การค้าเครื่องเทศ
การค้าเครื่องเทศ

การค้าเครื่องเทศ

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งการค้าเครื่องเทศ คือกิจการทางการพาณิชย์ที่มีต้นตอมาแต่ยุคโบราณที่เป็นการค้าขายสินค้าที่รวมทั้งเครื่องเทศ, สมุนไพร และฝิ่น[1] การวิวัฒนาการของวัฒนธรรมของเอเชียบางส่วนก็มีอิทธิพลมาจากการค้าขายเครื่องเทศ จากนั้นก็ตามด้วยโลกกรีก-โรมันที่ใช้เส้นทางสายเครื่องหอม[2] และเส้นทางสายโรมัน-อินเดียเป็นเส้นทางการค้ามายังตะวันออก[3] เส้นทางสายโรมัน-อินเดียวิวัฒนาการมาจากเทคนิคที่ใช้โดยมหาอำนาจทางการค้าของราชอาณาจักรอัคซูม (ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช-จนถึง ค.ศ. 1000 กว่า ๆ) ที่เป็นการริเริ่มการใช้เส้นทางในทะเลแดงมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัคซูมแบ่งปันความรู้ในการใช้ลมมรสุมในการเดินเรือกับชาวโรมัน (ราว 30-10 ปีก่อนคริสตกาล) และรักษาสัมพันธ์ภาพระหว่างกันอย่างปรองดองมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่ออิสลามเรืองอำนาจขึ้น ก็ปิดเส้นทางการค้าทางทะเล และหันมาใช้ขบวนคาราวานในการขนส่งทางบกไปยังอียิปต์และซุเอซ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดความสัมพันธ์ทางการค้าโดยตรงระหว่างยุโรปไปยังอัคซูมและอินเดีย และในที่สุดพ่อค้าอาหรับก็ยึดการขนส่งสินค้าเข้ามาอยู่ในมือของตนเอง โดยการขนส่งสินค้าเข้าทางบริเวณเลแวนต์ไปให้แก่พ่อค้าเวนิสในยุโรปยุโรป การขนส่งด้วยวิธีนี้มายุติลงเมื่อออตโตมันเติร์กมาปิดเส้นทางอีกครั้งในปี ค.ศ. 1453 หลังจากที่ตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกเส้นทางข้ามทวีปช่วยส่งเสริมการค้าขายพอประมาณ แต่เส้นทางการค้าทางทะเลเป็นตัวที่ทำให้กิจการนี้ขยายตัวขึ้นอย่างเป็นทวีคูณ[1] ระหว่างยุคกลางตอนกลางกับตอนปลาย พ่อค้ามุสลิมมีอิทธิพลเหนือกว่าผู้ใดในการควบคุมเส้นทางค้าทางทะเลไปยังมหาสมุทรอินเดีย ในการขนส่งติดต่อกับศูนย์การค้าเครื่องเทศในอินเดีย เพื่อนำสินค้ามายังทางอ่าวเปอร์เซียและทะเลแดง จากนั้นก็ขนถ่ายทางบกข้ามทวีปต่อไปยังยุโรปสถานภาพของการค้าขายมาเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดยชาวยุโรประหว่างยุคแห่งการสำรวจ[4] ในช่วงนั้นการค้าขายเครื่องเทศการเป็นกิจการอันสำคัญที่สุดของนักการค้าขายแลกเปลี่ยนชาวยุโรป[5] เส้นทางจากยุโรปไปยังมหาสมุทรอินเดียโดยการเดินทางรอบแหลมกู๊ดโฮปที่เริ่มขึ้นโดยนักเดินเรือชาวยุโรป เช่น วัชกู ดา กามา มีผลในการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการค้าเดิมมาเป็นเส้นทางทางทะเลใหม่[6]การค้าเครื่องเทศมีผลผลักดันเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่ยุคกลางมาจนถึงยุคใหม่[5] และเป็นปัจจัยประการหนึ่งในการกระตุ้นประเทศในยุโรปเข้าสู่สมัยจักรวรรดินิยมของยุโรปในโลกตะวันออก[6] เส้นทางเช่นอ่าวเบงกอลเป็นสะพานเชื่อมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการพาณิชย์ระหว่างชาติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง[4]เมื่อแต่ละชาติต่างก็พยายามต่อสู้แย่งชิงกันในการมีอิทธิพลต่อการควบคุมเส้นทางการค้าเครื่องเทศสายต่าง ๆ[1] ในระยะแรกอิทธิพลของยุโรปในการควบคุมการค้าเครื่องเทศก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า เส้นทางการค้าของโปรตุเกสก็เป็นเส้นทางที่จำกัดและยากต่อการเดินทาง แต่ต่อมาเมื่อดัตช์ก็สามารถเลี่ยงปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้โดยการเดินทางติดต่อโดยตรงทางมหาสมุทรจากแหลมกู๊ดโฮปไปยังช่องแคบซุนดาในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการทำให้สถานะการณ์เปลี่ยนไปและเป็นการเพิ่มบทบาทของพ่อค้าชาวตะวันตกในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นความต้องการทางการตลาดของเครื่องเทศก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมาลดลงเมื่อมีการประดิษฐ์เครื่องทำความเย็น ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19

ใกล้เคียง

การค้าประเวณี การค้าประเวณีเด็ก การค้นหาแบบทวิภาค การค้าประเวณีในประเทศไทย การค้าเครื่องเทศ การค้นหาแบบเอสตาร์ การค้าระหว่างประเทศ การค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง การค้นหาในแนวกว้าง การค้นหาในแนวลึกแบบวนเพิ่มความลึก