การฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศไทย

ส่วนร่วมของธุรกิจกับรัฐบาลส่งผลให้มีการให้สินบนอย่างกว้างขวางในหลายภาคส่วนทั่วประเทศ การให้สินบนและการขัดกันของผลประโยชน์พบบ่อยทั้งภาคเอกชนและรัฐ การเมืองเงินในประเทศไทยเกิดจากจำนวนส่วนร่วมระหว่างภาคธุรกิจและการเมืองสูง แม้มีกฎหมายต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ระบบข้าราชการประจำของไทยไม่มีประสิทธิภาพในการใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดทำการสำรวจในหมู่นักธุรกิจที่ติดต่อกับข้าราชการผู้ตัดสินมอบสัมปทาน กว่าร้อยละ 25 เป็นค่าเฉลี่ยของค่าสินบนที่จ่ายเพื่อให้ได้สัญญาจากหน่วยงานของรัฐ การสำรวจเดียวกันยังแสดงว่านักธุรกิจร้อยละ 78 ที่สำรวจยอมรับว่าต้องจ่าย "ค่าธรรมเนียม" ซึ่งพวกเขาเล่าวว่าดูเหมือนเพิ่มขึ้นในช่วงปีหลัง นักธุรกิจบางคนอ้างว่าอัตราที่ข้าราชการบางคนคิดค่าสัญญานั้นสูงถึงร้อยละ 40[1]การฉ้อราษฎร์บังหลวงตำรวจก็มีแพร่หลาย ในปี 2559 มีหลายคดีที่ตำรวจถูกตั้งข้อหาลักพาตัว คุกคามทางเพศ โจรกรรมและการกระทำมิชอบ ทางการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจและพิพากษาลงโทษฐานฉ้อราษฎร์บังหลวง ค้ายาเสพติด การลักลอบนำเข้าหรือส่งออก และการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในปี 2558 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ตั้ง "พิพิธภัณฑ์กลโกงแห่งชาติ" ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นักวิจารณ์บางคนวิจารณ์ว่าพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวเน้น "การกระทำรับสินบนฉาวโฉ่ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล" 10 อย่าง แต่ไม่มีกล่าวถึงกองทัพหรือธุรกิจ[2]

ใกล้เคียง

การฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศไทย การฉ้อฉลแบบพอนซี การฉ้อโกงบัตรเครดิต การฉ้อโกงบิตคอยน์บนทวิตเตอร์ พ.ศ. 2563 การฉ้อราษฎร์บังหลวงในประเทศมาเลเซีย การฉ้อราษฎร์บังหลวง การฉ้อฉล การค้าประเวณี การจ้างงาน การล้อมเลนินกราด