การตอบสนองโดยสู้หรือหนี
การตอบสนองโดยสู้หรือหนี

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี หรือ การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (อังกฤษ: fight-or-flight response, hyperarousal, acute stress response) เป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เสี่ยงต่อถูกทำร้าย หรือเสี่ยงต่อชีวิต[1]โดยมี ศ. นพ. วอลเตอร์ แบรดฟอร์ด แคนนอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวถึงไอเดียนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2472[2]ทฤษฎีของเขาแสดงว่า สัตว์ (และมนุษย์) มีปฏิกิริยาต่อภัยด้วยการทำงานในระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งช่วยเตรียมสัตว์ให้สู้หรือหนี[3]โดยเฉพาะก็คือ สมองส่วน adrenal medulla ซึ่งเป็นส่วนของต่อมหมวกไตจะสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ทางฮอร์โมนมีผลเป็นการหลั่งสารประกอบอินทรีย์แบบโมโนอะมีนคือ catecholamines โดยเฉพาะนอร์เอพิเนฟรินและอีพิเนฟริน (คือ อะดรีนาลีน)[4]นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงหลักคือเอสโตรเจน ฮอร์โมนเพศชายหลักคือเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อเครียดคือคอร์ติซอล กับทั้งสารสื่อประสาทโดพามีนและเซโรโทนิน ก็ยังมีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์อีกด้วย[5]การตอบสนองเช่นนี้รู้แล้วว่าเป็นระยะแรกของกลุ่มอาการปรับตัวทั่วไป (General Adaptation Syndrome) ที่ควบคุมการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์มีกระดูกสันหลังและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ[6]

ใกล้เคียง

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี การตอบสนองเหตุตกใจ การตอบสนองของพืช การตอบของคอสแซ็กซาปอริฌเฌีย การตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการก่อภูมิคุ้มกัน การตอบสนองโดยดูแลและผูกมิตร การตอบสนองต่อการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ การตอบสนองของก้านสมองต่อเสียง การตั้งชื่อทวินาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตอบสนองโดยสู้หรือหนี http://www.huffingtonpost.com/2013/04/19/adrenalin... http://psychcentral.com/blog/archives/2012/12/04/w... http://stresscourse.tripod.com/id11.html http://bbh.hhdev.psu.edu/labs/bbhsl/PDF%20files/ta... http://learn.genetics.utah.edu/content/begin/cells... http://faculty.washington.edu/chudler/auto.html http://faculty.weber.edu/molpin/healthclasses/1110... http://neuromuscular.wustl.edu/pathol/diagrams/gly... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2901125 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12909458