สาเหตุ ของ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

แบคทีเรียE. coli ถือเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะถึง 80–85% และแบคทีเรีย Staphylococcus saprophyticus ประมาณ 5–10%[1] สาเหตุจาก viral หรือ เชื้อราพบได้ไม่บ่อยนัก[8] แบคทีเรียอื่นที่อาจเป็นสาเหตุได้แก่:Klebsiella, Proteus, Pseudomonas และ Enterobacter ซึ่งพบได้ไม่บ่อยและมักจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะหรือ การสวนปัสสาวะ[4] การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเนื่องจาก Staphylococcus aureus มักจะเกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อทางเลือด[2]

เพศสัมพันธ์

ในหมู่หญิงสาววัยประจำเดือน เพศสัมพันธ์ถือเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะถึง 75–90% โดยที่ความเสี่ยงของการติดเชื้อผันแปรตามความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์[1] ดังนั้นสำหรับปรากฏการณ์ดังกล่าว จึงมีคำศัพท์เฉพาะที่บรรยายโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงแรกหลังจากการแต่งงาน คือ "กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน" ในหมู่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การมีเพศ สัมพันธ์ไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบแต่อย่างใด แต่การใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งเพียงใดก็ตาม ถือเป็นปัจจัยในการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ[1]

ผู้หญิงมักมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่าผู้ชาย เพราะท่อปัสสาวะ ของผู้หญิงนั้นสั้นกว่า และใกล้กว่าทวารมาก[9] ฉะนั้นเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนในหมู่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนลดระดับลง ความเสี่ยงที่จะได้รับการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจึงเพิ่มขึ้น เพราะร่างกายขาด แบคทีเรียที่สร้างกรดอ่อนๆ ในช่องคลอด ซึ่งปกติแล้วเป็นปัจจัยช่วยป้องกันการติดเชื้อ[9]

สายสวนปัสสาวะ

การสวนปัสสาวะ เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ อัตราความเสี่ยงของ แบคทีเรียในปัสสาวะ (ภาวะแบคทีเรียในปัสสาวะ) มีค่าอยู่ที่ 3-6% ต่อวัน และยาปฏิชีวนะป้องกันมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะช่วยลดระดับลักษณะหลักของการติดเชื้อ[9] ความเสี่ยงในการติดเชื้อที่เกิดขึ้นจะลดลงได้ หากสวนปัสสาวะเมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยใช้ เทคนิคต้านจุลินทรีย์ ในการสอดสายและคงระบบปิดในการระบายสายสวนไม่ให้มีการกีดขวาง [10][11][12]

อื่นๆ

แนวโน้มในการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะอาจมาจากพันธุกรรม ปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่โรคเบาหวาน[1] การไม่ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะ และอาการ ต่อมลูกหมากโต[2]ปัจจัยที่ซับซ้อนมักแสดงอาการให้เห็นไม่เด่นชัด และครอบคลุมถึงความผิดปกติทางสรีระ การปฏิบัติงานของร่างกาย และการเผาผลาญอาหารที่มีอยู่ก่อนแล้ว โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบที่มีความซับซ้อนนั้นรักษาได้ลำบากกว่าและมักจะต้องใช้การประเมินผล การบำบัดรักษา และการติดตามผลที่รุนแรงและเคร่งครัดกว่า[13] ในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบมักจะเชื่อมโยงกับ ภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ (การเคลื่อนตัวที่ไม่ปกติของ ปัสสาวะ จาก กระเพาะปัสสาวะ เข้าสู่ ท่อไต หรือ ไต) และ อาการท้องผูก[6]

ผู้ที่มี อาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง มีอัตราความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการใช้สายสวนปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ และอีกส่วนหนึ่งมาจากการทำงานที่ผิดปกติของ การถ่ายปัสสาวะ [14] ซึ่งเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้ และเป็นสาเหตุที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยที่สุด[14]นอกจากนั้นแล้ว การบริโภค น้ำแครนเบอร์รี่ หรืออาหารเสริมที่มีแครนเบอร์รี่เป็นส่วนประกอบ ไม่ปรากฏผลว่าช่วยป้องกันหรือบำบัดกลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้แต่อย่างใด[15]

ใกล้เคียง

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดยาเบ็นโซไดอาเซพีน การติดตามด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การติดเกม การติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดเชื้อ การติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกแรกเกิด การติด การติดตาย การติดเชื้อทางเดินหายใจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ http://books.google.ca/books?id=2WxotnWiiWkC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=4uKsZZ4BoRUC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=AdYs-QwU8KQC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=HMzxKua4_rcC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=NvqaWHi1OTsC&pg=RA... http://books.google.ca/books?id=Q4hG2gRhy7oC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=SmtjSD1x688C&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=au-OpXwnibMC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=lnXNpj5ZzKMC&pg=PA... http://www.diseasesdatabase.com/ddb13657.htm