การดูแลภายใต้ความเครียด ของ การดูแลและหาเพื่อน

พฤติกรรมตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์เพศหญิงที่เพิ่มการรอดชีวิตของลูกจะทำให้ค่าความเหมาะสมของสัตว์สูงขึ้น และดังนั้น เป็นพฤติกรรมที่มีโอกาสตกทอดไปสู่ลูกผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ[1]เมื่อมีภัย การป้องกันและปลอบลูกในขณะที่หนีหายเข้าไปในสิ่งแวดล้อมอาจเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของทั้งแม่และลูกเมื่อเผชิญหน้ากับความเครียด หญิงมักตอบสนองโดยดูแลลูก ซึ่งช่วยลดระดับความเครียดงานศึกษาปี 2532 แสดงว่า ในวันที่งานเครียดมาก หญิงจะตอบสนองโดยดูแลลูกเพิ่มขึ้น[7]และโดยเปรียบเทียบกัน พ่อมีโอกาสไม่ยุ่งกับครอบครัวหรือว่าหาเรื่องกับสมาชิกในบ้านมากขึ้นในเย็นวันนั้นนอกจากนั้นแล้ว การถูกต้องทางกายระหว่างแม่กับลูกหลังเหตุการณ์ที่เป็นภัย จะช่วยลดการทำงานของสมองบริเวณแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียด) และลดความตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติก (ซึ่งโดยทั่วไปเป็นส่วนให้เกิดการตอบสนองโดยสู้หรือหนี)[8]

ฮอร์โมนออกซิโทซินที่ร่างกายปล่อยตอบสนองต่อตัวก่อความเครียดอาจเป็นกลไกการตอบสนองของหญิงโดยดูแลลูกงานศึกษาในแกะตัวเมียแสดงว่า การให้ฮอร์โมนออกซิโทซินจะเสริมพฤติกรรมความเป็นแม่[9]การให้นมลูกในมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับการปล่อยออกซิโทซิน เป็นการปลอบใจทั้งแม่และทารกโดยมีผลต่อสรีรภาพ[1]

การเลี้ยงลูกร่วมกัน

การดูแลและผูกมิตรเป็นกลยุทธ์แบบปรับตัวที่จำเป็น เพื่อช่วยเพิ่มความสำเร็จทางการสืบพันธ์ของหญิงในสัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกัน (cooperative breeders)สัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกันเป็นสัตว์อยู่เป็นกลุ่มที่คนช่วยดูแลผู้ไม่ใช่มารดาเป็นสิ่งจำเป็นให้ทารกและเด็กรอดชีวิต[10]สัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกันรวมทั้งหมาป่า ช้าง สัตว์อันดับวานรที่ไม่ใช่มนุษย์หลายพันธุ์ และมนุษย์ในบรรดาสัตว์อันดับวานรและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก กระบวนการทางต่อมไร้ท่อและระบบประสาททำให้หญิงดูแลทารก แม้ที่ไม่ใช่ญาติ หลังจากได้รับสัญญาณต่าง ๆ จากทารกเป็นเวลานานพอ[11]หมาป่าตัวเมียที่ไม่ใช่แม่และหมาที่ไม่ได้เลียงบางครั้งจะเริ่มมีนมเพื่อช่วยเลี้ยงลูกของหมาตัวเมียที่เป็นแม่ฝูง

มนุษย์เกิดมาช่วยตนเองไม่ได้ จำเป็นต้องได้การเลี้ยงดูจากพ่อแม่ โตช้า และอาศัยการดูแลของพ่อแม่จนถึงวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ และบ่อยครั้งนานกว่านั้น[11]ในช่วงวิวัฒนาการของมนุษย์โดยมาก มนุษย์ได้หาอาหารแบบนักล่า-เก็บของป่าในบรรดาชุมชนนักล่า-เก็บของป่าที่ไม่ใช้วิธีการคุมกำเนิดปัจจุบัน หญิงจะมีความเท่าเทียมกันสูง และมักจะคลอดลูกประมาณทุก ๆ 4 ปีในช่วงวัยเจริญพันธุ์[11]และเมื่อคลอดลูก บ่อยครั้งจะมีลูกหลายคนต้องดูแล ผู้ต้องอาศัยผู้ใหญ่เพื่ออาหารและที่อยู่อย่างน้อย 18 ปีหรือมากกว่านั้นกลยุทธ์การสืบพันธุ์เช่นนี้จะวิวัฒนาการขึ้นมาไม่ได้ถ้าหญิงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นพี่เลี้ยง (คือผู้ช่วยที่ไม่ใช่แม่ของเด็ก) ป้องกัน ให้อาหาร อุ้ม และดูแลเด็ก[11]ซึ่งอาจจะเป็นป้า ลุง พ่อ ย่ายาย พี่น้อง และหญิงอื่น ๆ ในชุมชน

แม้แต่ในสังคมตะวันตกปัจจุบัน พ่อแม่บ่อยครั้งต้องอาศัยญาติ เพื่อน หรือพี่เลี้ยงเด็กเพื่อช่วยดูเด็กในปี 2552 มีนักวิชาการที่อ้างว่า การช่วยกันเลี้ยงลูกในมนุษย์อาจเป็นเหตุให้เกิดวิวัฒนาการการปรับตัวทางจิตใจให้ชอบเข้าสังคมมากขึ้น ปรับการรู้จำทางสังคม (social cognition) ปรับสมรรถภาพการรู้คิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งความสมัครใจเพื่อแชร์ความรู้สึกในใจ และการมีจุดประสงค์ร่วมกัน[10]กระบวนการทางการรู้คิดที่ชอบสังคมที่เกิดจากการเลี้ยงลูกร่วมกันอาจนำให้เกิดวัฒนธรรมและภาษา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การดูแลและหาเพื่อน http://www.naturalhistorymag.com http://psychologytoday.com/articles/pto-20000901-0... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10941275 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11129359 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11301523 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3901065 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3905939 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8713972 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9167498 http://apps.who.int/gho/data/node.main.688?lang=en