การถ่ายโอนมวล

การถ่ายโอนมวลสาร (Mass Transfer) เกิดจากการถ่ายโอนมวลสารในระบบของสารตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไป ที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน โดยที่โมเลกุลจะเคลื่อนที่จากความเข้มข้นมากไปยังความเข้มข้นน้อย เพื่อให้เกิดความสมดุลของโมเลกุลในระบบ ซึ่งกลไกลนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนของมวลสาร นอกจากนี้ ความแตกต่างกันของอุณหภูมิ ความดันหรือแรงจากภายนอก ก็สามารถเกิดการถ่ายเทมวลสารได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายโอนมวลสาร เช่น ความดันและปริมาณของสารละลาย ซึ่งแปรผันตรงกับอัตราการถ่ายเทมวล เมื่อเพิ่มความดันและเพิ่มปริมาณของสารละลายจะทำให้อัตราการถ่ายเทมวลเพิ่มขึ้นแรงจากภายนอก เช่น แรงแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น และความหนาแน่นการโอนมวลสารเกิดขึ้นได้ 2 แบบ ได้แก่ การถ่ายโอนมวลสารโดยการแพร่ของโมเลกุล และการถ่ายโอนมวลสารโดยการพาซึ่งในหนึ่งกระบวนการอาจเกิดการถ่ายเทมวลทั้ง 2 แบบพร้อมกันก็ได้ • ถ้าการไหลเป็นแบบ laminar การถ่ายเทมวลมักเป็นแบบการแพร่• ถ้าการไหลเปน็นแบบ turbulent การถ่ายเทมวลมักเป็นแบบการพามากกว่า[1][2][3]

ใกล้เคียง