การป้องกัน ของ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

มาตรการป้องกันหลากประการยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีผลต่อความถี่ในการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ เช่น การใช้ ยาคุมกำเนิด หรือ ถุงยาง, การถ่ายปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์, ประเภทของกางเกงชั้นในที่ใช้, วิธีการดูแลสุขอนามัยหลังจากการถ่ายปัสสาวะหรือ การขับถ่ายของเสีย หรือบุคคลนั้นๆ ปกติแล้วเลือกอาบน้ำโดยแช่ในอ่างหรือจากฝักบัว[1] เช่นเดียวกับกรณีของการกลั้นปัสสาวะ การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด และสวนล้างช่องคลอดซึ่งก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์เช่นกัน[9]

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้งและใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิหรือหมวกครอบปากมดลูกในการคุมกำเนิด ควรใช้วิธีอื่นแทน[4] การบริโภคแครนเบอร์รี่ (ในรูปแบบน้ำผลไม้หรือแคปซูล) อาจช่วยลดความถี่ในการติดเชื้อได้[16][17] แต่ที่ยังเป็นข้อถกเถียงอยู่คือประสิทธิผลในการต้านทานระยะยาว[16] และปัญหาต่อระบบทางเดินอาหารถึงกว่า 30%[18] การรับประทานสองครั้งต่อวันน่าจะดีกว่าวันละครั้ง[19] ตามข้อมูลจากปี 2544 ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จุลินทรีย์เพื่อสุขภาพ ในช่องคลอด เพื่อยืนยันให้แน่ชัดว่าจุลินทรีย์ดังกล่าวมีประโยชน์หรือไม่[4] การใช้ถุงยางโดยไม่ใช้ ยาฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการใช้ยาคุมกำเนิดไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับการติดเชื้อในท่อปัสสาวะแบบไม่ซับซ้อน[20]

ยาที่ใช้รักษา

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อบ่อยครั้ง การใช้ยาปฏิชีวนะทุกวันเป็นระยะเวลานานขึ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา[1]ยาที่มักจะใช้ได้แก่ nitrofurantoin และ trimethoprim/sulfamethoxazole[4]Methenamine เป็นตัวยาอีกชนิดที่นำมาใช้บ่อย เพราะในกระเพาะปัสสาวะซึ่งมีภาวะเป็นกรดต่ำนั้น ตัวยาสามารถผลิตก๊าซ formaldehyde ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดการดื้อยา[21] ในกรณีของการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ การรับประทานยาปฏิชีวนะภายหลังการมีเพศสัมพันธ์อาจช่วยได้[4] ในหมู่หญิงวัยหมดประจำเดือนพบว่าการใช้ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ในช่องคลอด เฉพาะที่ สามารถช่วยลดการติดเชื้อซ้ำ การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่องคลอดจาก วงแหวนพยุงในช่องคลอด ซึ่งไม่เหมือนกับการใช้ครีมเฉพาะจุด ไม่ก่อให้เกิดผลเท่ากับยาปฏิชีวนะปริมาณต่ำ [22] ตามข้อมูลจากปีพ.ศ. 2554 มีการพัฒนาวัคซีนขึ้นเป็นจำนวนมาก[4]

ในกลุ่มเด็ก

หลักฐานที่ว่ายาปฏิชีวนะแบบป้องกัน สามารถลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในกลุ่มเด็ก ยังมีไม่เพียงพอ[23]อย่างไรก็ตาม โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบที่เกิดขึ้นซ้ำแทบจะไม่เป็นสาเหตุของปัญหาในไต หากไม่ได้มีความผิดปกติที่ไตอยู่ก่อนหน้าแล้ว ทำให้การเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มผู้ใหญ่มีอัตราน้อยกว่า 0.33%[24]

ใกล้เคียง

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดยาเบ็นโซไดอาเซพีน การติดตามด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การติดเกม การติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดเชื้อ การติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด การติด การติดตาย การติดเชื้อทางเดินหายใจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ http://books.google.ca/books?id=2WxotnWiiWkC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=4uKsZZ4BoRUC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=AdYs-QwU8KQC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=HMzxKua4_rcC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=NvqaWHi1OTsC&pg=RA... http://books.google.ca/books?id=Q4hG2gRhy7oC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=SmtjSD1x688C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=au-OpXwnibMC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=lnXNpj5ZzKMC&pg=PA... http://www.diseasesdatabase.com/ddb13657.htm