การสร้างภาพสามมิติขึ้นใหม่ ของ การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์

เนื่องจากสแกนเนอร์ CT แบบร่วมสมัยจะให้ความละเอียดแบบสม่ำเสมอดี (อังกฤษ: isotropic) หรือใกล้ isotropic, การแสดงผลของภาพจึงไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดให้ได้ภาพแกนธรรมดา. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นไปได้สำหรับโปรแกรมซอฟแวร์ในการสร้างสมุดภาพโดย "การซ้อน" แต่ละชิ้นให้อยู่ด้านบนของอีกชิ้นหนึ่ง. จากนั้นโปรแกรมจะแสดงสมุดภาพในลักษณะที่เลือกอันใดอันหนึ่ง[51].

การสร้างภาพขึ้นใหม่แบบหลายระนาบซ้อนกัน

รูปแบบหน้าจอทั่วไปสำหรับซอฟต์แวร์วินิจฉัย, แสดงภาพแบบ 3 มิติหนึ่งภาพและแบบ MPR สามภาพ

การสร้างภาพขึ้นใหม่แบบหลายระนาบซ้อนกัน (อังกฤษ: Multiplanar reconstruction (MPR)) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดของการสร้างภาพขึ้นใหม่. สมุดภาพจะถูกสร้างขึ้นโดยการซ้อนชิ้น slices ตามแนวแกน. จากนั้น ซอฟแวร์ก็จะตัดชิ้น slices ผ่านตลอดทั้งสมุดภาพในแต่ละระนาบที่แตกต่างกัน (โดยปกติจะตัดแบบตั้งฉาก). เพื่อเป็นตัวเลือก, วิธีฉายภาพพิเศษ, เช่นการฉายภาพความเข้มสูงสุด (อังกฤษ: maximum-intensity projection (MIP)) หรือการฉายภาพความเข้มต่ำสูงสุด (อังกฤษ: minimum-intensity projection (mIP/MinIP)) สามารถใช้ในการสร้างชิ้น slices ขึ้นใหม่.

MPR มักจะถูกใช้สำหรับการตรวจสอบกระดูกสันหลัง. ภาพแบบแกนผ่านลำกระดูกสันหลังจะแสดงเฉพาะกระดูกสันหลังทีละชิ้นแต่ไม่สามารถแสดงข้อระหว่างกระดูกสันหลัง (อังกฤษ: intervertebral discs) ได้อย่างชัดเจน. โดยการจัดรูปแบบใหม่ของสมุดภาพ, มันจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่จะเห็นภาพตำแหน่งของชิ้นกระดูกสันหลังอันหนึ่งที่สัมพันธ์กับอีกอันหนึ่ง.

ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย​​ช่วยให้การสร้างขึ้นใหม่ในระนาบที่ไม่ตั้งฉาก (เฉียง) เพื่อที่ว่าระนาบที่ดีที่สุดจะสามารถถูกเลือกเพื่อแสดงโครงสร้างทางกายวิภาค. วิธีนี้อาจจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการแสดงโครงสร้างของหลอดลมในขณะที่แผ่นเหล่านี้ไม่ได้อยู่ตั้งฉากกับทิศทางของการสแกน.

สำหรับการถ่ายภาพหลอดเลือด, การสร้างแผ่นโค้งขึนใหม่สามารถดำเนินการได้. วิธีนี้จะช่วยให้การโค้งในหลอดเลือดให้ "ยืดออก" เพื่อที่ว่าความยาวทั้งหมดสามารถมองเห็นได้ในภาพเดียว, หรือภาพสั้นหลายภาพต่อเนื่องกัน. เมื่อหลอดเลือดถูก "ยืดออก" ด้วยวิธีนี้, การวัดความยาวเชิงปริมาณและพื้นที่หน้าตัดของมันสามารถทำได้, เพื่อที่ว่าการรักษาด้วยผ่าตัดหรือการใช้มาตรการแทรกแซงสามารถวางแผนได้.

การสร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธี MIP จะใช้ประโยชน์ของพื้นที่ความเข้มรังสีสูง, และเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาหลอดเลือด. การสร้างขึ้นใหม่ด้วยวิธี MIP มีแนวโน้มที่จะใช้ประโยชน์ช่องว่างอากาศเพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการประเมินโครงสร้างปอด.

เทคนิคการแสดงผล 3D

แสดงผลพื้นผิวของหัวกบ Atelopus franciscus ที่เน้นชิ้นส่วนหู

การแสดงผลพื้นผิว

ค่าเกณฑ์ของความเขัมรังสีถูกกำหนดโดยผู้ประกอบการ (เช่นระดับที่สอดคล้องกับกระดูก). จากการกำหนดนี้, รูปแบบสามมิติจะถูกสร้างขึ้นโดยการใช้ขั้นตอนวิธีการประมวลผลภาพการตรวจสอบที่ทันสมัยและถูกแสดงบนหน้าจอ. หลายๆโมเดลสามารถถูกสร้างขึ้นจากเกณฑ์ต่างๆ, ช่วยให้ได้สีที่แตกต่างเพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละองค์ประกอบทางกายวิภาคเช่นกระดูก, กล้ามเนื้อ, และกระดูกอ่อน. อย่างไรก็ตาม โครงสร้างภายในของแต่ละองค์ประกอบไม่สามารถมองเห็นได้ในโหมดของการดำเนินการแบบนี้.

การแสดงผลสมุดภาพ

แสดงผลพื้นผิวจะถูกจำกัดในการที่จะแสดงพื้นผิวเท่านั้นที่ตรงกับความหนาแน่นของเกณฑ์หนึ่งๆ, และจะแสดงเฉพาะพื้นผิวที่ใกล้เคียงกับจินตนาการของผู้ชม. ในการแสดงสมุดภาพ, ความโปร่งใส, สี, และแสงเงาถูกใช้ในการการแสดงที่ดีกว่าของสมุดภาพที่จะแสดงให้เห็นได้ในภาพเพียงภาพเดียว. ตัวอย่างเช่นกระดูกหลายชิ้นของกระดูกเชิงกรานอาจจะแสดงเป็นกึ่งโปร่งใส, เพื่อที่, แม้ในมุมเฉียง, ส่วนหนึ่งของภาพจะไม่บังอีกส่วนหนึ่ง.

การตัดแบ่งภาพออกเป็นส่วนๆ

บทความหลัก: การแบ่งส่วน (การประมวลภาพ)

ในที่ซึ่งโครงสร้างที่แตกต่างกันมีความเข้มรังสีที่คล้ายกัน, มันเกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะแยกพวกมันออกจากกันง่ายๆเพียงแค่โดยการปรับพารามิเตอร์ในแสดงผลของสมุดภาพเท่านั้น. การแก้ปัญหาคือการแบ่งออกเป็นส่วนๆที่เป็นขั้นตอนแบบแบ่งด้วยมือหรือแบบอัตโนมัติที่สามารถลบโครงสร้างที่ไม่พึงประสงค์ออกจากภาพ.

ใกล้เคียง

การถ่ายโอนสัญญาณ การถ่ายภาพจอประสาทตา การถ่ายเทยีน การถ่ายเทความร้อน การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน การถ่ายเลือด การถ่ายภาพเคอร์เลียน การถ่ายทอดสดผ่านสัญญาณต่อเนื่อง การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ http://www.visielab.ua.ac.be/sites/default/files/j... http://books.google.ca/books?id=bEvnfm7V-LIC&pg=PA... http://books.google.ca/books?id=qCebxPjdSBUC&pg=PA... http://www.australianprescriber.com/upload/pdf/art... http://www.merriam-webster.com/dictionary/computed... http://www.northernradiology.com/assets/Imaging%20... http://www.nytimes.com/2014/01/31/opinion/we-are-g... http://www.spinemd.com/publications/articles/relia... http://www.columbia.edu/~djb3/papers/nejm1.pdf http://adsabs.harvard.edu/abs/2011MedPh..38S..36V