สรีรวิทยา ของ การตั้งครรภ์

ลำดับเหตุการณ์การตั้งครรภ์ตามอายุครรภ์

การเริ่มต้น

ดูเพิ่มเติมที่: การปฏิสนธิของมนุษย์
การปฏิสนธิและการฝังตัวในมนุษย์

เหตุการณ์ที่ใช้กำหนดการเริ่มตั้งครรภ์ที่ใช้มากที่สุดคือวันแรกของระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายของหญิงนั้น และอายุทารกในครรภ์ที่เรียก อายุครรภ์ ทางเลือกนี้เป็นผลจากไม่มีวิธีที่สะดวกในการรับรู้เวลาที่ไข่ที่ปฏิสนธิฝังตัวในผนังมดลูก ในกรณีการปฏิสนธินอกกาย อายุครรภ์คำนวณได้จากวันที่ดึงเซลล์ไข่ออกมา + 14 วัน[12]

ร่างกายหญิงยังผ่านการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมการปฏิสนธิที่กำลังเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มระยะมีประจำเดือนก่อนแล้ว รวมถึงการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนกระตุ้นถุงน้อย (follicle stimulating hormone) ซึ่งกระตุ้นการสร้างถุงน้อย และการสร้างเซลล์ไข่ตามลำดับ เพื่อให้ได้เซลล์ไข่ที่เจริญเต็มที่ หรือคือเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง การปฏิสนธิคือเหตุการณ์ที่เซลล์ไข่รวมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย คือ ตัวอสุจิ หลังจุดปฏิสนธิ ผลิตภัณฑ์ของเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงและชายที่รวมกันเรียก ไซโกตหรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว การรวมเซลล์สืบพันธุ์เพศชายและหญิงปกติเกิดขึ้นหลังการร่วมเพศ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการตั้งครรภ์เกิดเอง แต่ยังเกิดได้จากเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เช่น การใส่เชื้ออสุจิเทียมและการปฏิสนธินอกกาย ซึ่งอาจทำโดยเป็นทางเลือกสมัครใจหรือเนื่องจากเป็นหมัน

บ้างใช้เหตุการณ์ปฏิสนธิเป็นเครื่องหมายเริ่มต้นการตั้งครรภ์ ซึ่งอายุที่ได้เรียก อายุการปฏิสนธิ (fertilization age) และเป็นทางเลือกของอายุครรภ์ ปกติการปฏิสนธิเกิดราวสองสัปดาห์ก่อนระยะมีประจำเดือนที่คาดหมายครั้งถัดไปของหญิงนั้น หรือหากไม่ทราบวันในกรณีปัจเจก ที่ใช้บ่อยคือบวก 14 วันเข้ากับอายุการปฏิสนธิเพื่อหาอายุครรภ์ และกลับกัน

การพัฒนาการของตัวอ่อนและทารกในครรภ์

ดูบทความหลักที่: Prenatal development, Human embryogenesis และ Fetus
ขั้นตอนการเริ่มต้นของมนุษย์ในรูปเอ็มบริโอ(human embryogenesis)

เมื่ออสุจิและเซลล์ไข่ถูกเข้ามามาในรังไข่ ข้างใดข้างหนึ่งของผู้หญิงแล้ว เมื่อรวมกันแล้วในท่อรังไข่ ไข่ที่เรารู้จักกันจะอยู่ในรูปของ zygote จะเดินทางเคลื่อนตัวไปยังมดลูก เป็นการเดินทางที่ใช้เวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์กว่าจะสมบูรณ์ เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวภายใน 24 ถึง 36 ชั่วโมงหลังจากที่อสุจิและไข่มารวมกัน. เซลล์แบ่งตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่รวดเร็วและเซลล์ที่พัฒนาที่เรารู้กันในรูปตัวอ่อน(blastocyst). ตัวอ่อนนี้จะมาถึงมดลูกและฝังตัวยึดติดกับผนังมดลูก ขั้นตอนนี้เราเรียกว่า การฝังตัว(implantation)

การพัฒนาของเซลล์ที่จะกลายมาเป็นทารกเรียกว่า embryogenesis ในช่วงแรกจะอยู่ใน10 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ในช่วงเวลานี้, เซลล์จะเริ่มแยกระบบต่างๆ ของร่างกาย มีการสร้างพื้นฐานของอวัยวะ, ร่างกายและระบบประสาท. ในช่วงท้ายของตัวอ่อนนั้นจะเริ่มมีมือ,ตา,ปากและหูเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ในช่วงเวลานี้ มีการพัฒนาโครงสร้างที่สำคัญที่จะใช้ดูแลตัวเอ็มบริโอ, รวมทั้ง รก(placenta)และ สายสะดือ(umbilical cord) รกนั้นจะเชื่อมกับผนังมดลูกเพื่อให้ตัวเอ็มบริโอได้ดูดซึมอาหาร รวมถึงการกำจัดของเสีย และแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านทางเลือดของแม่ สายสะดือ คือสายเชื่อมต่อระหว่างรกกับตัวเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์

หลังจากอายุครรรภ์ 10 สัปดาห์, เอ็มบริโอได้กลายเป็นทารกแทนแล้วนั้น นี่คือจุดเริ่มต้นทารกในครรภ์, ความเสี่ยงในการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนดจะลดลงอย่างรวดเร็ว,[13] เมื่อเติบโตจากเอ็มบริโอเป็นทารกจะมีขนาดความยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร(1.2 นิ้ว) , เรามองเห็นหัวใจทารกจากการอัลตราซาวนด์ ดูความเคลื่อนไหว และพัฒนาการต่างๆในระหว่างการตั้งครรภ์ของทารก, รวมไปถึงระบบของร่างกายและโครงสร้างในช่วงต้นที่ตัวอ่อนพัฒนาเป็นทารก. อวัยวะเพศจะเริ่มปรากฏขึ้นในเดือนที่ 3 ของของการตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ยังคงเติบโตทั้งน้ำหนักและขนาดตัว, แม้ว่าการเติบโตทางกายนั้นหลักๆจะอยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์

การทำงานของสมอง มีการตรวจพบได้ในระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ 5 และ สัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์, แม้ว่านี่จะเป็นการพิจารณาแบบดั่งเดิมเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทเป็นจุดกำเนิดของระบบความคิด เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนามากต่อไปของการตั้งครรภ์ ระบบประสาทเริ่มต้นที่สัปดาห์ที่ 17 , และไปสัปดาห์ที่ 28 ระบบประสาทจะเริ่มพัฒนาทวีคูณไปจนถึง 3-4 เดือนหลังจากทารกเกิด[14]

  • เอ็มบริโอ 4 สัปดาห์หลังจากปฏิสนธิ[15]
  • ทารกในครรภ์ 8 สัปดาห์หลังจากปฏิสนธิ[16]
  • ทารกในครรภ์ at 18 สัปดาห์หลังจากปฏิสนธิ[17]
  • ทารกในครรภ์ at 38 สัปดาห์หลังจากปฏิสนธิ[18]
  • ความสัมพันธ์ขนาดครรภ์ 1 เดือน (ภาพอย่างง่าย)
  • ความสัมพันธ์ขนาดครรภ์ 3 เดือน (ภาพอย่างง่าย)
  • ความสัมพันธ์ขนาดครรภ์ 5 เดือน (ภาพอย่างง่าย)
  • ความสัมพันธ์ขนาดครรภ์ 9 เดือน (ภาพอย่างง่าย)

การเปลี่ยนแปลงของมารดา

ดูบทความหลักที่: Maternal physiological changes in pregnancy
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมของผู้หญิงในระหว่างตั้งครรภ์ ลานนมจะมีขนาดใหญ่และสีคล้ำขึ้น

ในระหว่างตั้งครรภ์ผู้หญิงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา(physiological) มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงหัวใจและหลอดเลือด(cardiovascular) , โลหิตวิทยา(hematologic), ระบบการเผาผลาญ(metabolic), ไต(renal) และระบบทางเดินหายใจ(respiratory) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สำคัญอย่างมากในกรณีที่มีภาวะโรคแทรกซ้อน ร่างกายจะต้องเปลี่ยนทั้งสรีระวิทยาและร่างกายจะต้องรักษาความสมดุลกลไกของร่างกายไว้ให้คงที่เพื่อเตรียมไว้ให้ทารกระหว่างตั้งครรภ์ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด, การหายใจและระดับการเต้นของหัวใจ ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ มีการระงับการทำงานของแกนการประสานงานระบบประสาท(hypothalamic axis) และการมาของรอบประจำเดือน

ทารกเมื่อยู่ในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์แล้วจะดูเหมือนเป็นการปลูกถ่ายสิ่งมีชีวิต(allograft) ได้เสร็จสมบูรณ์แต่ก็ดูเหมือนเป็นสิ่งผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์,เพราะมีความแตกต่างทางพันธุ์กรรมจากผู้หญิง.[19] เหตุผลหลักๆ ก็คือ เมื่อการตั้งครรภ์สำเร็จแล้วระบบภูมิคุ้มกันของแม่จะมีความทนทานมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้นมากในการตั้งครรภ์นี้อาจจะทำให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดความรุนแรงของโรคติดเชื่อ(infectious diseases)บางชนิด

การตั้งครรภ์จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง หรือ 3 ไตรมาส, ในแต่ละไตรมาสเวลาประมาณ 3 เดือน .[20][21] สูตินรีแพทย์กำหนดแต่ละไตรมาสเป็นเวลา 14 สัปดาห์,รวมทั้งหมด 42 สัปดาห์,แม้ว่าเฉลี่ยเวลาตั้งครรภ์จริงจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ก็ตาม[22] ไม่มีกฏที่เคร่งครัดอะไรกับอาการที่แตกต่างออกไปจากนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอธิบายในโอกาสต่อไป

ไตรมาสแรก

มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดตามระยะเวลาการตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส

Minute ventilation จะเพิ่มขึ้น 40% ในไตรมาสแรก.[23] ครรภ์จะโตขึ้นเท่าลูกมะนาวในช่วง 8 สัปดาห์ อาการและลำบากของการตั้งครรภ์หลายๆ อย่างจะปรากฏขึ้นในไตรมาสแรก(symptoms and discomforts of pregnancy) ซึ่งจะอธิบายในส่วนต่อมา[24]

ไตรมาสที่สอง

ในตอนปลายของไตรมาสที่สอง,มดลูกขยายจนเห็นได้ชัดจนเห็น"เด็กดิ้น". แม้ว่าหน้าอกจะได้รับการพัฒนาตั้งแต่แรกของการตั้งครรภ์ แต่ความเปลี่ยนแปลงจะปรากฏชัดในไตรมาสนี้

สัปดาห์ที่ 13 ถึง 28 ของการตั้งครรภ์จะเรียกว่าไตรมาส 2 ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มชีวิตชีวาในช่วงนี้, อาการวิงเวียนในตอนเช้าและอาการเจ็บป่วยจะค่อยๆ จางหายไป เมื่อมีทารกแล้วมดลูกสามารถโตได้ถึง 20 เท่าจากขนาดปกติในระหว่างตั้งครรภ์

แม้ว่าทารกเริ่มจะมีการเคลื่อนไหวและใช้เวลากับการสร้างอวัยวะต่างๆของร่างกายในช่วงไตรมาสแรก ในไตรมาสที่สองทารกจะเริ่มมีเคลื่อนไหวที่เรียกได้ว่า "รวดเร็วขึ้น", จนรู้สึกได้ ซึ่งมักจะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในเดือนที่สี่, และรู้สึกมากขึ้นเป็นพิเศษในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ถึง 21หรือหญิงที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนจะรู้สึกได้ในสัปดาห์ที่ 19 แต่มันก็เป็นเรื่องธรรมดาที่หญิงตั้งครรภ์บางคนจะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกจนกระทั่งเวลาผ่านมา ในช่วงไตรมาสที่ 2, หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเริ่มสวมชุดคลุมท้อง

ไตรมาสที่สาม

มดลูกขยายจนมีขนาดใหญ่และท้องของผู้หญิงก็ใหญ่ขึ้นมาก.ดูจากภาพด้านซ้ายจะแสดงขนาดของแต่ละเดือน, ส่วนภาพด้านขวาจะแสดงให้เห็นช่วง 4 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์มดลูกจะลดต่ำลง

น้ำหนักที่จะขึ้นในไตรมาสสุดท้ายนี้ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ขึ้นมากที่สุดในตลอดการตั้งครรภ์. ท้องของหญิงตั้งครรภ์เริ่มลดเนื่องมาจากทารกเริ่มเคลื่อนต่ำลงตำแหน่งที่พร้อมสำหรับการเกิด ในช่วงไตรมาสที่สอง, ช่องท้องของหญิงตั้งครรภ์จะอยู่ในสภาพที่ตั้งออกมามาก แต่ในช่วงไตรมาสที่สามจะเคลื่อนตัวลงมาค่อนข้างต่ำ และท้องผู้หญิงสามารถสามารถยกขึ้นและลงได้ ทารกในครรภ์สามารถเคลื่อนไหวย้ายไปมาได้จนแม่รู้สึกได้ การเคลื่อนไหวของทารกที่แข็งแรงรวดเร็วจนทำให้เกิดความเจ็บปวดกับหญิงตั้งครรภ์ได้ สะดือ(navel)ของหญิงตั้งครรภ์อาจจะนูนขึ้นได้เนื่องจากการขยายช่องท้อง(abdomen)ของเธอ

ส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะ(Head engagement) ของทารกในครรภ์นำศีรษะลง(cephalic presentation), การหายใจจะช่วยบรรเทาความดันของช่องท้องส่วนบนได้ นอกจากนี้ยังบรรเทาความรุนแรงของกระเพาะปัสสวะที่มีขนาดเล็กลง และเพิ่มความดันในอุ้งเชิงกรานและทวารหนัก

ในช่วงไตรมาสที่สาม กิจกรรมและตำแหน่งการนอนของมารดาอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อันเนื่องมาจากระบบการหมุนเวียนของเลือดมีพื้นที่จำกัด ตัวอย่างเช่น มดลูกในครรภ์ที่มีการขยายตัวขึ้นมีผลการไหลเวียนของโลหิตโดยมีการบีบการทำงานของหลอดเลือดดำ(vena cava)ลดต่ำลง, โดยการนอนตะแคงตำแหน่งด้านซ้ายปรากฏว่าสามารถให้ออกซิเจนสู่ทารกได้ดีกว่า.[25]

ระยะเวลา

ระยะห่างของช่วงเวลาที่สำคัญของการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับวันเริ่มต้น

การวัดจะอ้างจากกลุ่ม(reference group)ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีรอบของประจำเดือน(menstrual cycle) 28 วัน และเป็นวันเริ่มทางธรรมชาติในการคลอดบุตร ความหมายคือ ช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์จะอยู่ช่วงประมาณ 283.4 วันของอายุครรภ์(gestational age) โดยเริ่มการนับคือวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย(last menstrual period) ที่จะต้องจดจำได้โดยแม่, และ 280.6 วันโดยการประมาณการอายุครรภ์จากการวัดเวลาอัลตราซาวนด์การคลอดบุตร(obstetric ultrasound)ของเส้นผ่าศูนย์กลางความยาวของกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ (fetal biparietal diameter ย่อว่า BPD) ในไตรมาสที่สอง[26] ส่วนขั้นตอนวิธีการอื่นนั้นต้องคำนึงถึงตัวแปรที่มีความหลากหลายอื่นๆ เช่น เป็นลูกคนแรกหรือเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ (เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่เป็น ผู้ที่คลอดบุตร/ตั้งครรภ์ครั้งแรก(primipara) หรือผู้ที่คลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง/ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง(multipara) เชื้อชาติของ, อายุ, ระยะของรอบเดือนและความสม่ำเสมอของมารดา) แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็ไม่ค่อยได้ใช้ในสำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อให้มีสิ่งอ้างอิงถึงมาตรฐาน ระยะเวลาของการตั้งครรภ์โดยปกติทั่วไปคือ 280 วัน (หรือ 40 สัปดาห์) ของอายุครรภ์

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) คือ 8-9 วันเป็นวันที่ครบรอบการคำนวณเป็นวิธีการที่ถูกต้องที่สุด ความหมายก็คือ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของการเกิด เกิดในวันที่ครบ 40 สัปดาห์ของอายุครรภ์ มีร้อยละ 50 เกิดภายในสัปดาห์ของช่วงระยะเวลานี้ และประมาณร้อยละ 80 ภายใน 2 สัปดาห์[26] เป็นการประมาณของวันที่ครบกำหนดคลอด,แอปพลิเคชันที่อยู่บนมือถือ(mobile apps) มีความสอดคล้องกับการประมาณการแบบอื่นๆ และมีความถูกต้องกับปีอธิกสุรทิน(leap year คือวันที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) ในขณะที่วงล้อตั้งครรภ์ที่ทำจากกระดาษสามารถแตกต่างจากกันโดย 7 วันและมักจะไม่ถูกต้องนักสำหรับปีอธิกสุรทิน [27]

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะใช้กฏ Naegele's rule กันมาก(กฏนี้มักจะใช้กับผู้ที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอและไม่ได้คุมกำเนิด) ซึ่งได้รับการพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 19. การคำนวณวันครบกำหนดคาดมาจากวันแรกของรอบระยะเวลาที่ผ่านมาปกติประจำเดือน (LMP ย่อมากจาก Last menstrual period[ช่วงที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย] หรือ LNMP ย่อมาจาก Last normal menstrual period[ช่วงที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายปกติ]) โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยที่รู้กันโดยอาจจะคลาดเคลื่อน เช่น ความสั้นยาวของรอบของประจำเดือน การตั้งครรภ์ปกติโดยมากจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ ตามวิธีการ LNMP-based method เช่น สมมติว่าผู้หญิงมีความยาวรอบประจำเดือนตามที่คาดการณ์ไว้ 28 วันและการรตั้งครรภ์จะอยู่ในวันที่ 14 ของรอบนั้น

การวัดจากการนับวันที่ไข่ตกนั้น(ovulation) การเกิดโดยเฉลี่ยจะประเมินให้เป็น 268 วัน (38 สัปดาห์กับอีก 2 วัน), มีค่าสัมประสิทธิ์(coefficient of variation)ของการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 3.7%.[28]

ความแม่นยำของวันที่ในการตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญมาก, เพราะมันจะถูกนำมาใช้ในการคำนวณผลของการทดสอบการคลอดต่างๆ (prenatal tests), (ตัวอย่างคือผล triple test ซึ่งเป็นการตรวจเลือดสตรีตั้งครรภ์เพื่อตรวจกรองภาวะทารกผิดปกติ) ซึ่งมีผล(induce)กับการที่ต้องตัดสินใจในกระบวนการคลอด ถ้าทารกเลยกำหนดเวลาตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ถ้าเปรียบเทียบประจำเดือนครั้งสุดท้ายและการอัลตร้าซาวด์ผลของการครบกำหนดช้าเร็วของอายุครรภ์ต่างกัน นั่นอาจหมายความว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้าผิดปกติจึงต้องมีการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด

ขั้นตอนข้อกำหนดทางกฎหมายของการตั้งครรภ์กำหนดได้ว่าหากมีการเริ่มต้นตั้งแต่ทารกเจริญเติบโตในครรภ์(fetal viability) ซึ่งมีความแตกต่างกันทั่วโลก บางครั้งก็รวมไปถึงน้ำหนักและทั้งอายุครรภ์.[29] นอร์เวย์เริ่มที่ครรภ์ 16 สัปดาห์,อเมริกาและออสเตรเลียเริ่มที่ 20 สัปดาห์,อังกฤษเริ่มที่ครรภ์ 24 สัปดาห์และอิตาลีกับสเปนเริ่มที่ 26 สัปดาห์.[29][30][31]

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกที่อายุครรภ์เกินกำหนด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: Preterm birth และ Postterm pregnancy

การตั้งครรภ์ที่ถือว่า "ครบกำหนด" หมายถึงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์จึงจะถือว่าสมบูรณ์ (ซึ่งจะถือว่าอยู่ในช่วงจากสัปดาห์ที่ 37 ไปสัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์), แต่น้อยกว่า 42 สัปดาห์ของอายุครรภ์ (การเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 42 ไปยังสัปดาห์ที่ 43 ของการตั้งครรภ์ หรือระหว่าง 259 ถึง 294 วันนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย) วิทยาลัยสูตินารีแพทย์ในสหรัฐอเมริกา(American College of Obstetricians and Gynecologists)ได้แนะนำช่วงระยะของการตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น[32]

  • ระยะแรก(Early Term): ช่วงระหว่าง 37 สัปดาห์ 0 วันและ 38 สัปดาห์ 6 วันของอายุครรภ์(gestational age)
  • ระยะครบกำหนด(Full Term): ช่วงระหว่าง 39 สัปดาห์ 0 วันและ 40 สัปดาห์ 6 วัน ของอายุครรภ์
  • ระยะตอนปลาย(Late Term): ช่วงระหว่าง 41 สัปดาห์ 0 วันและ 41 สัปดาห์ 6 วันของอายุครรภ์

เหตุการณ์ที่จะพิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด(preterm) ที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์(359 วัน) และเหตุการณ์ที่จะพิจารณาให้คลอดเมื่ออายุครรภ์เกินกำหนด(postterm)ก็คือ เมื่ออายุครรภ์เกินจาก 42 สัปดาห์(294 วัน)[32][33] เมื่อการมีตั้งครรภ์เกินกว่า 42 สัปดาห์ (294 วัน) มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เพิ่มขึ้น.[34][35] ดังนั้นการตั้งครรภ์ที่ไม่ซับซ้อน, สูตินารีแพทย์มักจะกำหนดเวลาให้คลอด(induce labour) ในช่วงสัปดาห์ที่ 41 ถึง 42[36][37]

การคลอดก่อน 39 สัปดาห์โดยการผ่าตัดนั้น(Caesarean section), แม้จะพิจารณาแล้วถือว่า "ครบกำหนด" ผลของมันก็คือการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตของทารกก่อนที่ทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ เมื่อไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์จริงๆ.[38] เพราะว่านี่จะเป็นปัจจัยที่รวมไปถึงจะทำให้ปอดของทารกทำงานไม่เต็มที่, มีการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทารกยังไม่แข็งแรง, ปัญหาในการให้อาหารเนื่องจากสมองทารกพัฒนาการช้า, และโรคดีซ่าน(jaundice) ที่ทำให้เด็กตัวเหลือง ตาเหลืองเนื่องจากตับยังไม่สามารถพัฒนาหรือทำงานได้อย่างเต็มที่ บางโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยหนัก(neonatal intensive care unit)ที่เป็นทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญ หญิงตั้งครรภ์เมื่อถึงเวลาที่ครบกำหนดคลอดแล้วเพื่อความสะดวกและที่จะลดขั้นตอนเหตุผลต่างๆที่ไม่ได้มาจากแพทย์.[39] ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดมาจากการผ่าคลอดซึ่งจะพบได้บ่อยในอัตราการเกิด

เมื่อไม่นานมานี้วงการการแพทย์มีงานวิจัยที่ให้ความสำคัญกับคำศัพท์เฉพาะในการคลอดก่อนกำหนด(preterm) และ การคลอดอายุครรภ์เกิดกำหนด(postterm) ทารกยังโตไม่เต็มที่(premature) และ ทารกคลอดเกินกำหนด(postmature). การคลอดก่อนกำหนดและการคลอดเมื่ออายุครรภ์เกิดกำหนดมีความชัดเจนดังที่กล่าวไว้ด้านบน, ในภาวะที่ทารกยังโตไม่เต็มที่และทารกที่คลอดก่อนกำหนดแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ความสัมพันธ์อย่างมากกับขนาดทารกและขั้นตอนการเจริญเติบโตในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์[40][41]

การคลอดบุตร

ดูบทความหลักที่: Childbirth

การคลอดบุตรคือ กระบวนการที่ทารกกำลังจะถือกำเนิดขึ้น

ผู้หญิงเมื่อพิจารณาว่าจะคลอดเมื่อเธอรู้สึกได้ว่ามดลูกได้บีบตัว ซึ่งอาการนี้จะมาพร้อมกับปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง(ปากมดลูกเปิด) – แรกเริ่มปากมดลูกบางลงและเปิดขยายออก ขณะที่คลอดบุตรถือเป็นประสบการณ์อย่างที่รู้กันดีว่าเป็นความเจ็บปวด แต่หญิงตั้งครรภ์บางคนก็มีรายงานว่าไม่เจ็บปวด ในขณะที่บางคนก็พยายามจะช่วยหาทาเร่งเพื่อจะได้คลอดเร็วขึ้นและลดความรู้สึกตื่นเต้น การเกิดส่วนใหญ่จะเกิดจากการคลอดธรรมชาติที่ทารกออกมาจากปากมดลูก แต่บางครั้งในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนและหญิงตั้งครรภ์เกิดความทรมานจนทำให้เกิดการผ่าตัดคลอด(cesarean section)

ในช่วงเวลาทันทีหลังจากคลอด, ทั้งแม่ละลูกฮอร์โมนมีความเกี่ยวพันกัน แม่หลั่งสารฮอร์โมน(oxytocin เป็นฮอร์โมนออกฤทธิ์ที่มดลูกซึ่งช่วยให้มดลูกหดตัวและกระตุ้นการเกิดน้ำนม), ฮอร์โมนนี้ก็ยังจะถูกสร้างอยู่เรื่อยๆ เมื่ออยู่ในระหว่างให้นมบุตร(breastfeeding) จากผลการศึกษาว่าการสัมผัสกันทางผิวหนังระหว่างแม่และลูกน้อยแรกเกิดของเธอทันทีนั้นจะเกิดประโยชน์กับทั้งแม่และลูกน้อย การตรวจสอบจากองค์การอนามัยโลก(World Health Organization) การกอดหรือการสัมผัสจากมารดาหลังคลอดจะช่วยลดอาการที่ทารกแรกเกิดร้องไห้ได้, จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแม่และทารกให้ดีขึ้น และช่วยแม่ให้นมลูกได้สำเร็จ พวกเค้าแนะนำเกี่ยวกับเด็กแรกเกิด(neonates) ว่าควรจะอนุญาตให้แม่อยู่กับลูกครั้งแรกสองชั่วโมงหลังจากคลอดเพื่อให้เกิดความผูกพัน ในช่วงเวลานี้ทั้งแม่และทารกน้อยมีแนวโน้มที่จะช่วยเพิ่มความพร้อมในช่วงเวลาต่อจากนี้ไปของทารก[42]

ช่วงเวลาหลังคลอด

ดูบทความหลักที่: Postnatal

ช่วงเวลาหลังคลอดเกิดขึ้นทันทีหลังจากทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาและขยายเวลาต่ออีกประมาณหกสัปดาห์ ช่วงเวลานี้ร่างกายของแม่จะเริ่มกลับไปเหมือนกับช่วงก่อนคลอดรวมไปถึงฮอร์โมนและการเปลี่ยนแปลงขนาดของมดลูกอีกด้วย

ใกล้เคียง

การตั้งชื่อทวินาม การตั้งครรภ์ การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน การตั้งชื่อระบบไบเออร์ การตัดหลอดนำอสุจิ การตั้งชื่อดาวฤกษ์ การตัดมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การตัดศีรษะ การตักบาตร

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตั้งครรภ์ http://www.aihw.gov.au/WorkArea/DownloadAsset.aspx... http://books.google.ca/books?id=-3ufSTqeb6cC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=4Sg5sXyiBvkC&pg=PR... http://books.google.ca/books?id=m7USFu5Z0lQC&pg=PA... http://www.preventioninstitute.sk.ca/home/Program_... http://www.3dpregnancy.com/pictures/pregnancy-week... http://www.3dpregnancy.com/pictures/pregnancy-week... http://www.3dpregnancy.com/pictures/pregnancy-week... http://www.3dpregnancy.com/pictures/pregnancy-week... http://www.3dpregnancy.com/rotatable/10-weeks-preg...