ข้อเสีย ของ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

มีบทความมากมายที่แสดงข้อเสียของ RCT[67][68] ข้อเสียที่กล่าวถึงบ่อยที่สุดจะกล่าวในหัวข้อย่อยดังต่อไปนี้

ความเป็นจริงมีความจำกัดนอกการทดลอง

ระดับที่ผลของ RCT สามารถใช้ได้จริง ๆ ในสถานการณ์นอกการทดลองมีความต่าง ๆ กัน ซึ่งก็หมายความว่า ระดับ external validity ของ RCT นั้นอาจจะจำกัด[67][69]

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการใช้ผลของ RCT ได้จริง ๆ รวมทั้ง[69]

  • ภูมิภาคที่ทำการทดลอง (คือ การรักษาที่มีผลในประเทศหนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ในอีกประเทศหนึ่ง)
  • ลักษณะต่าง ๆ ของคนไข้ (เช่น RCT อาจจะทำในคนไข้ที่มีพยากรณ์โรค [prognosis] ดีกว่าโดยเฉลี่ย หรืออาจจะไม่รวม "ผู้หญิง เด็ก คนแก่ และบุคคลที่มีอาการโรคที่สามัญทั่วไป"[70])
  • วิธีดำเนินการของงานศึกษา (เช่น คนไข้ใน RCT อาจจะได้รับวิธีแบบถี่ถ้วนในการตรวจวินิจฉัยและการรักษาพยาบาลต่อ ๆ มา ที่ยากที่จะทำได้ในสถานการณ์จริง ๆ)
  • การวัดผล (คือ RCT อาจจะใช้การวัดผลแบบประกอบ [composite measures]) ซึ่งปกติไม่ใช้ในการปฏิบัติทางคลินิก
  • การรายงานที่ไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับผลร้ายที่เกิดขึ้นโดยการรักษาพยาบาล

ค่าใช้จ่ายสูง

ค่าใช้จ่ายของ RCT อาจจะสูงมาก[68] งานวิจัยหนึ่งพบว่า งาน RCT ในขั้น Phase III 28 งานที่ได้รับทุนจาก National Institute of Neurological Disorders and Stroke (สถาบันโรคทางประสาทและโรคหลอดเลือดสมองแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)) ก่อนปี ค.ศ. 2000 มีค่าใช้จ่ายรวมกันถึง 335 ล้านเหรียญสหรัฐ[71] โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 12 ล้านเหรียญสหรัฐต่องานอย่างไรก็ดี ผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ของ RCT อาจจะสูง คืองานวิจัยเดียวกันนั้นแหละคาดว่า งาน 28 งานนั้นจะให้ผลกำไรสุทธิต่อสังคมถึง 46 เท่าของเงินทุนภายใน 10 ปีโดยประเมินปีอายุที่เพิ่มขึ้น (quality-adjusted life year) เนื่องจากการใช้ผลการทดลอง ว่ามีมูลค่าเท่ากับ GDP เฉลี่ยต่อคน[71]

ใช้ระยะเวลายาว

งาน RCT ใช้เวลาเป็นหลายปีก่อนจะมีการเผยแพร่ และดังนั้นแพทย์จะไม่ได้ข้อมูลเป็นเวลาหลายปี และผลงานอาจจะมีความสำคัญน้อยลงเมื่อพร้อมที่จะเผยแพร่[72]

อาจจะไม่ดีกว่างานศึกษาแบบสังเกต

มีงานวิจัย 2 งานในปี ค.ศ. 2000 พิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ที่พบว่า งานศึกษาแบบสังเกต (observational studies) และ RCT โดยรวม ๆ แล้วแสดงผลคล้ายคลึงกัน[73][74] ผลงานเหล่านี้สั่นคลอนความเชื่อว่า "งานศึกษาแบบสังเกตไม่ควรใช้กำหนดการรักษาพยาบาลอิงหลักฐาน" และว่า ผลของงาน RCT เป็น "หลักฐานเกรดดีที่สุด"[73][74] แต่ว่า งานวิจัยในปี ค.ศ. 2001 ที่พิมพ์ใน Journal of the American Medical Association (JAMA) สรุปว่า "ความไม่สอดคล้องกันแบบไม่บังเอิญก็สามารถเกิดขึ้นได้ (คือผลบวกลบที่ต่างกันจริง ๆ โดยไม่บังเอิญก็ยังมี) และความแตกต่างของระดับผลประเมินเพราะการรักษาพยาบาลนั้นเป็นเรื่องสามัญ (คือแสดงผลบวกเหมือนกันแต่มีขนาดผลไม่เท่ากัน)"[75]

มีแนวคิดอีกสองอย่างที่ตั้งความสงสัยว่า RCT มีส่วนส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างไรที่เหนือจากการศึกษาแบบอื่น ๆ คือ

  • ถ้ามีการให้คะแนนโดยโอกาสที่จะมีการค้นพบใหม่ ๆ หลักฐานเชิงบอกเล่า (anecdotal evidence) จะได้คะแนนสูงสุด ตามมาด้วยงานศึกษาแบบสังเกต และตามมาด้วย RCT[76]
  • RCT อาจจะไม่จำเป็นสำหรับการรักษาพยาบาลที่มีผลชัดเจนและรวดเร็ว เมื่อเทียบกับอาการของโรคที่ค่อนข้างจะเสถียรหรือค่อย ๆ แย่ลง[67][77] ยกตัวอย่างเช่น การใช้เคมีบำบัดแบบผสม (combination chemotherapy) รวมทั้งการใช้ยา cisplatin ในการรักษามะเร็งอัณฑะที่แพร่กระจายออกไปแล้ว ซึ่งเพิ่มอัตราการรักษาจาก 5% ไปเป็น 60% ในงานศึกษาแบบไม่สุ่มในปี ค.ศ. 1977[77][78]

เหตุการณ์ที่มีน้อยศึกษาได้ยาก

วิธีการรักษาพยาบาลที่ป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมาก (เช่น กลุ่มอาการทารกตายกะทันหัน) และผลร้ายที่เกิดขึ้นน้อยมาก (เช่น ผลข้างเคียงที่น้อยมากของยา) อาจจะต้องใช้ RCT ที่มีผู้ร่วมการทดลองเป็นจำนวนมาก และดังนั้นการศึกษาแบบสังเกตอาจจะเป็นวิธีการศึกษาที่ทำได้ง่ายกว่า[67]

ผลในอนาคตไกลศึกษาได้ยาก

ค่าใช้จ่ายจะสูงมากถ้าต้องทำ RCT เป็นปี ๆ หรือทศวรรษ ๆ เพื่อจะตรวจสอบผลจากการรักษาพยาบาลในอนาคตไกล ๆ[67][68]

ผลที่ได้สนับสนุนอุตสาหกรรม ถ้าได้ทุนมาจากอุตสาหกรรม

งาน RCT บางงานได้ทุนทั้งหมดหรือบางส่วนมาจากอุตสาหกรรมรักษาสุขภาพ (เช่น จากบริษัทยา) เทียบกับจากรัฐบาล องค์กรไม่เก็งผลกำไร หรือแหล่งเงินทุนอื่น ๆงานปริทัศน์เป็นระบบ (systematic review) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2003 พบบทความ 4 บทความพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 1986-2002 ที่เปรียบเทียบ RCT ที่ได้ทุนมาจากอุตสาหกรรมและจากแหล่งอื่น ๆ และพบว่า ข้อมูลจากทั้งสี่บทความพบสหสัมพันธ์ระหว่างการได้ทุนจากอุตสาหกรรม กับผลบวกที่ได้จากการรักษาพยาบาลที่เป็นประเด็นการศึกษา[79] งานศึกษาปี ค.ศ. 2004 ของ RCT ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1999-2001 ที่พิมพ์ในวารสารแนวหน้าทางการแพทย์และทางศัลยกรรมพบว่า RCT ที่ได้ทุนจากอุตสาหกรรม "มีโอกาสสูงกว่าที่จะมีผลงานที่พบนัยสำคัญทางสถิติที่สนับสนุนอุตสาหกรรม"[80] เหตุที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งที่เกิดผลงานที่สนับสนุนอุตสาหกรรมสำหรับ RCT ที่ได้ทุนจากอุตสาหกรรมก็คือความเอนเอียงในการตีพิมพ์ (publication bias)[80]

ผู้ร่วมการทดลองเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรักษา

แม้ว่าผู้ร่วมการทดลองจะต้องให้ความยินยอมในการเข้าร่วม RCTแต่ว่า งานวิจัยต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 พบว่า ผู้ร่วมการทดลองเป็นจำนวนมากเชื่อว่า ตนจะได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดสำหรับสภาพโรคของตนอย่างแน่นอนซึ่งก็คือ ผู้ร่วมการทดลองไม่เข้าใจความแตกต่างกันระหว่างงานวิจัยกับการรักษาพยาบาล[81][82] ดังนั้น ควรที่จะมีการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อจะกำหนดความแพร่หลายและวิธีการป้องกันความเข้าใจผิดในเรื่องนี้[82]

เป็นการศึกษาที่มีวงแคบ

งานทดลองทางคลินิกแบบสุ่มปกติจะตรวจสอบตัวแปรอย่างหนึ่งหรือเพียงไม่กี่อย่างที่ยากที่จะสะท้อนความเป็นจริงในสถานการณ์ทางการแพทย์ที่ซับซ้อนที่มีจริง ๆ เมื่อเทียบกับการรายงานเค้ส (case report) ซึ่งสามารถให้รายละเอียดในด้านต่าง ๆ ของคนไข้ เช่น ประวัติคนไข้ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยทางการแพทย์ สภาพจิตใจที่เกี่ยวเนื่องกับสังคม (psychosocial aspects) และการติดตาม[72]

สามารถมีความผิดพลาดทางสถิติ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: ความผิดพลาดชนิดที่ 1 และ 2

RCT สามารถมีทั้งความผิดพลาดทางสถิติทั้งแบบที่ 1 (ผลบวกที่ไม่จริง) และแบบที่ 2 (ผลว่างหรือลบที่ไม่จริง) เกี่ยวกับความผิดพลาดแบบที่ 1 RCT ทั่ว ๆ ไปจะใช้ค่าความน่าจะเป็นที่ 0.05 (คือ 1 ใน 20) ที่จะแสดงวิธีการรักษาสองอย่างที่จริง ๆ มีสมรรถภาพเท่าเทียมกัน ว่าแตกต่างกันอย่างสำคัญ[83] (คือมีโอกาส 5% ว่าผลบวกที่พบไม่มีจริง ๆ)เกี่ยวกับความผิดพลาดแบบที่ 2 แม้ว่าจะมีบทความที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 ที่ให้ข้อสังเกตว่า RCT จำนวนมากที่แสดงผลลบ มีขนาดตัวอย่าง (sample size) ที่เล็กเกินไปที่จะสรุปได้อย่างชัดเจนว่า วิธีการรักษาพยาบาลนั้นมีผลลบ (หรือผลว่าง) จริง ๆ[84] และโดยปี ค.ศ. 2005-2006 ก็ยังมี RCT จำนวนหนึ่งที่รายงานการคำนวณขนาดตัวอย่างที่ไม่ตรงหรือไม่สมบูรณ์[85]

มีผลทางวัฒนธรรมที่ยังไม่เข้าใจ

วิธีการของ RCT สร้างปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมบางอย่างที่ยังไม่มีความเข้าใจดี[86] ยกตัวอย่างเช่น คนไข้บั้นปลายอาจพยายามเข้าร่วมการทดลองเพื่อใช้เป็นวิธีรักษาสุดท้าย แม้ว่าการรักษาพยาบาลนั้นจะมีโอกาสน้อยที่จะประสบความสำเร็จ

มีอันตรายจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดโปงการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของ RCT ที่ใช้เป็นข้อมูลของงานวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) งานวิจัยในปี ค.ศ. 2011 ทำการปริทัศน์งาน meta-analysis 29 งานแล้วพบว่า การขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่มีใน RCT ที่ใช้เป็นข้อมูล แทบไม่มีการเปิดเผยงาน meta-analysis ที่ตรวจสอบ 29 งานรวมทั้ง

งาน meta-analysis 29 งานรวมงาน RCT ทั้งหมด 509 งานในบรรดางาน RCT เหล่านั้น 318 งานรายงานแหล่งทุน (62% จากทั้งหมด) โดยมี 219 งานที่ได้ทุนมาจากอุตสาหกรรม (69% จากที่รายงาน)จาก RCT 509 งาน มีงาน 132 งานที่รายงานการขัดกันแห่งผลประโยชน์ทางการเงินของผู้ทำงานวิจัย (26% จากทั้งหมด)โดยมี 91 งานที่รายงานการมีผลประโยชน์ร่วมกับอุตสาหกรรม (69% จากที่รายงาน)แต่ว่า รายงานการขัดกันแห่งผลประโยชน์เหล่านี้แทบไม่มีการกล่าวถึงในงาน meta-analysisคือ มีเพียงแค่ 2 งาน (7% จาก 29 งานทั้งหมด) ที่รายงานแหล่งเงินทุนของ RCT และไม่มีงานไหนเลยที่รายงานการมีผลประโยชน์ร่วมกับอุตสาหกรรมของผู้ทำงานวิจัยผู้ทำงานวิจัยนี้สรุปว่า

เพราะไม่มีการชี้แจงความขัดกันแห่งผลประโยชน์ เนื่องจากได้รับเงินทุนหรือมีผลประโยชน์ทางการเงินร่วมกับอุตสาหกรรมและธุรกิจ สำหรับงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่รวมอยู่ใน meta-analysis(ดังนั้น) ความเข้าใจและการประเมินหลักฐานที่ได้มาจาก meta-analysis อาจจะมีความบิดเบือน[87]

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดลองทางความคิด การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองของมิลแกรม การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม http://www.mja.com.au/public/issues/182_02_170105/... http://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/file/publicat... http://psychclassics.yorku.ca/Peirce/small-diffs.h... http://jme.bmj.com/content/24/6/401 http://www.bmj.com/cgi/content/full/310/6991/1360 http://www.bmj.com/cgi/content/full/316/7131/606 http://www.bmj.com/cgi/content/full/317/7167/1209 http://www.bmj.com/cgi/content/full/319/7211/670 http://www.bmj.com/cgi/content/full/330/7499/1049 http://www.bmj.com/cgi/content/full/336/7644/601