กำลังพล ของ กองทัพเรือไทย

กำลังพลหลัก มีดังต่อไปนี้ คือ

  • ทหารประจำการ หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ[4] หรือ หมายถึง ข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521[5] มีดังต่อไปนี้
    • นายทหารสัญญาบัตรประจำการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งมีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะได้จากนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ที่เมื่อจบหลักสูตร 2 ปีจากโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว (วิทยฐานะ ม.6) จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรือเป็นเวลา 5 ปี (จากการอนุมัติปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนทหาร ของสภาการศึกษากลาโหม เมื่อ ปี พ.ศ. 2558) โดยในระหว่างนั้นจะมีการให้นักเรียนนายเรือเลือกพรรคและเหล่าที่ต้องการ เมื่อจบหลักสูตรแล้ว (วิทยฐานะปริญญาตรี ทางวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ได้รับพระราชทานยศทหารเป็น "เรือตรี" บรรจุเป็นข้าราชการทหาร และได้รับพระราชทานกระบี่ สามารถปฏิบัติงานตามพรรคและเหล่าที่เลือก
        • นายทหารพรรคนาวิน ถือเป็นกำลังพลหลักที่จะได้ปฏิบัติงานในหน่วยต่างๆ ของกองเรือยุทธการ โดยเฉพาะการประจำในเรือรบของกองเรือต่างๆ แต่ทั้งนี้นายทหารจะต้องผ่านหลักสูตรการฝึกสั้นๆ ที่กองการฝึก กองเรือยุทธการ (กฝร.) ก่อนปฏิบัติงานจริงๆ นอกจากนี้ยังเป็นกำลังพลในหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งด้วย
        • นายทหารพรรคกลิน ซึ่งจะเป็นวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเครื่องกลและเครื่องกลเรือ จะคล้ายกันเพียงแต่มีจำนวนน้อยกว่าเน้นการทำงานด้านซ่อมบำรุงและออกแบบ
        • นายทหารพรรคนาวิกโยธิน จะเป็นกำลังพลรบหลักทางบกสำหรับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
        • นายทหารสัญญาบัตรสายแพทย์และพยาบาล ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (สมทบ), วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ผลิตนายทหารสัญญาบัตรเหล่าแพทย์
        • บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรพรรคพิเศษ
        • นายทหารชั้นประทวนที่ได้ปรับเลื่อนชั้นวิทยฐานะ
    • นายทหารประทวนประจำการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งมีตำแหน่งราชการในกระทรวงกลาโหม โดยสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนชุมพลทหารเรือ มีหน้าที่ผลิตนายทหารชั้นประทวน พรรคนาวิน เหล่าสามัญ การปืน สรรพาวุธ และพรรคกลิน หรือ โรงเรียนสายวิชาชีพเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนพยาบาลทหารเรือ ผลิตนายทหารประทวนสายพยาบาล โรงเรียนนาวิกโยธิน โรงเรียนพลาธิการ โรงเรียนไฟฟ้าและสื่อสาร โรงเรียนขนส่ง และโรงเรียนดุริยางค์ทหารเรือ หรือ บุคคลพลเรือนซึ่งมีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นนายทหารประทวนพรรคพิเศษ
  • ทหารกองประจำการ หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด (มาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497)
  • กำลังพลสำรอง หมายถึง กำลังที่มิใช่กำลังประจำการและกำลังกองประจำการ (ที่ปลดเป็นกองหนุนแล้ว) เตรียมไว้สำหรับใช้ในยามสงคราม, ยามประกาศกฎอัยการศึก, ยามภาวะฉุกเฉินหรือในยามปฏิบัติการด้วยกำลังทหารขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องคุ้มครองรักษาเอกราช และอธิปไตยของชาติ เพื่อปราบปรามคอมมิวนิสต์ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงภายในประเทศ (หน้า 58-59 หนังสือคู่มือนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3) ซึ่งประกอบด้วยกำลังต่าง ๆ ดังนี้
  • นายทหารสัญญาบัตรนอกกอง หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (โอนไปรับราชการในกระทรวงอื่น)
  • นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ (ผู้ที่เคยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการและได้ลาออกจากราชการทหารไปแล้ว (มีเบี้ยหวัด) หรือ นายทหารสัญญาบัตรที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ไม่มีเบี้ยหวัด)) คือ นักศึกษาวิชาทหาร ที่สำเร็จชั้นปีที่ 5 ในส่วนของกองทัพเรือ และได้รับการแต่งตั้งยศทหารเป็น ว่าที่เรือตรี (แล้วปลดเป็นนายทหารกองหนุน ไม่มีเบี้ยหวัด) ซึ่งเป็นกำลังพลสำรองระดับชั้นสัญญาบัตรที่กองทัพเรือได้ผลิตขึ้นโดยรับสมัครผู้มีคุณสมบัติที่กำหนดตามระเบียบของกระทรวงกลาโหม และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร กองทัพเรือจึงได้อนุมัติจัดตั้งกองการกำลังพลสำรอง สังกัดกรมกำลังพลทหารเรือ เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและผลิตกำลังพลสำรองของกองทัพเรือให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบกำลังสำรองของกองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรแล้วปลดเป็นกองหนุน โดยกำหนดช่วงอายุเป็นเกณฑ์ คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 45 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 50 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุไม่เกิน 55 ปี

เมื่อครบกำหนดช่วงอายุตามชั้นยศแล้ว จะปลดเป็น นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ และ นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ ไปตามลำดับ

  • นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถืออายุไม่เกินกำหนด คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุไม่เกิน 55 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุไม่เกิน 60 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุไม่เกิน 65 ปี

  • นายทหารสัญญาบัตรพ้นราชการ หมายถึง นายทหารสัญญาบัตรซึ่งไม่มีตำแหน่งราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหารสัญญาบัตรประเภทนี้ โดยถูกปลดและถูกถอดยศ หรือ มีอายุพ้นเกณฑ์นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ คือ

ยศ (ว่าที่) ร.ต.- ร.อ. อายุเกิน 55 ปี

ยศ (ว่าที่) น.ต.- น.ท. อายุเกิน 60 ปี

ยศ (ว่าที่) น.อ. - นายพล อายุเกิน 65 ปี

  • นายทหารประทวนกองหนุน หมายถึง นายทหารประทวนที่ปลดจากประจำการ (ลาออกจากราชการทหาร) แต่ยังอยู่ในชั้นกองหนุน หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3) และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารประทวน ซึ่งยังอยู่ในชั้นกองหนุน ดังนั้น การฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ในส่วนของกองทัพเรือจึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 ณ ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยผู้ที่จะเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพเรือนั้น จะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกเท่านั้น (ชลบุรี,ระยอง,จันทบุรี และ ตราด) ซึ่งระเบียบการนี้จะมีผลเข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะต้องการกำลังพลที่อาศัยอยู่ภูมิลำเนาขั้นต้น และมีความเข้าใจถึง ภูมิประเทศ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่น
  • นายทหารประทวนพ้นราชการ หมายถึง นายทหารประทวนซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ
  • พลทหารกองหนุน และ จ.ต.กองประจำการ กองหนุน หมายถึง ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 หรือ ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการยังไม่ครบกำหนด แต่ต้องจำขัง หรือมีโทษจำคุกกำหนดวันที่ต้องลงทัณฑ์ หรือต้องโทษรวมได้ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือทหารกองประจำการผู้ใด ซึ่งกระทรวงกลาโหมเห็นว่าจะกระทำการเสื่อมเสียให้แก่ราชการทหารด้วยประการใด ๆ แล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ก็ได้ หรือ ทหารกองเกินซึ่งมีอายุครบ 30 ปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 หรือ นักศึกษาวิชาทหารซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหารและได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 และยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารประทวน
    • พลทหารพ้นราชการ หมายถึง ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ซึ่งอยู่ในชั้นกองหนุนครบ 23 ปี นับจากวันปลดจากกองประจำการ หรือ ทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ที่มีอายุครบ 46 ปี บริบูรณ์ หรือ พลทหารกองประจำการที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองหนุนที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ หรือ ทหารกองเกินที่พิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้

ยศทหารเรือไทย

ชื่อยศ
(ไทย)
อักษรย่อ
(ไทย)
ชื่อยศ
(อังกฤษ)
อักษรย่อ
(อังกฤษ)
ชื่อยศ
(ไทย)
อักษรย่อ
(ไทย)
ชื่อยศ
(อังกฤษ)
อักษรย่อ
(อังกฤษ)
1. ชั้นสัญญาบัตร2. ชั้นประทวน
1.1 จอมพลเรือ-Admiral of the Fleet-2.1 พันจ่าเอกพ.จ.อ.Chief Petty Officer First ClassCPO1
1.2 พลเรือเอกพล.ร.อ.AdmiralADM2.2 พันจ่าโทพ.จ.ท.Chief Petty Officer Second ClassCPO2
1.3 พลเรือโทพล.ร.ท.Vice AdmiralVADM2.3 พันจ่าตรีพ.จ.ต.Chief Petty Officer Third ClassCPO3
1.4 พลเรือตรีพล.ร.ต.Rear AdmiralRADM2.4 จ่าเอกจ.อ.Petty Officer First ClassPO1
1.5 นาวาเอก (พิเศษ)น.อ. (พิเศษ)Special CaptainSPEC CAPT2.5 จ่าโทจ.ท.Petty Officer Second ClassPO2
1.6 นาวาเอกน.อ.CaptainCAPT2.6 จ่าตรีจ.ต.Petty Officer Third ClassPO3
1.7 นาวาโทน.ท.CommanderCDR3. ทหารกองประจำการ
1.8 นาวาตรีน.ต.Lieutenant CommanderLCDR3.1 พลทหารพลฯSeaman-
1.9 เรือเอกร.อ.LieutenantLT4. นักเรียนทหาร
1.10 เรือโทร.ท.Lieutenant Junior GradeLT JG4.1 นักเรียนนายเรือนนร.Naval Cadet-
1.11 เรือตรีร.ต.Sub LieutenantSUB LT4.2 นักเรียนจ่าทหารเรือนรจ.Naval Rating Student-

เหล่าทหาร

พรรคนาวิน (นว.) General Lineพรรคกลิน (กล.) Engineering Lineพรรคนาวิกโยธิน (นย.) Marine Corpsพรรคพิเศษ (พศ.) Staff (Special Corps)
เหล่าทหารการปืน (ป.) Gunner's Mateเหล่าทหารไฟฟ้า (ฟ.) Electrician Corpsเหล่าทหารราบ (ร.) Infantryเหล่าทหารสารบรรณ (สบ.) Yeoman (Administration)
เหล่าทหารอาวุธใต้น้ำ (ด.) Torpedoman's Mateเหล่าทหารเครื่องกล (ย.) Engine Corpsเหล่าทหารปืนใหญ่ (ป.) Artilleryเหล่าทหารพลาธิการ (พธ.) Supply Corps
เหล่าทหารสามัญ (ส.) Quartermaster and Coxswainเหล่าทหารช่าง (ช.) Corps of Engineerเหล่าทหารการเงิน (กง.) Finance Corps
เหล่าทหารสัญญาณ (ญ.) Signal Corpsเหล่าทหารสื่อสาร (สส.) Signal Corpsเหล่าทหารพระธรรมนูญ (ธน.) Judge Advocate General's Corps
เหล่าทหารอุทกศาสตร์ (อศ.) Hydrographic Corpsเหล่าทหารช่างยุทธโยธา (ยย.) Civil Engineer
เหล่าทหารขนส่ง (ขส.) Transportation Corpsเหล่าทหารวิทยาศาสตร์ (วศ.) Science Corps
เหล่าทหารสรรพาวุธ (สพ.) Ordnance Corpsเหล่าทหารดุริยางค์ (ดย.) Band
เหล่าทหารอุตุนิยมวิทยา (อ.) Meteorological Corpsเหล่าทหารแพทย์ (พ.) Medical Corps
เหล่าทหารสารวัตร (สห.) Military Police Corps
เหล่าทหารการข่าว (ขว.) Intelligence Corps