การดวลลูกโทษ_(ฟุตบอล)
การดวลลูกโทษ_(ฟุตบอล)

การดวลลูกโทษ_(ฟุตบอล)

การดวลลูกโทษ (อังกฤษ: Penalty shoot-out) คือการยิงประตูจากจุดโทษ เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1970 ในกติกาฟุตบอล เป็นวิธีการตัดสินวิธีสุดท้ายเพื่อให้ทีมใดทีมหนึ่งผ่านเข้าสู่รอบถัดไปในการแข่งขันฟุตบอล (หรือตัดสินผู้ชนะการแข่งขัน) ในเกมแพ้คัดออก หากมีการเสมอกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ การดวลจุดโทษมีความแตกต่างจากการยิงลูกโทษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นในการแข่งขัน โดยการดวลลูกโทษจะเริ่มต้นโดยผู้ยิงฝ่ายละ 5 คน สลับกันยิงลูกโทษ โดยถ้าไม่สามารถตัดสินกันได้ให้มีการยิงต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะโดยการดวลลูกโทษที่ยาวนานที่สุด ได้รับการบันทึกไว้เป็นสถิติโลก เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2005 ในการแข่งขันรายการนามิเบียนคัพ ของประเทศนามิเบีย ซึ่งเป็นการแข่งขันกันระหว่าง เคเคพาเลส กับ เดอะซีวิก ผลปรากฏว่าเคเคพาเลสเอาชนะไปได้ 17–16 ซึ่งเท่ากับว่าทั้งสองสโมสรยิงจุดโทษพลาดกันถึงคนละ 15 ครั้งเลยทีเดียว[1]ในกลางปี ค.ศ. 2017 สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (UFA) ได้ทดลองการใช้การยิงจุดโทษตัดสินแบบใหม่ เรียกว่า "เอบีบีเอ" (ABBA) โดยให้ผู้เล่นจากสโมสรแรกยิงไปก่อน จากนั้นผู้เล่นของอีกสโมสรจะทำการยิงติดต่อกันได้ถึง 2 คน จากนั้นจึงย้ายกลับมาเป็นสโมสรแรกอีก 2 คน และสลับกันสโมสรละ 2 คนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีผู้ชนะ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับการเล่นไทเบรกในกีฬาเทนนิส โดยยูฟ่าได้นำเอาวิธีการแบบนี้มาทดลองใช้ครั้งแรกในฟุตบอลอังกฤษ คือ การแข่งขันคอมมิวนิตีชีลด์ 2017 ก่อนเปิดพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2017–18 ระหว่าง อาร์เซนอล แชมป์เอฟเอคัพ กับ เชลซี แชมป์พรีเมียร์ลีก ผลการแข่งขันปรากฏว่า อาร์เซนอลเป็นฝ่ายชนะไป 4–1 หลังจากการแข่งขันในเวลาปกติ (และรวมทดเวลาบาดเจ็บไปอีก 5 นาที) เสมอกันที่ 1–1 โดยทางยูฟ่าอ้างเรื่องผลการศึกษาพบว่า สโมสรแรกที่ยิงเข้านั้นจะมีโอกาสชนะมากถึงร้อยละ 60 ดังนั้นจึงเปลี่ยนใหม่ให้การแข่งขันมีลุ้นและตื่นเต้นกว่าเดิม แต่ทว่าก็มีเสียงวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม บ้างก็อ้างว่าไม่สนุก ไม่ทำให้ได้ลุ้นกันจริง[2] [3]

ใกล้เคียง

การดวลลูกโทษ การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร การควบคุมอารมณ์ตนเอง การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การสวรรคตและพิธีฝังพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร การวิเคราะห์อภิมาน การดูแลและหาเพื่อน