กองกลางตัวรับ ของ กองกลาง

เซร์ฆิโอ บุสเกตส์ กองกลางตัวรับทีมชาติสเปน (เสื้อสีแดง) กำลังเคลื่อนที่ไปป้องกันการยิงของมารีโอ บาโลเตลลี

กองกลางตัวรับ (อังกฤษ: Defensive midfielders) เป็นกองกลางที่มีหน้าที่ในการป้องกันการยิงประตูจากฝ่ายตรงข้าม โดยจะคอยคุมตำแหน่งอยู่ด้านหน้ากองหลัง หรือคอยประกบแนวรุกของฝ่ายตรงข้าม[12][13][14] กองกลางตัวรับอาจจะย้ายไปยืนในตำแหน่งของฟุลแบ็ก หรือ กองหลังตัวกลาง หากผู้เล่นอื่นกำลังเติมเกมรุกอยู่[15][16]

เซร์ฆิโอ บุสเกตส์ ได้อธิบายทัศนคติของเขาว่า "หัวหน้าผู้ฝึกสอนรู้ว่าผมเป็นผู้เล่นที่จะคอยช่วยเหลือและต้องวิ่งไปด้านข้างเพื่อคอยแทนตำแหน่งของใครบางคน"[16] ผู้เล่นกองกลางตัวรับที่ดีจะต้องคอยระวังตำแหน่งตนเอง, คาดเดาการเล่นของคู่แข่ง, คุมตำแหน่ง, แย่งบอล, ขัดขวาง, ส่งบอล และมีความอึดและความแข็งแกร่งที่ดีเพื่อการแย่งบอล

กองกลางตัวคุมเกม

กองกลางตัวคุมเกม (อังกฤษ: Holding midfielder) หรือ กองกลางแนวลึก (อังกฤษ: Deep-lying midfielder) จะคอยยืนตำแหน่งใกล้กับกองหลัง เมื่อกองกลางคนอื่นจะคอยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพื่อทำเกมรุก[17] กองกลางตัวคุมเกมจะคอยรับผิดชอบเมื่อทีมได้บอล ผู้เล่นในตำแหน่งนี้จะคอยส่งบอลสั้นไปยังแนวรุกของทีม แต่อาจจะส่งบอลยาวหรือส่งบอลตรง ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของทีม มาร์เซโล บิเอลซา ถือเป็นผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวคุมเกมที่มีตำแหน่งป้องกัน[7] ตำแหน่งนี้จะปรากฏอยู่ในแผนการเล่น 4–2–3–1 และ 4–4–2 ไดมอนด์[18]

…เรารู้ว่า ซีดาน, ราอุล และ ฟีกู จะไม่กลับมาช่วยเกมรับ เราจึงใช้ผู้เล่นยืนหน้ากองหลัง ทั้งสี่คนเพื่อช่วยเกมรับ

อารีโก ซัคคี อธิบายถึงเรอัลมาดริด ในการวางตำแหน่งให้ โกลด มาเกเลเล ยืนเป็นกองกลางตัวคุมเกม[19]

ในระยะแรก กองกลางตัวรับ (หรือตัวทำลายเกม) และ กองกลางตัวทำเกม จะอยู่ในทีมที่ใช้กองกลางตัวคุมเกม 2 คน โดยตัวทำลายเกมจะคอยสกัดกั้น, ทำให้ทีมกลับมาครองบอล และจ่ายบอลไปยังตัวทำเกม ส่วนกองกลางตัวสร้างสรรค์เกมจะคอยครองบอลและพาบอลเคลื่อนที่ไปด้านหน้า หรืออาจจะส่งบอลยางไปยังด้านข้าง ซึ่งกองกลางตัวลึกในอดีตเรียกว่า "รีจิสตา" (อังกฤษ: Regista) ตัวอย่างกองกลางตัวทำลายเกมที่มีชื่อเสียงในอดีต เช่น น็อบบี สไตส์, แอร์แบร์ต วิมเมอร์ และ มาร์โค ทาร์เดลลี และในยุคหลัง เช่น โกลด มาเกเลเล และ ฆาบิเอร์ มัสเชราโน ซึ่งผู้เล่นเหล่านี้อาจจะสามารถเล่นได้ในหลายตำแหน่ง โดยกองกลางตัวสร้างสรรค์เกมที่มีชื่อเสียงในอดีต เช่น แกร์ซง, เกล็นน์ ฮ็อดเดิล และ ซันเดย์ โอลิเซ และในยุคหลัง เช่น ชาบี อาลอนโซ และ ไมเคิล แคร์ริก ซึ่งปัจจุบันนั้นมีรูปแบบของกองกลางตัวคุมเกมที่ถูกพัฒนาใหม่เป็น กองกลางบ็อกซ์ทูบ็อกซ์ โดยจะไม่เป็นทั้งกองกลางตัวทำลายเกมหรือกองกลางตัวสร้างสรรค์เกม ซึ่งจะคอยแย่งบอลจากฝ่ายตรงข้ามและวิ่งจากแนวลึกเพื่อส่งบอลให้กับทีมหรืออาจจะวิ่งไปยังพื้นที่เขตโทษของฝ่ายตรงข้าม ตัวอย่างกองกลางบ็อกซ์ทูบ็อกซ์ในปัจจุบัน เช่น ยาย่า ตูเร และ บัสทีอัน ชไวน์ชไตเกอร์ ส่วน ซามี เคดีรา และ เฟร์นังจิญญู เป็นกองกลางตัวทำลายเกมที่มีการครองบอลที่ดี[7]

กองกลางแนวลึก

อันเดรอา ปีร์โล กองกลางแนวลึกชาวอิตาลีกำลังจ่ายบอล ซึ่งปีร์โลถือว่าเป็นหนึ่งในกองกลางแนวลึกที่ดีที่สุดตลอดกาล

กองกลางแนวลึก (อังกฤษ: Deep-lying playmaker) เป็นกองกลางตัวคุมเกมที่จะมีความสามารถในการจ่ายบอลมากกว่าการแย่งบอลหรือการเล่นในแนวรับ[20] เมื่อผู้เล่นในตำแหน่งนี้ได้บอล จะคอยส่งบอลยาวหรือส่งบอลที่ซับซ้อนมากกว่าที่จะคอยคุมผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เป็นส่วนสำคัญในการคุมจังหวะของเกม, การครองบอลของทีม หรือการสร้างสรรค์การเล่นด้วยการจ่ายบอลสั้นหรือการจ่ายบอลยาวไปยังกองหน้าหรือปีก ซึ่งอาจจะส่งบอลไปยังที่ว่างระหว่างกองหลังและกองกลางฝ่ายตรงข้าม[20][21][22] ในประเทศอิตาลี ตำแหน่งกองกลางแนวลึกเรียกว่า "รีจิสตา" (Regista)[23] ส่วนในประเทศบราซิล เรียกว่า "เมีย-อามาดอร์" (Meia-armador)[24]

แผนการเล่น 2–3–5 มีกองกลางเซ็นเตอร์ฮาล์ฟอยู่กลางสนาม (สีเหลือง)

เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ

ฟุตบอลในยุคอดีตมีตำแหน่ง เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ (อังกฤษ: Centre-half) ซึ่งจะค่อย ๆ ถอยจากการยืนตำแหน่งในกองกลางเพื่อป้องกันการบุกจากกองหน้าฝ่ายตรงข้าม โดยมีชื่อเรียกมาจากกองหลังตัวกลาง ที่ในเรียกว่า "เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ"[25]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กองกลาง http://www.espnfc.com/fifa-world-cup/story/1861193... http://expertfootball.com/coaching/positions.php http://www.football-analysis.com/the-regista-and-t... http://www.football-bible.com/soccer-glossary/lett... http://www.futbolforgringos.com/tactics-tuesday-na... http://grantland.com/features/how-to-watch-the-wor... http://www.just-football.com/2012/06/positional-an... http://www.mtv.com/artists/playmaker/biography/ http://www.robertomancini.com/en/carriera-2/the-nu... http://cartilagefreecaptain.sbnation.com/2014/1/28...