กองเรือยุทธการ ของ กองทัพเรือไทย

เครื่องหมายราชการของกองเรือยุทธการ

เรือรบขนาดใหญ่ที่ประจำการในกองทัพเรือไทยจะต่อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร อิตาลี สิงคโปร์ สเปน หรือ เยอรมนี ในขณะที่เรือรบซึ่งมีขนาดเล็กหรือเป็นเรือที่ไม่ใช่เรือรบหลัก ส่วนใหญ่จะต่อจากอู่ภายในประเทศทั้งอู่ของเอกชนและอู่ของกรมอู่ทหารเรือเอง เช่น เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ เรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือยกพลขึ้นบก เรือระบายพล เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง เรือสำรวจ เป็นต้น

ดูรายละเอียดที่เรือรบในประจำการของกองทัพเรือไทย

กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ

อากาศยานของกองการบินทหารเรือสร้างจากต่างประเทศทั้งหมด โดยส่วนใหญ่มาจาก สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีจาก สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ บราซิล และ แคนาดา ทั้งนี้อากาศยานจำนวนประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง เป็นอากาศยานที่ได้รับการออกแบบให้สามารถปฏิบัติการจากเรือรบผิวน้ำของกองทัพเรือได้ คือ จากเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือฟริเกต เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หรือเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นอากาศยานที่ต้องปฏิบัติการจากสนามบินบนฝั่ง

ดูรายละเอียดที่อากาศยานในประจำการของกองทัพเรือไทย

  • เครื่องบินขับไล่/โจมตี 27 เครื่อง
  • เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล 13 เครื่อง
  • เครื่องบินตรวจการณ์ 14 เครื่อง
  • เครื่องบินลำเลียง 11 เครื่อง
  • เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล 8 เครื่อง
  • เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 18 เครื่อง
  • อากาศยานไร้คนขับ 2 เครื่อง

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (หน่วยซีล หรือ SEAL)

  • กำลังพลนักทำลายใต้น้ำจู่โจม 3 กองรบพิเศษ
  • อาวุธประจำกาย ปืนพก ขนาด 11 มม. Heckler & Koch USP ปืนเล็กกล ขนาด 9 มม. Heckler & Koch MP-5K/MP-5SD, Heckler & Koch UMP-9 ปืนเล็กสั้น ขนาด 9 มม. Heckler & Koch G36KV เครื่องยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กยาว ขนาด 40 มม. Heckler & Koch AG36 ปืนกลเบา ขนาด 5.56 มม. M249 Para, Heckler & Koch HK23E ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 7.62 มม. Heckler & Koch MSG-1 ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 12.7 มม. M82, Accuracy International AW50
  • เรือปฏิบัติการพิเศษ 7 ลำ

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

  • กำลังพลนาวิกโยธิน 1 กองพล (3 กรมทหารราบ 1 กรมทหารปืนใหญ่ 1 กรมสนับสนุน 1 กรมรักษาความปลอดภัย)
  • อาวุธประจำกาย ปืนพก ขนาด 11 มม. M1911 ปืนเล็กสั้น ขนาด 5.56 มม. M4A1/M4A3, Heckler & Koch G36C ปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มม. M16A1/M16A2, Norinco CQ M-311 เครื่องยิงลูกระเบิดจากปืนเล็กยาว ขนาด 40 มม. M203 ปืนกลเบา ขนาด 5.56 มม. M249 ปืนเล็กยาวซุ่มยิง ขนาด 7.62 มม. Knights Armament SR-25 (Mk.11 mod.0)
  • อาวุธประจำหน่วย ปืนกลกลาง ขนาด 7.62 มม. M60 ปืนกลหนัก ขนาด 12.7 มม. M2 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มม. M19 เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มม. M29 ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ขนาด 106 มม. M40 อวป.ต่อสู้รถถัง M47 Dragon, Messerschmitt-Bölkow-Blohm (MBB) Armbrust
  • รถถังหลัก Type 69 II
  • รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV
  • รถเกราะ V-150, BTR-3E1
  • รถยนต์บรรทุก HMMWV ติด อวป.ต่อสู้รถถัง TOW
  • เครื่องยิงลูกระเบิดขนาดหนัก ขนาด 120 มม. M120
  • ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ขนาด 105 มม. M101A1, M101A1 (ปรับปรุง) ใช้ลำกล้องของปืนใหญ่ Giat LG1
  • ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม. Space Research Corporation GC-45, Noricum GHN-45

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

  • กำลังพล 1 กองพล (2 กรมต่อสู้อากาศยาน 1 กรมรักษาฝั่ง 1 กรมสนับสนุน 2 ศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง)
  • อาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-อากาศ QW-18, PL-9
  • ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 20 มม.
  • ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 37 มม. Type 74
  • ปืนต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มม. Bofors L70 และ Bofors L60
  • ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 130 มม. Type 59
  • ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม. Noricum GHN-45
  • เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Type 702 สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Type 74
  • เรดาร์ควบคุมการยิง Type 311B สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Type 74
  • เรดาร์ควบคุมการยิง Thales Flycatcher สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน Bofors L70
  • เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ ASR-8 (AN/GPN-20/27)
  • เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ แบบเคลื่อนที่ Thales BOR-A 550

เรือรบของกองทัพเรือไทย


ระเบียบการใช้คำนำหน้าชื่อเรือ

  • เรือที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป กองทัพเรือใช้คำว่า "เรือหลวง" หรือคำย่อว่า "ร.ล." เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ อันเป็นการแสดงถึงความเป็นเรือรบของพระมหากษัตริย์ โดยในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า "His Thai Majesty's Ship" หรือใช้คำย่อว่า "HTMS" เป็นคำนำหน้าชื่อเรือ เช่น เรือหลวงนเรศวร หรือ ร.ล.นเรศวร หรือ HTMS Naresuan ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้ให้ขอพระราชทานพระมหากษัตริย์ทรงตั้ง
  • เรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา กองทัพเรือใช้ตัวอักษรระบุชนิด/หน้าที่ของเรือ เป็นคำนำหน้า และมีหมายเลขเรือต่อท้าย เช่น ต.991 ทั้งนี้ชื่อเรือเหล่านี้กองทัพเรือเป็นผู้ตั้งเอง

ระเบียบการตั้งชื่อเรือ

พิพิธภัณฑ์เรือหลวงท่าจีน โรงเรียนเตรียมทหาร
  • เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.นเรศวร ร.ล.ตากสิน ร.ล.ปิ่นเกล้า ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช
  • เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.เจ้าพระยา ร.ล.ตาปี ร.ล.สายบุรี
  • เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวงหรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น ร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์
  • เรือเร็วโจมตี
    • เรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเลสมัยโบราณที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.ปราบปรปักษ์
    • เรือเร็วโจมตี (ปืน) และเรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ชลบุรี ร.ล.ภูเก็ต
  • เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทฤทธิ์ในนิยายหรือวรรณคดีเกี่ยวกับการดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจฉานุ
  • เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.ลาดหญ้า
  • เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล.สีชัง ร.ล.สิมิลัน
  • เรือตรวจการณ์
    • เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งชื่อตามอำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.สัตหีบ ร.ล.หัวหิน
    • เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณที่มีความเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น เช่น ร.ล.คำรณสินธุ ร.ล.ล่องลม
  • เรือสำรวจ ตั้งชื่อตามดาวสำคัญ เช่น ร.ล.ศุกร์ ร.ล.พฤหัสบดี
  • เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้นๆ
  • เรือที่ไม่ได้กล่าวไว้ ให้พิจารณาตั้งชื่อตามความเหมาะสมเป็นคราวๆ ไป เช่น ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ หรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล เช่น ร.ล.ปัตตานี ร.ล.นราธิวาส

หลักการกำหนดหมายเลขเรือ

  • หมายเลขตัวที่ 1 แสดงประเภทเรือ (Type) ซึ่งกำหนดไว้ 9 ประเภท คือ
    • หมายเลข 1 เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบก
    • หมายเลข 2 เรือดำน้ำ
    • หมายเลข 3 เรือเร็วโจมตี
    • หมายเลข 4 เรือพิฆาต เรือฟริเกต และเรือคอร์เวต
    • หมายเลข 5 เรือตรวจการณ์
    • หมายเลข 6 เรือทุ่นระเบิด
    • หมายเลข 7 เรือยกพลขึ้นบก
    • หมายเลข 8 เรืออุทกศาสตร์ เรือช่วยรบ และเรือประเภทอื่นๆ
    • หมายเลข 9 เรือบรรทุกอากาศยาน
  • หมายเลขตัวที่ 2 แสดงชุดหรือชั้นของเรือ (Class) โดยเรือที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันจะมีการจัดรวมไว้ในชุดเดียวกัน
  • หมายเลขตัวที่ 3 แสดงลำดับที่ของเรือในชุดนั้นๆ โดยเริ่มจากลำดับที่ 1 เรียงต่อกันไปตามลำดับ หากเรือชุดมีเกิน 9 ลำ เรือลำที่ 10 จะเพิ่มเป็น 4 ตัว

ระเบียบการเขียนชื่อเรือ

  • ชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำปกติตั้งแต่ 150 ตันขึ้นไป ให้ทำด้วยทองเหลืองบนพื้นสีน้ำเงิน ติดกับตัวเรือตอนท้ายสุดเหนือแนวน้ำ ยกเว้นเรือบางลำหรือบางประเภท ถ้าติดชื่อเรือบริเวณดังกล่าวไม่สะดวก ให้ติดไว้ข้างเรือตอนท้ายทั้งสองข้าง ส่วนเรือดำน้ำ ให้ติดไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างค่อนทางหัวเรือเหนือแนวน้ำขณะลอยลำเต็มที่
  • ชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำปกติต่ำกว่า 150 ตันลงมา ให้เขียนด้วยสีขาวไว้กับตัวเรือทั้งสองข้างตอนหัวเรือ ตรงกึ่งกลางระหว่างแนวน้ำกับแนวกราบเรือ
  • ให้ติดป้ายชื่อเรือที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 100 ตันขึ้นไป และเรือประเภทเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ที่ข้างสะพานเดินเรือทั้งสองกราบ เป็นภาษาไทยอยู่ด้านบน และภาษาอังกฤษอยู่ด้านล่าง โดยลักษณะของป้ายชื่อเรือ ให้เป็นไปตามที่กองเรือยุทธการกำหนด
  • การเขียนหมายเลขเรือให้ใช้ตัวเลขอาระบิค

ระเบียบการแบ่งชั้นเรือ

  • เรือที่มีอัตราผู้บังคับการเรือ ให้จัดแบ่งตามชั้นยศของผู้บังคับการเรือ คือ
    • เรือชั้น 1 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือชั้นยศนาวาโทขึ้นไป
    • เรือชั้น 2 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือชั้นยศนาวาตรี
    • เรือชั้น 3 คือ เรือที่มีผู้บังคับการเรือชั้นยศเรือเอก
  • เรือที่มีอัตราผู้ควบคุมเรือ จะไม่จัดเข้าอยู่ในชั้นใด และให้ถือเป็นเรือขนาดเล็ก

ระเบียบการแบ่งชั้นหมู่เรือ

  • หมู่เรือชั้น 1 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 1 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 1 กับเรืออื่นๆ
  • หมู่เรือชั้น 2 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 2 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 2 กับเรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่เรือชั้น 1
  • หมู่เรือชั้น 3 คือ หมู่เรือที่ประกอบด้วยเรือชั้น 3 ทั้งหมด หรือเรือชั้น 3 กับเรือขนาดเล็ก หรือเรือขนาดเล็กทั้งหมด

หลักการแบ่งประเภทของเรือและคำย่อ

ประเภท
(ไทย)
คำย่อ
(ไทย)
ประเภท
(อังกฤษ)
คำย่อ
(อังกฤษ)
ทร.
ไทย
1. เรือรบผิวน้ำ
1.1 เรือลาดตระเวนหนัก,เรือลาดตระเวนเบาลตห,ลตบheavy cruisers,light cruiser CA,CLเคยมี
1.2 เรือบรรทุกอากาศยานเรือ บฮ.aircraft CarrierCVมี
1.3 เรือพิฆาตเรือ พฆ.DestroyerDDไม่มี
1.4 เรือฟริเกตเรือ ฟก.Guided-missile FrigateFFGมี
FrigateFFมี
Patrol FrigatePFมี
1.5 เรือคอร์เวตเรือ คว.CorvetteFSมี
2. เรือเร็วโจมตีเรือ รจ.
2.1 เรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี)เรือ รจอ.Fast Attack Craft (Guided-missile)FAC (M)มี
2.2 เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด)เรือ รจต.Fast Attack Craft (Torpedo)FAC (T)มี
2.3 เรือเร็วโจมตี (ปืน)เรือ รจป.Fast Attack Craft (Gun)FAC (G)มี
3. เรือดำน้ำเรือ ด.
3.1 เรือดำน้ำ (ธรรมดา)เรือ ด.Submarine, GeneralSSมี
3.2 เรือดำน้ำใกล้ฝั่งเรือ ดก.Submarine, CoastalSSCไม่มี
3.3 เรือดำน้ำเล็กเรือ ดล.Midget SubmarineSSMไม่มี
4. เรือตรวจการณ์เรือ ตก.
4.1 เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเรือ ตกก.Ocean Patrol VesselOPVมี
4.2 เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ)เรือ ตกด.Patrol Craft (Anti-submarine)PCมี
4.3 เรือตรวจการณ์ (ปืน)เรือ ตกป.Patrol Craft (Gun)PGมี
4.4 เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเรือ ตกฝ.Coastal Patrol CraftPGMมี
4.5 เรือตรวจการณ์ชายฝั่งเรือ ตกช.Inshore Patrol CraftPCFมี
5. เรือตรวจการณ์ลำน้ำเรือ ตล.
5.1 เรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำเรือ รตล.River Patrol BoatPBRมี
5.2 เรือยนต์ตรวจการณ์ลำน้ำเรือ ยตล.River Patrol CraftRPCมี
6. เรือจู่โจมลำน้ำเรือ จล.
6.1 เรือจู่โจมลำน้ำ (เครื่องติดท้าย)เรือ จลค.Outboard Motor Assault BoatAB (M)มี
6.2 เรือจู่โจมลำน้ำ (เครื่องพ่นน้ำ)เรือ จลพ.Hydro Jet Assault BoatAB (H)มี
7. เรือยกพลขึ้นบกเรือ ยพ.
7.1 เรือบัญชาการและสนับสนุนการยกพลขึ้นบกเรือ บยพ.Amphibious Command and Support ShipLCCไม่มี
7.2 เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่เรือ ยพญ.Landing Ship, TankLSTมี
7.3 เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลางเรือ ยพก.Landing Ship, MediumLSMไม่มี
7.4 เรือยกพลขึ้นบกขนาดเล็กเรือ ยพล.Landing Ship, Infantry, LargeLSILไม่มี
7.5 เรือระบายพลขนาดใหญ่เรือ รพญ.Landing Craft, UtilityLCUมี
7.6 เรือระบายพลขนาดกลางเรือ รพก.Landing Craft, MechanizedLCMมี
7.7 เรือระบายพลขนาดเล็กเรือ รพล.Landing Craft, Vehicle, PersonnelLCVPมี
Landing Craft, Personnel, LargeLCPLมี
7.8 เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกเรือ สยพ.Landing Ship Support, LargeLSSLไม่มี
7.9 เรือหุ้มเกราะลำเลียงพลเรือ หกล.Mini-Armoured Troop CarrierMATCมี
8. เรือทุ่นระเบิด
8.1 เรือต่อต้านทุ่นระเบิดเรือ ตท.Mine Countermeasures ShipMCM
8.1.1 เรือกวาดทุ่นระเบิดเรือ กท.Mine SweeperMS
8.1.1.1 เรือกวาดทุ่นระเบิดไกลฝั่งเรือ กทก.Mine Sweeper, OceanMSOมี
8.1.1.2 เรือกวาดทุ่นระเบิดใกล้ฝั่งเรือ กทฝ.Mine Sweeper, CoastalMSCมี
8.1.1.3 เรือกวาดทุ่นระเบิดชายฝั่งเรือ กทช.Mine Sweeper, InshoreMSIไม่มี
8.1.1.4 เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้นเรือ กทต.Motor Launch Mine SweeperMLMSมี
Mine Sweeping BoatMSBมี
8.1.2 เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดเรือ ลท.Mine HunterMH
8.1.2.1 เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่งเรือ ลทฝ.Mine Hunter, CoastalMHCมี
8.1.2.2 เรือล่าทำลายทุ่นระเบิดชายฝั่งเรือ ลทช.Mine Hunter, InshoreMHIมี
8.2 เรือวางทุ่นระเบิดเรือ วท.Mine LayerML
8.2.1 เรือวางทุ่นระเบิดใกล้ฝั่งเรือ วทฝ.Mine Layer, CoastalMLCไม่มี
8.2.2 เรือวางทุ่นระเบิดชายฝั่งเรือ วทช.Mine Layer, InshoreMLIไม่มี
8.3 เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิดเรือ สตท.Mine Countermeasures Support ShipMCSมี
9. เรือส่งกำลังบำรุงเรือ สก.
9.1 เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่เรือ สกญ.Replenishment Ship, LargeAOR (H)มี
9.2 เรือส่งกำลังบำรุงขนาดกลางเรือ สกก.Replenishment Ship, MediumAOR (L)ไม่มี
9.3 เรือส่งกำลังบำรุงขนาดเล็กเรือ สกล.มี
9.4 เรือน้ำมันเรือ นม.Oil BargeYOมี
Gasoline BargeYOGมี
9.5 เรือน้ำเรือ น.Water BargeYWมี
10. เรือลากจูงเรือ ลจ.
10.1 เรือลากจูงขนาดใหญ่เรือ ลจญ.Harbour Tug, LargeYTBมี
10.2 เรือลากจูงขนาดกลางเรือ ลจก.Harbour Tug, MediumYTMมี
10.3 เรือลากจูงขนาดเล็กเรือ ลจล.Harbour Tug, SmallYTLมี
11. เรือลำเลียงเรือ ลล.
11.1 เรือลำเลียงทหารเรือ ลลท.Personnel TransportAPมี
11.2 เรือลำเลียงพัสดุเรือ ลลพ.Light Cargo ShipAKLไม่มี
11.3 เรือเสบียงเรือ ลลส.Store Issue ShipAKSมี
12. เรือสำรวจเรือ สร.
12.1 เรือสำรวจขนาดใหญ่เรือ สรญ.Oceanographic Research ShipAGORมี
12.2 เรือสำรวจขนาดเล็กเรือ สรฝ.Surveying Ship, CoastalAGSCมี
13. เรือพี่เลี้ยงเรือ พล.
13.1 เรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำเรือ พลด.Submarine TenderASไม่มี
14. เรือช่วยรบอื่นๆ
14.1 เรือกู้ซ่อมเรือ กซ.Salvage ShipARSไม่มี
14.2 เรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยเรือ ชภ.Salvage and Rescue ShipATSมี
14.3 เรือพยาบาลเรือ พย.Hospital ShipAHไม่มี
14.4 เรือโรงงานเรือ รง.Repair ShipARไม่มี
14.5 เรืออู่แห้งเรือ อห.Floating Dry DockAFDไม่มี
15. เรือใช้ในกิจการพิเศษอื่นๆ
15.1 เรือขจัดคราบน้ำมันเรือ คม.Pollution Control Vesselไม่มี
15.2 เรือขุดลอกเรือ ขล.DredgerYMไม่มี
15.3 เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือเรือ งคร.Navigation Aids Service Ship/Buoy TenderABUมี
15.4 เรือฝึกเรือ ฝ.Training ShipAXไม่มี
15.5 เรือพระที่นั่งRoyal YachtYACมี