การฉ้อฉลแบบพอนซี
การฉ้อฉลแบบพอนซี

การฉ้อฉลแบบพอนซี

กลเม็ดพอนซี หรือ ธุรกิจพอนซี หรือ การฉ้อฉลแบบพอนซี (อังกฤษ: Ponzi scheme) เป็นปฏิบัติการลงทุนแบบฉ้อฉลที่ผู้ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือเป็นองค์กร จ่ายผลกำไรให้แก่นักลงทุนโดยใช้เงินลงทุนใหม่จากนักลงทุนใหม่ แทนที่จะใช้ผลกำไรที่ผู้ดำเนินการลงทุนหาได้ผู้ดำเนินการวิธีนี้มักจะโน้มน้าวชักชวนผู้ลงทุนใหม่ โดยให้ผลกำไรที่สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น ๆ ในรูปแบบที่ได้ผลเร็ว ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนที่สูงหรืออย่างสม่ำเสมอโดยไม่น่าเชื่อธุรกิจพอนซีบางครั้งจะเริ่มตั้งตัวเป็นธุรกิจที่สมควรตามเหตุผล จนกระทั่งประสบความล้มเหลวที่จะได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวังแล้วธุรกิจก็จะกลายเป็นการฉ้อฉลแบบพอนซีถ้ายังดำเนินการต่อไปโดยแสดงผลตอบแทนที่ทำไม่ได้จริง ๆไม่ว่าสถานการณ์ตอนแรกจะเป็นอย่างไร การแสดงผลตอบแทนระดับสูงบังคับให้ต้องมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักลงทุนใหม่ ๆ เพื่อจะดำรงธุรกิจ[1]การฉ้อฉลเป็นแบบธุรกิจที่มีชื่อตามนายชาลส์ พอนซี่[2]ที่กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงอื้อฉาวหลังจากที่ได้ใช้เทคนิคนี้ในปี พ.ศ. 2463[3]แต่ความจริง ไอเดียนี้มีอยู่ในหนังสือนิยายมาตั้งนานแล้ว เช่น ในนิยายของชาลส์ ดิกคินส์ในปี 2387 (Martin Chuzzlewit) และในปี 2400 (Little Dorrit)[4]แต่นายพอนซี่ได้นำกลเม็ดนี้มาใช้จริง ๆ และได้เงินมามากจนเป็นผู้ที่รู้จักกันดีทั่วสหรัฐอเมริกาธุรกิจเริ่มต้นของนายพอนซี่เป็นการซื้อและขายในต่างตลาดเวลาเดียวกัน (arbitrage) ซึ่งวิมัยบัตร (IRC) ที่สามารถใช้แลกแสตมป์ได้แต่ไม่นานเท่าไรเขาก็ต้องเปลี่ยนไปใช้กลเม็ดพอนซี่โดยการเอาเงินทุนของนักลงทุนใหม่ไปจ่ายนักลงทุนเก่าและตัวเขาเอง[1]นายพอนซี่ได้โฆษณาว่า เขาสามารถให้ผลตอบแทนเป็นเท่าตัวภายใน 90 วัน จนเขาได้เงินรวมกัน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 440 ล้านบาทคิดเทียบค่าเงินปัจจุบัน) จากผู้ลงทุน 30,000 คนภายใน 7 เดือนก่อนที่ธุรกิจจะล้มเหลว แล้วต่อมาจึงถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 5 ปีในฐานะฉ้อฉลผ่านไปรษณีย์ในประเทศไทย แชร์แม่ชม้อยเป็นรูปแบบหนึ่งของกลเม็ดพอนซี่[5]โดยทำเป็นสัญญากู้ยืมเพื่อลงทุนในแชร์น้ำมันส่วนการฉ้อฉลแบบพอนซี่ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลกคือ "คดีอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์"[6][7]ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อดีตประธานตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ นายเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ ทำธุรกิจฉ้อฉลกับลูกค้า 4,800 รายโดยเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินคดีประเมินขนาดการฉ้อฉลว่าประมาณ 64,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,317,215 ล้านบาทต้นปี 2559)[6]แต่ที่อดีตประธานขององค์กรตรวจสอบและควบคุมของรัฐผู้หนึ่งประเมินว่า การฉ้อฉลจริง ๆ อยู่ที่ระหว่าง 10,000-17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 359,846 - 611,739 ล้านบาท) โดยไม่รวมเอารายได้ที่ไม่มีจริง ๆ ที่บันทึกใส่บัญชีของลูกค้า[8]

ใกล้เคียง

การฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศไทย การฉ้อฉลแบบพอนซี การฉ้อโกงบัตรเครดิต การฉ้อโกงบิตคอยน์บนทวิตเตอร์ พ.ศ. 2563 การฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศมาเลเซีย การฉ้อราษฎร์บังหลวง การฉ้อฉล การค้าประเวณี การจ้างงาน การล้อมเลนินกราด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การฉ้อฉลแบบพอนซี http://www.amazon.com/Political-Sticky-Wicket-Unto... http://books.google.com/books?id=7NeZeQ6qHq4C&pg=P... http://books.google.com/books?id=EiIMJ83qRCIC&pg=P... http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=7... http://www.haaretz.com/hasen/spages/1069457.html http://www.mijiki.com/what-is-a-ponzi-scheme.html http://online.wsj.com/article/SB123685693449906551... http://www.cftc.gov/ConsumerProtection/FraudAwaren... http://bookstore.gpo.gov/marketplace/39527 http://www.sec.gov/answers/ponzi.htm