ในสังคมศาสตร์ ของ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

การใช้ RCT ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างไม่รู้จักจบสิ้นคือพวกที่มีพื้นฐานประสบการณ์ทางการแพทย์หรือการรักษาพยาบาลกลุ่มหนึ่งก็กล่าวว่า งานวิจัยในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสังคมศาสตร์ขาดความน่าเชื่อถือและควรจะพัฒนาโดยเพิ่มการใช้ RCT[ต้องการอ้างอิง] ในบางประเทศ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันในระดับสูงในเรื่องการศึกษาทางการขนส่งคือมีนักวิชาการบางท่านที่เสนอว่า งบประมาณของรัฐที่ใช้ในโครงการที่เนื่องกับการส่งเด็กไปโรงเรียนนั้นไม่สมควร ยกเว้นถ้ามีอิทธิผลที่มีการรับรองโดย RCT[88] มีงานวิจัยในปี ค.ศ. 2011[89] ที่ทำการปริทัศน์งานประเมินวิธีการปฏิบัติทางการขนส่ง 77 งาน และแบ่งงานเหล่านั้นออกเป็น 5 ระดับขึ้นอยู่กับคุณภาพนักวิจัยสรุปว่า งานโดยมากมีคุณภาพต่ำ แล้วสนับสนุนให้ใช้ RCT ในงานวิจัยทางการขนส่งต่อไปในอนาคต

แต่ก็มีนักวิชาการท่านหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปเหล่านี้ โดยกล่าวว่า ข้อดีที่อ้างกันของ RCT ในการกำหนดเหตุและผล และในการป้องกันความเอนเอียงเป็นเรื่องที่กล่าวเกินความจริง แล้วเสนอ "หลัก 8 อย่างที่จะใช้ RCT ในสถานการณ์ที่ข้อปฏิบัติที่เสนอต้องอาศัยการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนเพื่อที่จะมีอิทธิผล"[90]

คือ ข้อปฏิบัติที่เสนอต้องมีลักษณะเหล่านี้คือ

  1. ยังไม่ได้ใช้กับสมาชิกทุกคนในกลุ่มประชากร (เช่น ทุกคนในประเทศ หรือพนักงานทุกคนขององค์กร เป็นต้น)
  2. จะใช้ในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่คล้ายกับที่มีในกลุ่มควบคุม
  3. สามารถแยกออกจากข้อประพฤติปฏิบัติอื่น ๆ และจุดมุ่งหมายงานศึกษาก็เพื่อตรวจสอบผลของข้อปฏิบัติ
  4. ช่วงเวลาจากการเริ่มใช้ข้อปฏิบัติและการแสดงผลต้องเป็นระยะเวลาสั้น ๆ

และกลไกที่เป็นเหตุต้องมีลักษณะเหล่านี้ คือ

  1. เป็นกลไกที่นักวิจัยเข้าใจดีแล้ว หรือว่า กลไกที่อาจเป็นเหตุอย่างอื่น ๆ ต้องสามารถตรวจสอบได้
  2. ไม่มีกลไกการป้อนกลับอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มทดลอง (ที่จะใช้ข้อปฏิบัติที่เป็นประเด็นการศึกษา) และสิ่งแวดล้อมภายนอก
  3. มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบภายนอกที่มีเสถียรภาพและสามารถพยากรณ์ได้
  4. จะต้องทำงานเช่นเดียวกันถ้ากลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองนั้นกลับกัน

การพัฒนาระหว่างประเทศ

ปัจจุบันนี้ มีการใช้ RCT ในการตรวจสอบการช่วยเหลือการพัฒนาระหว่างประเทศ (international development) ทั่วโลกนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนาที่องค์กรวิจัยต่าง ๆ รวมทั้ง Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab[91][92] และ Innovations for Poverty Action[93] ได้ใช้ RCT เพื่อตรวจสอบอิทธิผลของโปรแกรมแก้ปัญหาความยากจน สุขภาพ และการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนา

แม้ว่า RCT อาจจะมีประโยชน์ในการประเมินผลของนโยบาย แต่ก็จำเป็นที่จะตีความผลที่ได้ในงานศึกษาทางสังคมศาสตร์อย่างระมัดระวังยกตัวอย่างเช่น ข้อปฏิบัติในการแก้ปัญหาอาจจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคม-เศรษฐกิจ และทางพฤติกรรม ที่สร้างตัวแปรสับสนในความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่พบ[94]

สำหรับนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนาบางพวก ประโยชน์ที่ได้จาก RCT เทียบกับวิธีการศึกษาแบบอื่น ๆ ก็คือ การสุ่มจะป้องกันความเอนเอียงโดยการคัดเลือก (selection bias) ซึ่งเป็นปัญหาในงานวิจัยปัจจุบันเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาในงานศึกษา RCT ตัวอย่างในปี ค.ศ. 2007 ที่น่าสนใจงานหนึ่งในสาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา มีการสุ่มหมู่บ้าน 608 หมู่บ้านในประเทศอินโดนีเชียที่จะมีการสร้างถนนออกเป็นกลุ่มหลัก 2 กลุ่ม คือ ไม่มีการสอบบัญชีจากรัฐบาลกลาง และมีการสอบบัญชี และในสองกลุ่มนั้น แต่ละกลุ่มจะมีกลุ่มย่อยอีกสามกลุ่มคือ ไม่มีการเชิญให้ (กลุ่มรากหญ้า) เข้าร่วมประชุมที่แสดงบัญชีการใช้จ่าย, มีการเชิญให้เข้าร่วมประชุม, และมีการเชิญให้เข้าร่วมประชุมโดยใบเชิญมีฟอร์มให้กรอกความเห็นแบบนิรนาม[95] หลังจากทำการประเมิน "งบประมาณที่ขาดหายใป" (คือคอร์รัปชั่น) นักวิจัยสรุปว่า การตรวจสอบโดยรัฐบาลมีประสิทธิผลยิ่งกว่า "การเพิ่มการร่วมมือจากกลุ่มรากหญ้าเพื่อการตรวจสอบ" โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดคอร์รัปชั่น[95]แต่จริง ๆ แล้ว ข้อสรุปเดียวกันนี้ ก็ยังสามารถได้จากการสร้างแบบจำลองที่สมควร แล้วใช้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระยะยาว (longitudinal studies) อีกด้วย

เรื่องสำคัญที่สุดโดยรวม ๆ ในการศึกษาทางสังคมศาสตร์ก็คือ ต้องสามารถทำการตรวจสอบหาข้อมูลเกี่ยวกับผลที่คาดหวัง และผลที่ไม่คาดหวัง ที่เกิดขึ้นจากนโยบายปฏิบัติที่เป็นประเด็นการศึกษา

อาชญาวิทยา

มีการทำงานศึกษาแบบ RCT เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสาขาอาชญาวิทยา คืองานปริทัศน์ในปี ค.ศ. 2005 พบงาน RCT 83 งานในสาขาที่พิมพ์ในระหว่างปี ค.ศ. 1982-2004 เทียบกับ 35 งานที่พบในระหว่างปี ค.ศ. 1957-1981[96] ซึ่งจัดประเภทเป็น 5 ประเภท คือ policing (การรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย) prevention (การป้องกัน) corrections (การลงโทษ) court (ศาล) และ community (ชุมชน)[96] โดยเพ่งความสนใจไปที่โปรแกรมเปลี่ยนพฤติกรรมนักโทษ งานวิจัยในปี ค.ศ. 2008 อ้างว่า RCT อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะกระทำ (เช่น ถ้าการดำเนินการ RCT จะต้องมี "การตัดสินลงโทษที่สุ่มนักโทษให้อยู่ในโปรแกรม [ทดลอง] ต่าง ๆ")[97]

การศึกษา

มีการใช้ RCT เพื่อประเมินข้อปฏิบัติทางการศึกษาหลายอย่างเช่น มีงานในปี ค.ศ. 2009 ที่สุ่มห้องเรียนประถมศึกษา 260 ห้องเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่มีการตรวจคัดพฤติกรรม (behavioral screening) มีข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันแทรกแซงในห้องเรียน และมีการฝึกผู้ปกครอง แล้ววัดคะแนนทางพฤติกรรมและการศึกษาของนักเรียน[98] มีงานอีกงานหนึ่งที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2009 ที่สุ่มห้องเรียนของเด็ก ป.1 678 คนเป็นกลุ่มทดลองที่มีข้อปฏิบัติแทรกแซงมีห้องเป็นศูนย์ (classroom-centered) กลุ่มทดลองที่มีผู้ปกครองเป็นศูนย์ (parent-centered) และที่ไม่มีข้อปฏิบัติ (no intervention คือกลุ่มควบคุม)[99]

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดลองของมิลแกรม การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม http://www.mja.com.au/public/issues/182_02_170105/... http://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/file/publicat... http://psychclassics.yorku.ca/Peirce/small-diffs.h... http://jme.bmj.com/content/24/6/401 http://www.bmj.com/cgi/content/full/310/6991/1360 http://www.bmj.com/cgi/content/full/316/7131/606 http://www.bmj.com/cgi/content/full/317/7167/1209 http://www.bmj.com/cgi/content/full/319/7211/670 http://www.bmj.com/cgi/content/full/330/7499/1049 http://www.bmj.com/cgi/content/full/336/7644/601