ประวัติ ของ การถ่ายภาพจอประสาทตา

ไอเดียเรื่องการถ่ายรูปก้นตาเริ่มต้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการถ่ายรูปเริ่มขึ้นปีในปี 1839ซึ่งก็ได้กลายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 1851 จักษุแพทย์ชาวเยอรมันแฮร์มัน ฟ็อน เฮ็ล์มฮ็อลทซ์ ได้ประดิษฐ์กล่องส่องตรวจในตา (ophthalmoscope) และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ ได้เสนอวิธีการถ่ายรูปสีในปี 1861[8]

ต่อมาต้นคริสต์ทศวรรษ 1860 ชาวอเมริกัน Henry Noyes และชาวแคนาดา Abner Mulholland Rosebrugh ทั้งสองได้ประกอบกล้องถ่ายจอตาแล้วทดลองกับสัตว์แม้วิธีที่ทำดูจะมีอนาคต แต่การให้ได้ภาพจอตาของมนุษย์ซึ่งดีพอก็ยังเป็นเรื่องอีกยาวไกลเพราะการถ่ายภาพในยุคต้น ๆ ได้แสงไม่พอ ต้องเปิดรับแสงนาน มีการเคลื่อนตา และมีรีเฟล็กซ์กระจกตา (corneal reflex) ที่ทำให้ภาพไม่ชัดเจนต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษกว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้[8]

เป็นเรื่องยังไม่ยุติว่า การถ่ายภาพจอตามนุษย์สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อไรแต่โดยมากให้เครดิตกับ William Thomas Jackman และ J.D. Webster เพราะได้เผยแพร่เทคนิคการถ่ายรูปพร้อมกับรูปจอตารูปหนึ่งในวารสารสองวารสารในปี 1886[9]

มีบุคคลอื่น ๆ ที่มีบทบาทเด่นในยุคต้น ๆ ตามนักประวัติศาสตร์บางท่าน แพทย์ชาวอเมริกัน Lucien Howe และผู้ช่วย Elmer Starr อาจเป็นบุคคลแรกสุดที่ถ่ายภาพจอตามนุษย์หมอเป็นจักษุแพทย์ที่โด่งดังและได้ร่วมมือกับผู้ช่วยทำโปรเจ็กต์ถ่ายภาพจอตาระหว่างปี 1886-88หมอเรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็นภาพถ่ายจอตาแรกที่ระบุว่าเป็นภาพจอตาได้ ซึ่งเป็นการยอมรับ Jackman และ Webster ว่าเป็นบุคคลแรกที่ตีพิมพ์ภาพจอตาตามหลักฐานทางวรรณกรรม รูปของหมอกับผู้ช่วยระบุได้ชัดเจนกว่าว่าเป็นจอตา[10]

ความพยายามถ่ายภาพจอตาให้ชัดได้ดำเนินต่อไปอีก 75 ปีต่อมามีผู้ชำนาญการเป็นร้อย ๆ ที่พยายามแก้ปัญหา ซึ่งชาวออสเตรีย Friedrich Dimmer ทำสำเร็จเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เผยแพร่ภาพของตนในปี 1921แต่กล้องที่พัฒนาขึ้นในปี 1904 เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนและใช้ในงานวิจัยเท่านั้น ต้องรอจนถึงปี 1926 ที่ชาวสต็อกโฮล์ม Johan Nordenson และบริษัท Zeiss Camera Company ได้วางตลาดกล้องที่แพทย์สามารถใช้ จึงเป็นกล้องถ่ายภาพจอตาแบบปัจจุบันรุ่นแรก[11]

ตั้งแต่นั้นมา คุณสมบัติของกล้องภาพจอตาก็ดีขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการถ่ายภาพที่ไม่ต้องขยายรูม่านตา (non-mydriatic imaging) การควบคุมแสงด้วยอิเล็กทรอนิกส์ การวางแนวกล้องให้ตรงกับตาอัตโนมัติ และการถ่ายเก็บภาพดิจิตัลมีรายละเอียดสูงซึ่งล้วนทำให้การถ่ายภาพจอตากลายเป็นวิธีการมาตรฐานทางจักษุวิทยาเพื่อบันทึกอาการโรคจอตา[12]

หลังจากการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพจอตา David Alvis และ Harold Novotny ได้ถ่ายรูปจอตาร่วมกับการฉีดสี (fluorescein angiography, FFA) เป็นครั้งแรกในปี 1959 โดยใช้กล้องภ่ายภาพจอตาของบริษัท Zeiss และแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในสาขาจักษุวิทยา[13]

มีหลายประเทศที่เริ่มโปรแกรมตรวจตาระยะไกล (teleophthalmology) คือแพทย์ไม่ต้องอยู่ใกล้ ๆ กับคนไข้ อาศัยกล้องถ่ายภาพจอตาเริ่มตั้งแต่ราว ๆ ปี 2008

ใกล้เคียง

การถ่ายโอนสัญญาณ การถ่ายภาพจอประสาทตา การถ่ายเทยีน การถ่ายเทความร้อน การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน การถ่ายเลือด การถ่ายภาพเคอร์เลียน การถ่ายทอดสดผ่านสัญญาณต่อเนื่อง การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การถ่ายภาพจอประสาทตา http://www.aetna.com/cpb/medical/data/500_599/0539... http://bjo.bmj.com/content/52/2/200 http://icd9cm.chrisendres.com/index.php?srchtype=p... http://www.eyeic.com http://www.jove.com/video/51904 http://patents.justia.com/patent/5120122 http://journals.lww.com/optvissci/fulltext/2002/08... http://optometrytimes.modernmedicine.com/optometry... http://search.proquest.com/docview/822528795?accou... http://www.sukumvithospital.com/content.php?id=71