การทดลองโรเซนแฮน
การทดลองโรเซนแฮน

การทดลองโรเซนแฮน

การทดลองโรเซ็นแฮน (อังกฤษ: Rosenhan experiment) เป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงทำเพื่อกำหนดความสมเหตุสมผลของการวินิจฉัยทางจิตเวช โดยนักจิตวิทยา ศ. ดร. เดวิด โรเซ็นแฮนแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Science ในปี พ.ศ. 2516 โดยมีรายชื่อว่า "การเป็นคนปกติในที่ที่บ้า (On being sane in insane places)"[1][2]เป็นงานที่พิจารณาว่าสำคัญและทรงอิทธิพลโดยเป็นการวิจารณ์การวินิจฉัยทางจิตเวช[3]และได้ไอเดียมาจากเล็กเช่อร์ของจิตแพทย์ R. D. Laing ซึ่ง ดร. โรเซ็นแฮนเริ่มคิดว่ามีวิธีไหนไหมที่ความน่าเชื่อถือของการวินิจฉัยทางจิตเวชสามารถทดสอบได้โดยการทดลอง[4]การทดลองทำเป็นสองส่วนส่วนแรกใช้คนปกติแปดคนเป็นคนไข้ปลอม (หญิง 3 ชาย 5 รวมทั้ง ดร. โรเซ็นแฮนเอง) ผู้แกล้งทำเป็นประสาทหลอนได้ยินเสียงเพื่อให้โรงพยาบาลจิตเวช 12 แห่งใน 5 รัฐของสหรัฐอเมริการับเข้าเป็นคนไข้ซึ่งทั้งหมดก็ได้รับโดยเป็นคนไข้โรคทางจิตเวชหลังจากเข้า รพ. คนไข้ปลอมก็จะทำตัวปกติ และบอกเจ้าหน้าที่ว่าตนรู้สึกปกติและไม่มีประสาทหลอนอะไรอีกต่อไปทั้งหมดถูกบังคับให้ยอมรับว่าป่วยเป็นโรคจิตและให้ยอมทานยาระงับอาการทางจิตโดยเป็นเงื่อนไขในการให้ออกจาก รพ.ระยะเวลาเฉลี่ยที่คนไข้แต่ละคนใช้เวลาในโรงพยาบาล คือ 19 วันทั้งหมดได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท ที่อยู่ใน "ระยะโรคสงบ" ก่อนจะได้กลับบ้านส่วนที่สองเกิดเมื่อมีผู้บริหารโรงพยาบาลหนึ่งที่ไม่พอใจแล้วท้าให้ ดร. โรเซ็นแฮนส่งคนไข้ปลอมไปที่ รพ. ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยจับดร. โรเซ็นแฮนก็ตกลงและในอาทิตย์ต่อ ๆ มา ในจำนวนคนไข้ใหม่ 193 คน เจ้าหน้าที่ได้กำหนด 41 คนว่าอาจเป็นคนไข้ปลอม โดยมี 19 คนที่ได้ความสงสัยอย่างน้อยจากจิตแพทย์คนหนึ่งและเจ้าหน้าที่อื่นอีกคนแต่จริง ๆ ดร. โรเซ็นแฮนไม่ได้ส่งใครไปเลยงานศึกษาสรุปว่า "มันชัดเจนมากว่าเราไม่สามารถแยกแยะคนบ้ากับคนปกติในโรงพยาบาลจิตเวช" และแสดงถึงอันตรายของการลดสภาพความเป็นมนุษย์ และการได้ป้ายว่าเป็นคนไข้โรงพยาบาลจิตเวชแล้วเสนอว่า ศูนย์สุขภาพทางจิตในชุมชนที่เน้นปัญหาและพฤติกรรมโดยเฉพาะแทนการกำหนดโรคโดยชื่อ อาจเป็นวิธีแก้ปัญหา และแนะนำให้ผู้บริการทางจิตเวชรับการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ตระหนักรู้ถึงสภาพความคิด/จิตใจของผู้ทำการในโรงพยาบาลจิตเวช

ใกล้เคียง

การทด การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทดลองแบบอำพราง การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การทดลองทางความคิด การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) การทดลองของมิลแกรม การทดสอบซอฟต์แวร์ การทดลองรีคัฟเวอรี การทดลองโรเซนแฮน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การทดลองโรเซนแฮน http://books.google.ca/books?id=DtKcG6qoY5AC&print... http://journals.lww.com/jonmd/Citation/1968/10000/... http://web.cocc.edu/lminorevans/on_being_sane_in_i... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1194504 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3367027 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/4683124 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5683680 http://www.integratedsociopsychology.net/sane_insa... http://www.holah.karoo.net/rosenhan.htm http://www.spotlightradio.net/listen/how-mad-are-y...