, ช็อกเหตุหัวใจ, หัวใจหยุด[2][3]
การรักษา การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจทางผิวหนัง, การสลายลิ่มเลือด[7]
พยากรณ์โรค STEMI โอกาสเสียชีวิต 10% (ประเทศพัฒนาแล้ว)[7]

ใกล้เคียง

กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลายสลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ กล้ามเนื้อเดลทอยด์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส

แหล่งที่มา

WikiPedia: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด http://heart.bmj.com/cgi/content/full/95/3/198 http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0021-... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4336825 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5055577 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12206127 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16501283 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16651468