ประวัติ ของ การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอันทันสมัย เริ่มต้นขึ้นในแผนพัฒนาห้าปีระยะแรก (ค.ศ. 1962–66) ซึ่งประกอบด้วยโครงการสร้างทางรถไฟ 275 กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินสายเล็ก ๆ[2] การก่อสร้าง ทางด่วนคย็องปู ซึ่งเชื่อมระหว่างโซลกับปูซานนั้น เสร็จสิ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1970

คริสต์ทศวรรษ 1970 มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น แผนพัฒนาห้าปีระยะที่ 3 (ค.ศ. 1972–76) ได้แก่ โครงการท่าอากาศยาน, ท่าเรือ มีการสร้างรถไฟใต้ดินในโซล โครงข่ายทางหลวงได้ขยายเพิ่มขึ้น 487 กิโลเมตร มีเมืองท่าที่สำคัญได้แก่ โพฮัง, อุลซัน, มาซัน, อินช็อน และปูซาน[2]

โครงข่ายรถไฟพัฒนามากขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งมีการติดตั้งการรับไฟฟ้า โดยรถไฟในเส้นทางหลักจะมีความเร็วมากกว่าเส้นทางอื่น ๆ แม้ว่ารถไฟในสมัยนั้นจะมีประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้ามากกว่า แต่จำนวนผู้โดยสารยังคงมากขึ้น ส่วนโครงข่ายในปี ค.ศ. 1988 มีระยะทางรวม 51,000 กิโลเมตร และทางด่วนที่เชื่อมระหว่างนครใหญ่ ๆ มีระยะทางรวม 1,539 กิโลเมตร

ใกล้เคียง

การขนส่งในประเทศไทย การขนส่งระบบรางในประเทศไทย การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศฮังการี การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง การขนส่งระบบรางในประเทศญี่ปุ่น การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ http://flyasiana.com/ http://chkin.flyasiana.com/English/Fly2007/Content... http://kojects.com/2012/01/28/maglev-at-incheon-in... http://www.koreanair.com/ http://www.koreanair.com/local/kr/gd/eng/au/ci/eng... http://www.nationmaster.com/graph/tra_mer_mar_shi_... http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/ http://www.airport.kr/notice/NoticeView.iia?functi... http://www.airport.kr/notice/NoticeView.iia?functi... http://www.airport.co.kr/eng/dba/airport/gimpo/