การวินิจฉัยโรค ของ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

แบคทีเรีย บาซิลัส จำนวนมาก (แบคทีเรียรูปท่อนยาว ในรูปนี้มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วสีดำ) ปรากฏระหว่างเม็ดเลือดขาวระหว่างการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์ การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

ในกรณีที่ไม่ซับซ้อน สามารถวินิจฉัยโรคและให้การรักษา โดยอิงจากอาการที่พบเท่านั้นและไม่ต้องรอการยืนยันเพิ่มเติมจากห้องวิจัยได้ ในกรณีที่ซับซ้อนหรือน่าสงสัย การรอคำยืนยันการวินิจฉัยโรคด้วย การวิเคราะห์ค่าปัสสาวะ จาก ไนไตรทในปัสสาวะ เม็ดเลือดขาว (leukocytes) หรือ leukocyte esteraseน่าจะมีประโยชน์กว่า การทดสอบอีกวิธีหนึ่งซึ่งก็คือ การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะด้วยกล้องจุลทรรศน์ เป็นการตรวจหา เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือแบคทีเรียที่ปรากฏ การเพาะเชื้อ ปัสสาวะจะถือว่าเป็นผลบวกหากนับกลุ่มแบคทีเรียที่ขยายตัวได้มากกว่าหรือเท่ากับ 103 หน่วยที่ขยายตัวได้ ต่อหนึ่ง mL ของระบบทางเดินปัสสาวะทั่วไป ความไวต่อยาปฏิชีวนะอาจทดสอบได้ด้วยการเพาะเชื้อเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกวิธีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ผลการเพาะเชื้อมีค่าติดลบอาจมีอาการดีขึ้นได้ ด้วยการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ[1] สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว ด้วยเหตุที่ว่าอาการที่ปรากฏอาจไม่ชัดเจนและขาดการทดสอบที่เชื่อถือได้ สำหรับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การวินิจฉัยโรคจึงอาจทำได้ลำบาก[7]

การจัดประเภท

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะอาจส่งผลต่อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเท่านั้น ซึ่งเรียกว่าการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ หรืออาจส่งผลต่อทางเดินปัสสาวะส่วนบน ซึ่งเรียกว่ากรวยไตอักเสบ หากในปัสสาวะมีแบคทีเรียอยู่แต่ไม่แสดงอาการใดๆ จะเรียกลักษณะดังกล่าวว่าภาวะแบคทีเรียในปัสสาวะที่ไม่แสดงอาการ[2] หากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน และบุคคลนั้นเป็นโรคเบาหวาน ตั้งครรภ์ เป็นเพศชาย หรือ มีระบบภูมิต้านทานที่ผิดปกติ จะถือว่าเป็นกรณีที่ซับซ้อน[3][4] แต่ถ้าหากเกิดขึ้นในกลุ่มผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงและ อยู่ในช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือน จะถือว่าเป็นการติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน[3] สำหรับเด็กแล้ว หากติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและมีไข้ มักจะสันนิษฐานว่าเป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน[6]

ในกลุ่มเด็ก

เพื่อให้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในกลุ่มเด็กได้ จำเป็นจะต้องมีการเพาะเชื้อปัสสาวะที่เป็นบวก การปนเปื้อนถือเป็นประเด็นที่ท้าทายอยู่บ่อย ซึ่งขึ้นกับวิธีการในการเก็บรวบรวมปัสสาวะ ฉะนั้นการจำกัดค่าที่ 105 CFU/mL จึงถือเป็นมาตรฐานสำหรับตัวอย่างปัสสาวะส่วนกลาง ("clean-catch") 104 CFU/mL สำหรับตัวอย่างที่รวบรวมผ่านสายสวนปัสสาวะ และ 102 CFU/mL สำหรับ การเจาะเก็บตัวอย่างจากบริเวณเหนือหัวหน่าว (ตัวอย่างที่เก็บจากกระเพาะปัสสาวะโดยตรงโดยการใช้เข็มฉีดยา) องค์การอนามัยโลก ไม่แนะนำให้ใช้ "ถุงเก็บปัสสาวะ" เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่าง เนื่องจากอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนเมื่อมีการเพาะเชื้อ และการใช้สายสวนปัสสาวะเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าในเด็กที่ยังไม่เข้าห้องน้ำเองไม่ได้ บางสถาบัน เช่น สถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา แนะนำวิธี การตรวจอัลตราซาวด์ที่ไต และ voiding cystourethrogram (การตรวจเอ็กซเรย์สดเพื่อดูการทำงานของกระเพาะปัสสาวะในการขับปัสสาวะ) ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและมีอายุน้อยกว่าสองปี อย่างไรก็ดี เนื่องจากที่ขาดแคลนวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพเมื่อพบต้นปัญหา สถาบันอื่น เช่น สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ จึงแนะนำวิธีการถ่ายภาพอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น ในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนหรือที่แสดงผลการตรวจสอบที่ไม่ปกติ[6]

การวินิจฉัยแยกโรค

ในหมู่ผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรค ปากมดลูกอักเสบ (อาการอักเสบที่ปากมดลูก) หรือ ช่องคลอดอักเสบ (อาการอักเสบที่ช่องคลอด) และในหมู่ผู้ป่วยชายที่มีอาการของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ Chlamydia trachomatis หรือ Neisseria gonorrheae[2][25] โรคช่องคลอดอักเสบอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อจากยีสต์.[26] กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง (อาการปวดกระเพาะปัสสาวะอย่างเรื้อรัง) อาจเป็นกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบบ่อยครั้งแต่ผลของการเพาะเชื้อปัสสาวะเป็นลบและยาปฏิชีวนะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น[27] โรคต่อมลูกหมาก (อาการอักเสบที่ต่อมลูกหมาก) อาจนำมาเป็นสันนิษฐานหนึ่งในการวินิจฉัยโรคแยกโรคได้[28]

ใกล้เคียง

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดยาเบ็นโซไดอาเซพีน การติดตามด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การติดเกม การติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดเชื้อ การติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด การติด การติดตาย การติดเชื้อทางเดินหายใจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ http://books.google.ca/books?id=2WxotnWiiWkC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=4uKsZZ4BoRUC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=AdYs-QwU8KQC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=HMzxKua4_rcC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=NvqaWHi1OTsC&pg=RA... http://books.google.ca/books?id=Q4hG2gRhy7oC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=SmtjSD1x688C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=au-OpXwnibMC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=lnXNpj5ZzKMC&pg=PA... http://www.diseasesdatabase.com/ddb13657.htm