กองทัพสหรัฐ
กองทัพสหรัฐ

กองทัพสหรัฐ

กองทัพนาวิกโยธิน
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
กองทัพอวกาศ
กองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่งสงครามกลางเมืองอเมริกัน (1861–1865)
สงครามโลกครั้งที่ 1 (1917–1918)
สงครามโลกครั้งที่ 2 (1941–1945)
สงครามเย็น (1945–1991)
สงครามเกาหลี (1950–1953)
สงครามเวียตนาม (1959–1975)
สงครามอ่าวเปอร์เซีย (1990–1991)
สงครามคอซอวอ (1999)
สงครามต่อต้านการก่อการร้าย (2001–ปัจจุบัน)
สงครามอัฟกานิสถาน (2001–ปัจจุบัน)
สงครามอิรัก (2003–2011)
ฯลฯกองทัพสหรัฐ (อังกฤษ: United States Armed Forces) เป็นกองทหารของสหรัฐ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพนาวิกโยธิน, กองทัพอากาศ, กองทัพอวกาศและกองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่ง สหรัฐมีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วมทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นกองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่ง กองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยยามฝั่งไปให้กระทรวงทหารเรือ ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ หน่วยบริการสาธารณสุข และ หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐนับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะในสงครามบาร์บารีทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ ค.ศ. 1947 ซึ่งผ่านมติเห็นชอบในช่วงเริ่มแรกของสงครามเย็น ได้จัดตั้งกรอบทหารสหรัฐสมัยใหม่ รัฐบัญญัติดังกล่าวรวมกระทรวงสงคราม และ กระทรวงทหารเรือในอดีตเข้าด้วยกันเป็นหน่วยจัดตั้งทหารแห่งชาติ (National Military Establishment) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมใน ค.ศ. 1949 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้นำ ตลอดจนตั้งกระทรวงทหารอากาศและสภาความมั่นคงแห่งชาติ กองทัพสหรัฐนับเป็นหนึ่งในกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ยอดกำลังพล กำลังพลได้มาจากอาสาสมัครจำนวนมากซึ่งได้รับค่าตอบแทน แม้ในอดีตจะมีการเกณฑ์ทหารทั้งในยามสงครามและยามสงบ แต่ไม่มีการเกณฑ์ทหารอีกนับแต่ ค.ศ. 1972 ใน ค.ศ. 2013 สหรัฐมีรายจ่ายเพื่อสนับสนุนกองทัพราว 554,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี และจัดสรรงบประมาณราว 88,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการการเผชิญเหตุโพ้นทะเล (Overseas Contingency Operation) เมื่อรวมกันแล้ว สหรัฐมีรายจ่ายทางทหารเป็นร้อยละ 39 ของรายจ่ายทางทหารโลก

กองทัพสหรัฐ

ยอดกำลังประจำการ 1,429,995[3] (อันดับที่ 2)
ยอดกำลังสำรอง 850,880[4] (อันดับที่ 10)
ประชากรที่อายุถึงขั้นรับราชการทุกปี ชาย 2,161,727 (ประเมิน 2553),
หญิง 2,055,685 (ประเมิน 2553)
อายุเริ่มบรรจุ 17 ปี โดยได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง, 18 ปีโดยสมัครใจ อายุการสมัครเข้าเป็นทหารสูงสุด 35 ปีสำหรับกองทัพบก[1] 28 ปีสำหรับนาวิกโยธิน, 34 ปีสำหรับกองทัพเรือ และ 27 ปีสำหรับกองทัพอากาศ[2]
ประชากรในวัยบรรจุ ชาย 73,270,043  อายุ 18–49 (ประเมิน 2553),
หญิง 71,941,969  อายุ 18–49 (ประเมิน 2553)
งบประมาณ $554,200 ล้าน + $88,500 ล้าน (ปีงบฯ 2556)[4][5](อันดับที่ 1 คิดจากรายจ่ายทั้งหมด และอันดับที่ 11 คิดจากร้อยละต่อจีดีพี)
ผู้บัญชาการสูงสุด ประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์
ประชากรฉกรรจ์ ชาย 60,620,143 , อายุ 18–49 (ประเมิน 2553),
หญิง 59,401,941 , อายุ 18–49 (ประเมิน 2553)
เหล่า กองทัพบก

กองทัพนาวิกโยธิน
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ
กองทัพอวกาศ
กองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่ง

ที่ตั้ง บก. เดอะเพนตากอน, อาร์ลิงตันเคาน์ตี, รัฐเวอร์จิเนีย, สหรัฐ
ประธานเสนาธิการร่วม พลเอก มาร์ก เอ. มิลลีย์
ประวัติ สงครามปฏิวัติอเมริกัน

สงครามเม็กซิโก-อเมริกา (1846 – 1848)

สงครามกลางเมืองอเมริกัน (1861–1865)
สงครามโลกครั้งที่ 1 (1917–1918)
สงครามโลกครั้งที่ 2 (1941–1945)
สงครามเย็น (1945–1991)
สงครามเกาหลี (1950–1953)
สงครามเวียตนาม (1959–1975)
สงครามอ่าวเปอร์เซีย (1990–1991)
สงครามคอซอวอ (1999)
สงครามต่อต้านการก่อการร้าย (2001–ปัจจุบัน)
สงครามอัฟกานิสถาน (2001–ปัจจุบัน)
สงครามอิรัก (2003–2011)
ฯลฯ

ร้อยละต่อจีดีพี 4.9% (ประเมิน 2554)
รัฐมนตรีกลาโหม มาร์ค เอสเปอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: กองทัพสหรัฐ http://defenseupdates.blogspot.com/2013/06/us-defe... http://www.goarmy.com/about/service-options/enlist... http://biotech.law.lsu.edu/blaw/dodd/corres/html2/... http://afrotc.msu.edu/wp-content/uploads/2007/09/a... http://www.usma.edu/Protocol/images/AR840-10.pdf http://www.defenselink.mil/ http://doni.daps.dla.mil/US%20Navy%20Regulations/C... http://siadapp.dmdc.osd.mil/personnel/MILITARY/ms0... http://www.drummajor.net/documents/USMC%20Drill%20... http://www.globalsecurity.org/military/ops/index.h...