การกุเหตุความจำเสื่อม

ในจิตวิทยาหรือจิตเวชศาสตร์ การกุเหตุความจำเสื่อม[1] (อังกฤษ: confabulation มากจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า "การเล่าเรื่อง"[2]) เป็นความปั่นป่วนของความจำที่ปรากฏโดยคำพูดหรือการกระทำที่ไม่ตรงกับประวัติ ภูมิหลัง หรือสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยที่ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลอกลวง[3] การกุเหตุความจำเสื่อมต่างจากการโกหกเพราะไม่มีเจตนาที่จะหลอกลวง และบุคคลนั้นไม่รู้ว่า ข้อมูลของตนนั้นไม่ตรงกับความจริง[4] แม้ว่า บุคคลนั้นอาจจะแสดงเนื้อความที่ปรากฏอย่างโต้ง ๆ ว่าไม่จริง แต่ว่า เรื่องที่กุขึ้นบางครั้งอาจจะเชื่อมโยงกัน สอดคล้องกัน และไม่มีอะไรแปลก[4] บุคคลที่กุความขึ้นอาจจะมีความจำที่ไม่ถูกต้อง "เริ่มตั้งแต่เป็นความเพี้ยนไปเพียงเล็กน้อย จนถึงเป็นเรื่องกุที่แปลกประหลาด"[5] และมักจะมั่นใจถึงความจำของตน แม้ว่าจะมีหลักฐานที่ขัดแยังกัน[6] เหตุที่ปรากฏของการกุโดยมากมาจากความเสียหายในสมองหรือภาวะสมองเสื่อม เช่นที่เกิดจากโรคพิษสุรา[7] (alcoholism) จากหลอดเลือดโป่งพอง หรือจากโรคอัลไซเมอร์

ใกล้เคียง

การกุเหตุความจำเสื่อม การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) การรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การสุขาภิบาล การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การบุกครองโปแลนด์ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก การคุมกำเนิด การุณ โหสกุล