ผลกระทบ ของ การข่มขืนกระทำชำเรา

หลังถูกข่มขืนกระทำชำเราเป็นเรื่องปกติสำหรับเหยื่อที่จะประสบกับความเครียด และบางครั้งก็คาดเดาไม่ได้ ความรู้สึกอ่อนไหวมาก และพวกเขาอาจจะพบว่ายากที่จะจัดการกับความทรงจำของพวกเขาต่อเหตุการณ์ ผู้ถูกกระทำอาจรู้สึกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการขู่บังคับและอาจพบความยากลำบากในการดำเนินชีวิตปกติ ไม่มีสมาธิ รูปแบบการนอนและการรับประทานเปลี่ยนไป เช่น อาจรู้สึกดีในการอยู่ที่ขอบตึก ในหลายเดือนต่อมาหลังเกิดเหตุการณ์ ปัญหาเหล่านี้จะรุนแรงขึ้น เศร้าสลดมากขึ้น และอาจทำให้ผู้ประสบเหตุการณ์ไม่บอกเล่าเหตุการณ์เหล่านี้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัว ไม่ไปแจ้งความกับตำรวจหรือมองหาการให้คำปรึกษา นี่อาจมีผลต่ออาการเครียดอย่างรุนแรงและควบคุมไม่ได้ (Acute Stress Disorder) ซึ่งมีอาการดังนี้

    • รู้สึกชา และถูกตัดขาด เหมือนอยู่ในภวังค์หรือความฝัน หรือรู้สึกว่าโลกนี้เปลี่ยนไปและไม่เป็นความจริง
    • ยากที่จะจำเหตุการณ์ส่วนสำคัญของการขู่บังคับได้
    • ผ่อนบรรเทาความรู้สึกแย่ๆได้โดยการคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในความทรงจำอันนั้น
    • หลีกเลี่ยงสิ่งของ สถานที่ ความคิด ความรู้สึก ที่จะเตือนถึงการขู่บังคับวันนั้น
    • เครียดกังวลเพิ่มสูงขึ้น หรือถูกรุกเร้าได้ง่าย (นอนหลับยาก ควบคุมสมาธิยาก ฯลฯ)
    • หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตในสังคม หรือสถานที่เกิดเหตุ

มันสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย (Post-Traumatic Stress Disorder หรือ PTSD) อย่างไรก็ดีขณะที่ผลกระทบของฝันร้ายอาจจะแย่มาก และอาจส่งผลกระทบต่อผู้รอดมาได้ในการใช้กำหนดชีวิต มันยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจำว่าการตอบสนองของผู้รอดชีวิตเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลและแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละคน

ในปี 1972 แอน วอล์เบิร์ท เบอร์เก็สส์ และลินดา ลีทเทิ่ล โฮลสตอร์ม ได้ทำการศึกษาของผลการตอบสนองต่อการข่มขืนกระทำชำเรา พวกเขาสัมภาษณ์เหยื่อที่ได้ให้คำปรึกษาแล้วจากห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเมืองบอสตันและพบว่ามีรูปแบบของปฏิกิริยาตอบสนองที่เขาเรียกว่า อาการบาดเจ็บของการข่มขืนกระทำชำเรา พวกเขาอธิบายว่า มี 2 องค์ประกอบที่สำคัญคือระยะล่อแหลม (Acute) และระยะปรับตัวใหม่ (Reorganization)

ระหว่างระยะล่อแหลมผู้รอดชีวิตจะพบกับความช็อกและไม่เชื่อ รู้สึกตัวแข็ง หรืออาจจะพยายามงดติดต่อกับผู้อื่น และมองว่าตัวพวกเขาเอง คือ “พวกคนที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา” เขาจะรู้สึกอับอาย สับสน สกปรก สำนึกผิด กับการขู่เข็ญที่ได้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ข่มขืนกระทำชำเราเป็นคนรู้จัก ความฝันที่เลวร้ายนี้ ทำให้ความวิตกกังวลถึงขีดสุด บ่อยครั้งมีภาพหวนซ้ำๆและความพยายามอย่างแข็งแกร่งที่จะหยุดติดต่อกับอารมณ์ของตัวเอง เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น และนั่นคือ “การปฏิเสธ” พยายามที่จะทำให้ตนเองเชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง ถ้าการข่มขืนกระทำชำเราเป็นไปโดยคนรู้จัก เหยื่ออาจจะพยายามปกป้องผู้กระทำการ

เหยื่ออาจจะตอบสนองการข่มขืนกระทำชำเราในทางที่แสดงออกหรือในทางควบคุม ในทางที่แสดงออกจะปรากฏภายนอกอย่างชัดเจน เช่น ร้องไห้, สั่น, โกรธ, ความเครียด, การประชดประชัน, การหัวเราะอิหลักอิเหลื่อ, ความไม่ผ่อนคลาย ในแบบควบคุม จะปรากฏคือเหยื่อเงียบ ขรึม และพยายามไล่เลียงเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ แม้เมื่อเผชิญหน้ากับความสับสนภายในตัวที่รุนแรง ไม่มีการกำหนดว่าต้องเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่เกิดกับเหยื่อ ทุกๆคน จะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่โศกสับสนสุดขีด แตกต่างกันไป

หลังระยะล่อแหลม ระยะปรับตัวใหม่จะเกิดขึ้น และผู้รอดชีวิตพยายามที่จะสร้างโลกใบใหม่ที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยรู้จัก ระยะนี้จะอยู่ไปเป็นเดือนๆหรือเป็นปีๆหลังการขู่บังคับ และแม้ว่า เขาจะมีความพยายามอย่างมากที่สุดในระยะนี้มันก็จะผ่านไปด้วยความรู้สึกของผิด ละอาย กลัว และเครียดกังวล อารมณ์ต่างๆ อย่างเช่น โกรธ วิตกกังวล การหักล้างกัน และ การสูญเสีย (ความมั่นคง) จะปรากฏขึ้น การพัฒนาการในการไร้ความสามารถที่จะ เชื่อ มักจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดตามมาหลังการข่มขืนกระทำชำเรา ความสูญเสียนี้ ในความต้องการขั้นพื้นฐาน สามารถที่จะทำลายชีวิตของผู้ถูกข่มขืนกระทำชำเราให้พังราบเลยทีเดียว ทำให้พวกเขารู้สึกไร้กำลัง และไม่สามารถควบคุมร่างกายมนุษย์ของตนได้ เขาอาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งสามารถทำให้ความเครียดวิตกกังวลสูงขึ้นเช่นเดียวกับความยากลำบากในการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เหยื่ออาจจะพยายามที่จะกลับไปสู่การตอบสนองที่ธรรมดาตามรูปแบบสังคม (เช่น มีการหมั้นหมาย) แต่ก็จะพบว่า ตัวของเขาเองไม่สามารถทำได้ และความพยายามที่จะ “ปั้น” ตัวเขาขึ้นใหม่ในความสัมพันธ์อาจต้องถูกยกเลิกไปเพราะการขาดความเชื่อมั่น

ผู้รอดชีวิตมักจะแยกตัวอยู่ตามลำพังจากกลุ่มคนที่สนับสนุนเขา อาจเป็นทางร่างกายหรือทางอารมณ์ความรู้สึก ผู้รอดชีวิตอาจจะรู้สึกแปลกแยกจากเพื่อนเนื่องจากมุมมองที่เกี่ยวเนื่องกับประสบการณ์ส่วนตัว การกระจัดกระจายไปของความเชื่อ ทำให้มีผลต่อความสัมพันธ์เชิงลึก เพราะผู้รอดชีวิตมักจะมีความสงสัยที่เพิ่มขึ้นต่อแรงจูงใจและความรู้สึกของผู้อื่น

อีกขอบข่ายหนึ่งของการค้นคว้า อ้างถึง ”การเป็นเหยื่อครั้งที่สอง” นั่นคือการที่ตำรวจและแพทย์ สอบสวนและปฏิบัติกับเขาอย่างทำลายจิตใจ และมีข้อสงสัย

การข่มขู่ทางเพศสามารถมีผลกระทบต่อคนๆ นั้นตลอดไป เปลี่ยนเขาให้เป็นคนที่อยู่ในระยะยุ่งเหยิงตลอดเวลา ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดผลลัพธ์ออกมาอาจเป็นการฆ่าตัวตาย

การโทษผู้เสียหาย

“การฟ้องผิดของตัวเหยื่อเอง” เป็นสิ่งที่ยึดเหยื่อไว้กับอาชญากรรม อาจจะหมายถึงว่าทั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้น เหยื่อต้องรับผิดชอบ ในบริบทของการข่มขืนกระทำชำเรา ความคิดนี้อ้างถึงทฤษฎี “โลกที่ยุติธรรม” (Just World Theory) และเป็นความคิดที่นิยมมากว่าพฤติกรรมของเหยื่อคนนั้น (เช่นชอบหว่านเสน่ห์, หรือใส่เสื้อผ้าที่เปิดเผย) อาจทำให้เกิดการข่มขืนกระทำชำเราขึ้น ในกรณีที่มากที่สุด เหยื่ออาจบอกว่า “เรียกร้องมากเหลือเกิน” เพียงแค่ไม่ได้ประพฤติตัวเรียบร้อยเป็นผ้าพับไว้เท่านั้น ในประเทศแถบตะวันตก การป้องกัน ”การเปิดเผย” ไม่ถูกยอมรับว่าจะทำให้การข่มขืนกระทำชำเราผ่อนคลายลง การสำรวจทั่วโลกพบว่าทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางเพศที่มีในคุยกันรอบโลกเพื่อการวิจัยด้านสุขภาพ (Global Forum for Health Research) แสดงว่าทฤษฎีเรื่องการโทษตัวเองของเหยื่ออย่างน้อยก็ได้รับการยอมรับในประเทศต่างๆ มากมาย ในบางประเทศ การที่เหยื่อโทษตัวเองยิ่งเป็นสิ่งธรรมดากว่า และผู้หญิงที่ถูกข่มขืนกระทำชำเราก็จะถูกลงความเห็นว่าประพฤติตัวไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่หลายประเทศมีการรณรงค์ทางการเมืองและสร้างสื่อโฆษณาเพื่อกำจัดเรื่องราวของการข่มขืนกระทำชำเรา (ทัศนคติและความเชื่อยุยงที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงทางเพศ) การยืนกรานอย่างแข็งขัน แต่หลายๆ ความคิดเห็นก็ยังคงโต้แย้งว่าต้องมีผู้หญิงบางคน ที่ชอบกามวิปริตและการหลอกลวง

ใกล้เคียง

การข่มขืนกระทำชำเรา การข่มขืนสตรีชาวซาบีน การข่มเหงรังแก การข่มขืนกระทำชำเราแฟน การข่มขืนที่นานกิง การข่มขู่ การข่มข้ามคู่ การข่มเหงรังแกในโรงเรียน การข่มขืนพรอสเซอร์พินา การแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การข่มขืนกระทำชำเรา http://www.abs.gov.au/ausstats/abs@.nsf/mf/4523.0 http://books.google.ca/books?id=6KZfQ6cSVHoC&pg=PA... http://www.emedicine.com/article/topic806120.htm http://books.google.com/?id=QkFfYfEO5IgC&pg=PA370 http://ea.grolier.com/cgi-bin/article?assetid=0328... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=E960... http://zeenews.india.com/news/uttar-pradesh/rape-v... http://www.merriam-webster.com/dictionary/rape%5B3... http://dictionary.reference.com/browse/rape http://legal-dictionary.thefreedictionary.com/rape