มูลฐานทางชีวภาพ ของ การดูแลและหาเพื่อน

ตามทฤษฎี Polyvagal Theory ของ ดร. สตีเฟ็น พอร์จส ระบบประสาทสังคม (Social Nervous System) เป็นวงจรประสาทที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความผูกพัน (affiliation) โดยเฉพาะเมื่อตอบสนองต่อความเครียด[2]ระบบนี้ควบคุมพฤติกรรมการเข้าหาทางสังคม (social approach behavior)ตัวการทางชีวภาพที่ควบคุมระบบนี้ดูเหมือนจะเป็นฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin)[3]

ออกซิโทซินสัมพันธ์กับความสัมพันธ์และกิจกรรมทางสังคมมากมายหลายหลาก รวมทั้งการผูกมิตรในกลุ่มเพื่อน กิจกรรมทางเพศ และการเลือกคบกับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ[3]มนุษย์จะปล่อยออกซิโทซินตอบสนองต่อตัวก่อเครียดมากมาย โดยเฉพาะต่อตัวที่อาจจุดชนวนให้สร้างความผูกพันกับคนอื่นฮอร์โมนเป็นตัวโปรโหมตพฤติกรรมสร้างความผูกพัน รวมทั้ง การที่แม่ดูแลลูก และการผูกมิตรกับเพื่อน[4]และการสร้างความผูกพันภายใต้ความเครียดอย่างหนึ่งก็คือดูแล รวมทั้งป้องกันลูก

การสร้างความผูกพันอาจอยู่ในรูปแบบของการผูกมิตร ซึ่งก็คือหาคนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันลูก และป้องกันกลุ่มสังคมของตนการตอบสนองทางสังคมต่อภัยเหล่านี้ช่วยลดการตอบสนองทางชีวภาพต่อความเครียด รวมทั้ง ลดอัตราหัวใจเต้น ความดันโลหิต และการทำงานของกลุ่มประสาทแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (HPA) เช่นลดการหลั่งฮอร์โมนความเครียดคือคอร์ติซอล[5]

หญิงมีโอกาสตอบสนองต่อความเครียดโดยดูแลและผูกมิตรมากกว่าชายและฮอร์โมนหญิงคือเอสโตรเจนจะเพิ่มผลของออกซิโทซิน ซึ่งเข้ากับความแตกต่างระหว่างเพศของพฤติกรรมนี้เทียบกับฮอร์โมนเพศชายคือแอนโดรเจนที่ยับยั้งการปล่อยออกซิโทซิน[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การดูแลและหาเพื่อน http://www.naturalhistorymag.com http://psychologytoday.com/articles/pto-20000901-0... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10941275 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11129359 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11301523 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3901065 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3905939 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8713972 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9167498 http://apps.who.int/gho/data/node.main.688?lang=en