ลักษณะทั่วไปของพายุหมุนเขตร้อน ของ การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลนที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะยังไม่เคยปรากฏว่ามีพายุหมุนเขตร้อนเกิดที่เส้นศูนย์สูตรพายุนี้เกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเลที่มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 26 หรือ 27 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีปริมาณไอน้ำสูง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มักเคลื่อนตัวตามกระแสลมส่วนใหญ่จากทิศตะวันออกมาทางทิศตะวันตก และค่อยโค้งขึ้นไปทางละติจูดสูง แล้วเวียนโค้งกลับไปทางทิศตะวันออกอีก พายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้หลายแห่งในโลก และมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่

  • มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 180 องศา เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม ถึงตุลาคม เป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนมากที่สุด
  • มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม
  • มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
  • มหาสมุทรอินเดียเหนือ เรียกว่า "ไซโคลน"
  • มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย เรียกว่า "ไซโคลน" เกิดมากในเดือนธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์

พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด

ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้

  • พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป
สถาบันที่ตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน
แอ่งสถาบันที่ตั้งชื่อพื้นที่รับผิดชอบ
ซีกโลกเหนือ
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก
ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา
ศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง สหรัฐอเมริกา
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, ชายฝั่งแอฟริกาถึง 140°ตะวันตก
ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 140°ตะวันตก–180°
[1]
มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
สำนักงานบริหารบริการบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ฟิลิปปินส์ (ไม่เป็นทางการ)
เส้นศูนย์สูตร–60°เหนือ, 180–100°ตะวันออก
5°เหนือ–20°เหนือ, 115°ตะวันออก–135°ตะวันออก
[2]
[3]
มหาสมุทรอินเดียเหนือกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร, 100°ตะวันออก–45°ตะวันออก[4]
ซีกโลกใต้
ใต้-ตะวันตก
มหาสมุทรอินเดีย
สำนักงานบริการอุตุนิยมวิทยามอริเชียส
สำนักงานอุตุนิยมวิทยามาดากัสการ์
เส้นศูนย์สูตร–40°ใต้, 55°ตะวันออก–90°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร–40°ใต้, ชายฝั่งแอฟริกา–55°ตะวันออก
[5]
ภูมิภาคออสเตรเลียสำนักงานอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์อินโดนีเซีย
สำนักงานบริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกีนี
สำนักอุตุนิยมวิทยาแห่งออสเตรเลีย
เส้นศูนย์สูตร–10°ใต้, 90°ตะวันออก–141°ตะวันออก
เส้นศูนย์สูตร–10°ใต้, 141°ตะวันออก–160°ตะวันออก
10°ใต้–36°ใต้, 90°ตะวันออก–160°ตะวันออก
[6]
มหาสมุทรแปซิฟิกใต้กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี
สำนักงานบริการอุตุนิยมวิทยานิวซีแลนด์
เส้นศูนย์สูตร–25°ใต้, 160°ตะวันออก–120°ตะวันตก
25°ใต้–40°ใต้, 160°ตะวันออก–120°ตะวันตก
[6]
มหาสมุทรแอตแลนติกใต้ (ไม่เป็นทางการ)ศูนย์อุทกศาสตร์ทหารเรือบราซิล (ไม่เป็นทางการ)เส้นศูนย์สูตร–35°ใต้, ชายฝั่งบราซิล–20°ตะวันตก[7]

ใกล้เคียง

การตั้งชื่อทวินาม การตั้งครรภ์ การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน การตั้งชื่อระบบไบเออร์ การตัดหลอดนำอสุจิ การตั้งชื่อดาวฤกษ์ การตัดมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การตัดศีรษะ การตักบาตร

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน http://www.bom.gov.au/cyclone/about/names.shtml http://www.meteo.fr/temps/domtom/La_Reunion/webcmr... http://meteo.bmkg.go.id/siklon/name http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/pdf/cycl... http://www.imd.gov.in/section/nhac/dynamic/RSMC-20... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/Op... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/RA... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/RA... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/TC...