การใช้ในการแพทย์ ของ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

ในผู้ใหญ่ มีหลักฐานว่า CBT มีประสิทธิผลและสามารถมีบทบาทในแผนการรักษาโรควิตกกังวล[24][25],โรคซึมเศร้า[26][27],ความผิดปกติของการรับประทาน (eating disorder)[28],การเจ็บหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง[15],ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ[29],โรคจิต (psychosis)[30],โรคจิตเภท[31],ความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด (substance use disorder)[32],เพื่อช่วยในการปรับตัว แก้ความซึมเศร้า และแก้ความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคไฟโบรไมอัลเจีย[10],และเพื่อช่วยการปรับตัวเป็นต้นเกี่ยวกับความบาดเจ็บที่ไขสันหลัง[33]มีหลักฐานที่แสดงว่า CBT มีประสิทธิผลในการบำบัดโรคจิตเภท ดังนั้น นโยบาย/แนวทางการรักษาโดยมากในปัจจุบันจึงกำหนดเป็นวิธีการรักษา[31]

ในเด็กและวัยรุ่น CBT สามารถใช้อย่างมีประสิทธิผลโดยเป็นส่วนของแผนการรักษาโรควิตกกังวล[34],โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ[35],ความซึมเศร้าและความคิดจะฆ่าตัวตาย[36],ความผิดปกติของการรับประทาน และโรคอ้วน[37],โรคย้ำคิดย้ำทำ[38],และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD)[39],รวมทั้งความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) โรคถอนผม (trichotillomania) และความผิดปกติทางพฤติกรรมแบบย้ำทำอย่างอื่น ๆ[40]ส่วน CBT-SP ซึ่งเป็นการปรับแปลง CBT เพื่อใช้ป้องกันการฆ่าตัวตาย (suicide prevention หรือ SP) ออกแบบโดยเฉพาะเพื่อรักษาเยาวชนที่ซึมเศร้าอย่างรุนแรง และได้พยายามฆ่าตัวตายภายใน 90 วันที่ผ่านมา เป็นการบำบัดที่มีประสิทธิผล ทำได้ และยอมรับได้[41]

งานศึกษาปี 2012 ทดสอบเกมกับวัยรุ่น 187 คนที่มีความซึมเศร้าแบบอ่อน (mild) จนถึงปานกลาง (moderate) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้เล่นเกม และอีกกลุ่มหนึ่งให้รับการบำบัดทั่วไปจากผู้ให้คำปรึกษาที่ได้รับการฝึกที่โรงเรียนหรือคลินิกเยาวชน ในบรรดาเยาวชนที่เข้าร่วม 60 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิงโดยมีอายุเฉลี่ยที่ 16 ปี ในทั้งสองกลุ่ม ระดับความวิตกกังวลและความเศร้าซึมลดลงประมาณ 1/3 และเกมได้ช่วยเด็กอายุ 12-19 ปีให้หายจากความเศร้าซึมเป็นจำนวนมากกว่า คือ 43.7% เทียบกับ 26.4% ในการรักษาธรรมดา[42][43]

นอกจากนั้นแล้ว หลักฐานยังแสดงว่า CBT มีประสิทธิผลในการรักษาความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ในเด็กเล็ก ๆ อายุ 3-6 ขวบ[44]และได้มีการประยุกต์ใช้ต่อความผิดปกติในวัยเด็กหลายอย่าง[45]รวมทั้งความซึมเศร้าและความวิตกกังวล

การทบทวนแบบคอเครนไม่พบหลักฐานว่า CBT มีผลต่อเสียงในหู (tinnitus) แม้ว่าจะมีผลต่อการบริหารความซึมเศร้าและต่อคุณภาพชีวิตสำหรับคนไข้[46]ส่วนการทบทวนแบบคอเครนงานอื่น ๆ ไม่พบหลักฐานว่า การฝึกให้เรียนรู้ CBT ช่วยบุคคลที่รับเลี้ยงดูเด็ก (foster care) ให้สามารถบริหารพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กที่อยู่ใต้การดูแล[47]ไม่ช่วยในการบำบัดชายที่ทารุณคู่ของตน[48]และหลักฐานยังมีไม่พอในการกำจัดโอกาสเสี่ยงที่การบำบัดทางจิตอาจจะมีอันตรายต่อหญิงที่มีมะเร็งเต้านมที่แพร่กระจายออกไปแล้ว[49]ตามงานปี 2004 ของสถาบันวิจัยสุขภาพและการแพทย์ฝรั่งเศส (INSERM) ที่ทบทวนการบำบัด 3 วิธี CBT อาจจะ "พิสูจน์แล้ว" หรือ "สมมุติได้" ว่าเป็นการบำบัดที่มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติทางจิตโดยเฉพาะ ๆ หลายอย่าง[50]คืองานศึกษาพบว่า CBT มีประสิทธิผลในการบำบัดโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคตื่นตระหนก ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) โรควิตกกังวล โรคหิวไม่หาย (bulimia nervosa) โรคเบื่ออาหารจากสาเหตุทางจิตใจ (anorexia nervosa) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ และการติดเหล้า[50]งานวิเคราะห์อภิมานบางงานพบว่า CBT มีประสิทธิผลกว่าการบำบัดแบบ psychodynamic และเท่ากับการบำบัดแบบอื่น ๆ ในการรักษาความวิตกกังวลและความซึมเศร้า[51][52]แต่ว่า ในระยะยาวแล้ว การบำบัดแบบ psychodynamic อาจมีผลดีกว่า[53]

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมและการทดลองแบบอื่น ๆ พบว่า CBT โดยใช้คอมพิวเตอร์ (CCBT) มีประสิทธิผลในการรักษาโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล[25][27][54][55][56][57][58]แม้แต่ในเด็ก[59]และโรคนอนไม่หลับ[60]ส่วนงานวิจัยอื่นพบประสิทธิผลเช่นเดียวกันผ่านการบำบัดแทรกแซงโดยให้ข้อมูลทางเว็บไซต์และโดยพูดคุยทางโทรศัพท์ทุกอาทิตย์[61][62]CCBT มีประสิทธิผลเท่ากับการบำบัดตัวต่อตัวสำหรับโรควิตกกังวลในวัยรุ่น[63]และโรคนอนไม่หลับ[60]

คนที่คัดค้าน CBT บางครั้งเพ่งความสนใจไปที่วิธีดำเนินการ (เช่นโครงการริเริ่มในสหราชอาณาจักร Improving Access to Psychological Therapies หรือ IAPT) ซึ่งในเบื้องต้นอาจจะมีคุณภาพที่ต่ำเพราะผู้รักษาไม่ได้รับการฝึกอบรมที่ดี[64][65]แต่ว่า หลักฐานได้ยืนยันประสิทธิผลของ CBT ในการรักษาโรควิตกกังวลและความซึมเศร้า[56]และก็มีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยว่า การใช้การสะกดจิตบำบัด (hypnotherapy) เป็นตัวเสริม CBT สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการแก้ปัญหาทางคลินิกหลายอย่าง[66][67][68]มีการประยุกต์ใช้ CBT ทั้งในคลินิกและนอกคลินิกเพื่อบำบัดความผิดปกติทางบุคลิกภาพและทางพฤติกรรม[69]

งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2011 ที่ทบทวน CBT ที่ใช้ในโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลสรุปว่า "CBT ที่ทำในระดับปฐมภูมิ (primary care) โดยเฉพาะที่ทำโดยช่วยเหลือตนเองผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือทางอินเทอร์เน็ต อาจจะมีประสิทธิผลกว่าการรักษาธรรมดาทั่วไป และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลโดยผู้ให้การรักษาพยาบาลระดับเบื้องต้น"[54]เริ่มมีหลักฐานที่แสดงนัยว่า CBT อาจมีบทบาทในการบำบัดโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder)[70],โรคไฮโปคอนดริเอซิส[71],การรับมือกับผลกระทบของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง[72],การบำบัดปัญหาการนอนเนื่องจากอายุ[73],อาการปวดระดู (dysmenorrhea)[74],และโรคอารมณ์สองขั้ว[75]แต่ควรจะมีการศึกษาเพิ่มและผลที่มีควรตีความอย่างระมัดระวัง

CBT อาจช่วยอาการวิตกกังวลและความซึมเศร้าในคนไข้อัลไซเมอร์[76]มีการศึกษาที่ใช้ CBT เพื่อช่วยบำบัดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการติดอ่าง งานวิจัยเบื้องต้น ๆ แสดงว่า CBT มีประสิทธิผลในการลดความวิตกกังวลทางสังคมสำหรับผู้ใหญ่ที่ติดอ่าง[77]แต่ไม่สามารถลดความถี่การติดอ่าง[78][79]

มีหลักฐานบ้างว่า CBT มีผลในระยะยาวดีกว่าการใช้ยา benzodiazepine และ nonbenzodiazepine ในการบำบัดและบริหารโรคนอนไม่หลับ[80]CBT มีประสิทธิผลปานกลางในการบำบัดกลุ่มอาการล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome)[81]

ในสหราชอาณาจักร National Institute for Health and Care Excellence (ตัวย่อ NICE) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ออกแนวทาง/นโยบายในการรักษาสุขภาพ แนะนำให้ใช้ CBT ในแผนการบำบัดปัญหาทางสุขภาพจิต รวมทั้งความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคหิวไม่หาย (bulimia nervosa) และโรคซึมเศร้า[82]

โรควิตกกังวล

มีหลักฐานว่า CBT มีประสิทธิผลในการบำบัดโรควิตกกังวลในผู้ใหญ่[83]แนวคิดพื้นฐานสำหรับการบำบัดโรควิตกกังวลโดย CBT ก็คือ exposure therapyซึ่งหมายถึงให้คนไข้เผชิญกับวัตถุ กิจกรรม หรือสถานการณ์ที่ตนกลัวยกตัวอย่างเช่น หญิงคนไข้ PTSD ที่กลัวสถานที่ที่ตนถูกทำร้ายอาจจะช่วยได้ โดยให้ไปที่สถานที่นั้นแล้วเผชิญหน้ากับความกลัวนั้นโดยตรงและเช่นกัน บุคคลที่กลัวการพูดต่อหน้าสาธารณชนอาจจะได้คำแนะนำให้ให้มีปาฐกถา[84]วิธีการรักษาเช่นนี้มาจากแบบจำลองมีสองปัจจัยของ Orval Hobart Mowrer[85]คือ เมื่อมีการเปิดรับ (exposure) สิ่งเร้าที่สร้างปัญหา การปรับสภาวะที่ไม่มีประโยชน์เช่นนี้สามารถแก้คืนได้ (เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่เรียกว่า extinction และ habituation)งานวิจัยได้แสดงหลักฐานว่า การใช้ฮอร์โมน glucocorticoids อาจจะทำให้ถึงสภาวะ extinction ได้ดีกว่าเมื่อใช้ในระหว่าง exposure therapyเพราะว่า glucocorticoids สามารถป้องกันการระลึกถึงความจำที่กลัว และช่วยเสริมความจำใหม่โดยช่วยสร้างปฏิกิริยาใหม่ต่อสถานการณ์ที่ไม่มีอะไรน่ากลัวดังนั้น การใช้ glucocorticoids ร่วมกับ exposure therapy อาจจะเพิ่มประสิทธิผลของการบำบัดคนไข้โรควิตกกังวล[86]

โรคจิตเภท โรคจิต และความผิดปกติทางอารมณ์

CBT มีหลักฐานที่แสดงว่าเป็นการบำบัดที่มีประสิทธิผลต่อโรคซึมเศร้า[26]แนวทางปฏิบัติของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association ตัวย่อ APA) ชี้ว่า ในบรรดาวิธีจิตบำบัดต่าง ๆ CBT และ interpersonal psychotherapy มีหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลที่ดีที่สุดต่อโรคซึมเศร้า (major depressive disorder)[87][ต้องการหน้า]

ทฤษฎีสมุฏฐานทางประชานของโรคซึมเศร้าของ ศ. ดร. อารอน ที. เบ็กชี้ว่า คนซึมเศร้าคิดอย่างที่คิดก็เพราะตนมีแนวโน้มในการตีความเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเชิงลบตามทฤษฎีนี้ คนซึมเศร้าได้ schema แบบลบเกี่ยวกับโลกในระหว่างวัยเด็กและวัยรุ่น โดยเป็นผลของเหตุการณ์ที่ก่อความเครียด และ schema เชิงลบนั้นก็จะออกฤทธิ์ภายหลังในชีวิตเมื่อบุคคลประสบเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน[88]ดร. เบ็กยังได้อธิบายถึงทฤษฎีความคิด 3 อย่าง (Beck's cognitive triad) ที่ประกอบไปด้วย schema เชิงลบ และความเอนเอียงทางประชานต่าง ๆ (cognitive bias) ของบุคคล โดยตั้งทฤษฎีว่า คนที่เศร้าซึมประเมินตัวเอง โลก และอนาคตในเชิงลบตามทฤษฎีนี้ คนเศร้าซึมจะมีความคิดเช่น "ฉันทำอะไรก็ไม่ดี" "เป็นไปไม่ได้ที่วันนี้จะเป็นวันที่ดี" หรือ "อะไร ๆ ก็จะไม่ดีขึ้น"เป็นความคิดเนื่องจาก schema เชิงลบช่วยให้เกิดความเอนเอียงทางประชาน และความเอนเอียงก็จะช่วยเสริมสร้าง schema เชิงลบ เพิ่มขึ้นความคิดเกี่ยวกับตัวเอง โลก และอนาคตในเชิงลบเช่นนี้คือ Beck's cognitive triadดร. เบ็กเสนอว่า คนเศร้าซึมมักจะมีความเอนเอียงต่าง ๆ รวมทั้ง arbitrary inference (การอนุมานตามอำเภอใจ), selective abstraction (การกำหนดสาระสำคัญแบบเลือก), over-generalization (การสรุปเหมาเกินไป), magnification (การทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่), และ minimization (การลดความสำคัญ)

ความเอนเอียงทางประชานเหล่านี้ว่องไวที่จะทำการอนุมานเชิงลบ ที่ทั่วไป และที่เป็นเรื่องตัวเอง และเพิ่มกำลังให้กับ schema แบบลบ[88]ในโรคจิต (Psychosis) ระยะยาว CBT ใช้เสริมการใช้ยาและจะปรับให้เข้ากับคนแต่ละคนการรักษาแทรกแซงที่มักจะใช้ในอาการเหล่านี้รวมทั้งการตรวจสอบว่ารู้ความจริงเท่าไหน การเปลี่ยนอาการหลงผิดและประสาทหลอน การตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอีก (relapse) และการบริหารจัดการอาการที่เกิดขึ้นอีก[30]มีงานวิเคราะห์อภิมานหลายงานที่เสนอว่า CBT มีประสิทธิผลกับโรคจิตเภท[31][89]และ APA รวม CBT ในแนวทางการบำบัดโรคจิตเภทว่าเป็นการบำบัดที่อ้างอิงหลักฐานแต่ว่า มีหลักฐานจำกัดว่า CBT มีผลสำหรับโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder)[75]และโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง[90]

แต่งานวิเคราะห์อภิมานปี 2009 พบว่า ไม่มีการทดลองแบบอำพรางและการควบคุมด้วยการรักษาหลอกที่แสดงว่า CBT มีผลต่อโรคจิตเภทหรือโรคอารมณ์สองขั้ว และผลต่าง (effect size) ของ CBT มีน้อยในโรคซึมเศร้า (major depressive disorder)และพบว่า ไม่มีหลักฐานที่สรุปได้ว่า CBT มีผลในการป้องกันการกำเริบของโรคอารมณ์สองขั้ว[91]หลักฐานว่า ความซึมเศร้าแบบรุนแรงลดระดับได้โดย CBT ก็ไม่มีด้วย โดยมองว่า การใช้ยาแก้โรคซึมเศร้ามีประสิทธิผลที่ดีอย่างสำคัญกว่า CBT[26]แม้ว่า ผลสำเร็จต่อโรคซึมเศร้าของ CBT จะพบเริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990[92]

ตามงานวิจัยปี 2012 CBT สามารถใช้ลดอคติ (prejudice) ต่อผู้อื่นเพราะว่าอคติต่อผู้อื่นสามารถทำให้คนอื่นเกิดความซึมเศร้าได้ หรือแม้แต่ตัวเองถ้ากลายมาเป็นพวกเดียวกันกับกลุ่มบุคคลที่ตนมีอคติ[93]ส่วนงานวิจัยปี 2012 อีกงานหนึ่งได้พัฒนาการบำบัดแทรกแซงคนมีอคติ (Prejudice Perpetrator intervention) โดยมีแนวคิดหลายอย่างที่คล้าย ๆ กับ CBT[94]และเหมือนกับ CBT วิธีการรักษาคือสอนให้คนที่มีอคติสำนึกถึงความคิดที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และใช้วิธีการเปลี่ยนความคิดต่าง ๆ ต่อต้านความคิดแบบทั่วไปต่อกลุ่มสังคมที่เป็นเรื่องอัตโนมัติ[93]

ตารางเปรียบเทียบ CBT กับจิตบำบัดอื่น ๆ เพื่อโรคจิตเภท (schizophrenia)[95]
ผลที่วัดคำอธิบายผลเป็นตัวเลขคุณภาพของหลักฐาน
ผลทั่วไป
ไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตไม่ดีกว่าจิตบำบัดอื่น ๆ เพื่อรักษาสภาวะจิตRR 0.84 CI 0.64 - 1.09ต่ำมาก
โรคกำเริบไม่ลดRR 0.91 CI 0.63 - 1.32ต่ำ
การเข้า รพ. อีกไม่ลดRR 0.86 CI 0.62 - 1.21
Social functioningดีขึ้นในกลุ่ม CBT ที่ประมาณสัปดาห์ 26 แต่ไม่ชัดเจนว่ามีผลอย่างไรต่อชีวิตจริง ๆMD 8.80 higher CI 4.07 - 21.67ต่ำมาก
คุณภาพชีวิตไม่เปลี่ยนMD 1.86 lower CI 19.2 lower to 15.48 higher
ผลลบ
ผลที่ไม่พึงประสงค์ (ภาย 24-52 สัปดาห์หลังเริ่มการบำบัด)ไม่มีมากกว่าRR 2 CI 0.71 - 5.64ต่ำมาก

ในผู้สูงวัย

CBT สามารถช่วยบุคคลทุกอายุ แต่ว่า การบำบัดควรจะปรับเพราะอายุของคนไข้เพราะว่า ผู้มีอายุโดยเฉพาะมีลักษณะบางอย่างที่ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนการบำบัด[96]ปัญหาเกี่ยวกับ CBT ในเรื่องอายุรวมทั้ง

ผลจากคนกลุ่มเดียวกัน (The Cohort effect)กาลเวลาที่บุคคลแต่ละรุ่นมีชีวิต จะเป็นตัวเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดและค่านิยม ดังนั้น คนอายุ 70 ปีอาจจะมีปฏิกิริยาต่อการบำบัดแตกต่างจะคนอายุ 30 ปี เพราะว่า มีวัฒนธรรมที่ต่างกัน นอกจากนั้น เมื่อคนรุ่นต่าง ๆ ต้องปฏิสัมพันธ์กัน ค่านิยมที่ชนกันอาจจะทำให้การบำบัดนั้นยากขึ้น[96]บทบาทที่มีอยู่เมื่อถึงความสูงวัยแล้ว บุคคลจะมีไอเดียที่ชัดเจนว่าบทบาทชีวิตของตนเป็นอย่างไรและจะยึดอยู่กับบทบาทนั้น บทบาททางสังคมนี้อาจจะเป็นตัวกำหนดทำให้บุคคลนั้นรู้สึกว่าตนเป็นใคร และอาจจะทำให้ยากในการปรับตัวดังที่ต้องทำได้ใน CBT[96]ความคิดเกี่ยวการมีอายุถ้าผู้สูงอายุเห็นการมีอายุว่าเป็นเรื่องลบ นี้อาจจะเป็นตัวทำให้อาการที่พยายามแก้แย่ลง (เช่น ความซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล)[96] ความคิดแบบเหมารวมเชิงลบหรืออคติต่อคนแก่ อาจจะก่อความเศร้าซึมเมื่อความแก่นั้นมาถึงตัว[93]การทำอะไรได้ช้าลงเมื่อเราแก่ขึ้น เราอาจจะใช้เวลามากขึ้นในการเรียนรู้ และดังนั้น อาจจะใช้เวลามากกว่าเพื่อที่จะเรียนรู้และจำวิธีการของจิตบำบัดได้ ดังนั้น ผู้รักษาพึงใช้เวลาเพิ่มขึ้นในการทำจิตบำบัด และอาจจะใช้วิธีการทีเป็นทั้งการเขียนและการพูดเพื่อช่วยให้คนไข้จำวิธีบำบัดได้[96]

การป้องกันโรคจิต

สำหรับโรควิตกกังวล (anxiety disorders) การใช้ CBT กับบุคคลเสี่ยงได้ลดจำนวนการออกอาการของโรค (episode) ของทั้งโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder) และอาการวิตกกังวลอื่น ๆ และช่วยวิธีการคิด ความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ และทัศนคติที่ไม่มีประสิทธิผล ได้อย่างสำคัญ[56][97][98]ในงานศึกษาปี 2008 3% ของคนในกลุ่ม CBT เกิดโรควิตกกังวลทั่วไป 12 เดือนหลังจากการแทรกแซงเทียบกับ 14% ในกลุ่มควบคุม[99]นอกจากนั้นแล้ว ผู้ที่มีความตื่นตระหนกแบบยังไม่ถึงเกณฑ์เป็นโรค (Subthreshold) ได้รับประโยชน์อย่างสำคัญจาก CBT[100][101]การใช้ CBT ปรากฏว่าลดระดับความชุกของความวิตกกังวลทางสังคม (social anxiety)[102]สำหรับโรคซึมเศร้า การแทรกแซงรักษาเป็นขั้น ๆ (คือการดูอาการ, การบำบัดโดย CBT, และการให้ยาเมื่อสมควร) ได้ผลลดความชุกกว่า 50% สำหรับคนไข้ที่มีอายุ 75 หรือมากกว่านั้น[103]

ส่วนงานศึกษาความซึมเศร้าในปี 2012 ในเด็กวัยรุ่นพบผลว่างเทียบกับกลุ่มที่ควบคุมการใส่ใจและกลุ่มที่ใช้วิธีการบรรเทาปัญหาของโรงเรียนอื่น ๆ และผู้เขียนได้แสดงความเห็นว่า เด็กกลุ่ม CBT อาจจะสำนึกถึงตัวเองมากขึ้นและรายงานอาการซึมเศร้าที่สูงขึ้น แต่แนะนำให้มีการศึกษางานวิจัยเพิ่มขึ้นในเรื่องนี้[104]และก็มีงานวิจัยปี 1993 ที่เห็นผลว่างเช่นกัน[105]

ในงานวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับคอร์ส "การรับมือกับความซึมเศร้า (Coping with Depression)" ซึ่งเป็นการแทรกแซงโดยการเปลี่ยนความคิดพฤติกรรม พบการลดความเสี่ยงต่อความซึมเศร้า (major depression) โดย 38%[106]ส่วนในโรคจิตเภท งานศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันด้วย CBT งานหนึ่งพบว่ามีผลบวก[107]แต่อีกงานหนึ่งพบผลว่าง[108]

ใกล้เคียง

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม การบำบัดด้วยออกซิเจนแบบผสมอากาศอัตราการไหลสูง การบำบัดตาเหล่ด้วยชีวพิษโบทูลินัม การบำบัดด้วยการจับยึดนิวตรอน การบำบัดด้วยการรู้อาศัยสติ การบําบัดโดยพืช การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ การบำรุงรักษา การบำรุงความงามของสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม http://www.ehub.anu.edu.au/assist/about/research.p... http://www.comorbidity.edu.au/cre-publications?fie... http://ptsd.about.com/od/glossary/g/invivo.htm http://www.babcp.com/ http://www.biomedcentral.com/1471-244X/14/109 http://www.bmj.com/content/344/bmj.e2598 http://www.cogbtherapy.com/ http://www.effectivechildtherapy.com/ http://www.goodreads.com/book/show/20553738-this-b... http://www.healio.com/psychiatry/journals/psycann/...