กษัตริย์ในปรัสเซีย
กษัตริย์ในปรัสเซีย

กษัตริย์ในปรัสเซีย

กษัตริย์ในปรัสเซีย (เยอรมัน: König in Preußen) คือพระอิสริยยศที่ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1701 ถึง 1772 ก่อนที่พระอิสริยยศนี้จะเปลี่ยนไปเป็น "กษัตริย์แห่งปรัสเซีย" (เยอรมัน: König von Preußen)เชื้อพระวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นทรงปกครองบรันเดินบวร์คในฐานะเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก และอยู่ภายใต้อาณัติของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1618 นอกจากนี้เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คยังทรงปกครองดัชชีปรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐร่วมประมุขที่ตั้งอยู่นอกจักรวรรดิอีกด้วย รัฐคู่ขนานนี้จึงเรียกขานว่าบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย ก่อนหน้าปรัสเซียมีเพียงสถานะเป็นดินแดนศักดินาที่ปกครองโดยกษัตริย์โปแลนด์ด้วยพระอิสริยยศ ดยุกแห่งปรัสเซีย จึงมีสถานะเป็นเพียงรัฐบริวารของโปแลนด์เท่านั้น จนกระทั่งมีการทำสนธิสัญญาลาเบียว (ค.ศ. 1656) และสนธิสัญญาบรอมแบร์ก (ค.ศ. 1657) ที่ซึ่งฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 ดยุกผู้ยิ่งใหญ่ ได้รับอำนาจอธิปไตยเต็มขั้นเหนือปรัสเซียมาจากกษัตริย์โปแลนด์ ต่อมาในปี 1701 ฟรีดริชที่ 3 ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค ประสงค์ที่จะแสดงเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ จึงทรงเปลี่ยนไปใช้พระอิสริยยศเป็น กษัตริย์จักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 1 มีพระราชานุญาตให้ฟรีดริชที่ 3 ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็น กษัตริย์ในปรัสเซีย แลกกับการสนับสนุนของราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน และสนับสนุนผู้คัดเลือกจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในการคัดเลือกครั้งต่อไป[1]ในทางนิตินัยแล้ว ฟรีดริชที่ 3 มีพระอิสริยยศเป็นเพียงเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกภายในอาณาเขตของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และมีพระอิสริยยศเป็นกษัตริย์เพียงแต่ในอาณาเขตของดัชชีปรัสเซีย ซึ่งอยู่นอกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แม้ว่าบรันเดินบวร์คยังคงมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิและรัฐร่วมประมุขกับปรัสเซีย แต่กระนั้นเองบรันเดินบวร์คก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปรัสเซียในทางพฤตินัยไปเสียแล้ววันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1701 ฟรีดริชที่ 3 ก็ได้สถาปนาตราอาร์มเหยี่ยวดำแห่งปรัสเซียขึ้น พร้อมกับสลักคำขวัญภาษาละติน ซูอูม คูอิคุเว (ละติน: Suum cuique) ลงบนตราอาร์มดังกล่าว[1] ในวันที่ 18 มกราคม ทรงสวมมงกุฏให้แก่พระองค์และพระชายา โซฟี ชาร์ล็อตต์แห่งฮันโนเฟอร์ ในพระราชพิธีแบบบารอก ณ ปราสาทเคอนิชส์แบร์ค[1]อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก และกว่าจะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปก็ต่อเมื่อมีการทำสนธิสัญญายูเทรกต์ ค.ศ. 1713 แล้วเท่านั้น เนื่องจากพระอิสริยยศ กษัตริย์แห่งปรัสเซีย เป็นตำแหน่งที่ครอบคลุมอำนาจการปกครองเหนือปรัสเซียทั้งภูมิภาค ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในอาณาเขตของอดีตดัชชีปรัสเซียเท่านั้น ดังนั้นทั้งพระอิสริยยศใหม่และรัฐใหม่นามว่า ราชอาณาจักรปรัสเซีย โดยขุนนางมาร์เกรฟจากราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น จึงเท่ากับเป็นการคุกคามรัฐข้างเคียงอย่างโปแลนด์ เนื่องจากภูมิภาคปรัสเซียหลวง ที่ซึ่งกษัตริย์โปแลนด์ก็ทรงใช้พระอิสริยยศ กษัตริย์แห่งปรัสเซีย เช่นเดียวกัน ไปจนกระทั่งปีค.ศ. 1742ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 พระราชอำนาจของกษัตริย์ในปรัสเซียเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทรงเอาชนะกษัตริย์ออสเตรียจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คได้ในสงครามไซลีเซียทั้งสามครั้ง และแผ่ขยายอำนาจจนผนวกไซลีเซียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของปรัสเซียได้สำเร็จ ต่อมาในปี 1772 พระเจ้าฟรีดริชมหาราชทรงเปลี่ยนพระอิสริยยศไปเป็น กษัตริย์แห่งปรัสเซีย ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงผนวกจังหวัดรอยัลปรัสเซียได้สำเร็จจากการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่หนึ่ง โดยกษัตริย์แห่งปรัสเซียยังคงดำรงพระอิสริยยศเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์คไปพร้อม ๆ กัน จนกระทั่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ล่มสลายลงในปี 1806

ใกล้เคียง

กษัตริย์-จักรพรรดิ กษัตริย์ (วรรณะ) กษัตริยา กษัตริย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์แห่งโรม กษัตริย์แห่งเวสเซกซ์ กษัตริย์ไทย กษัตริย์อังกฤษ กษัตริย์แห่งนอร์เวย์ กษัตริย์อาเธอร์