ครัวการบินไทย ของ การบินไทย

ครัวการบินไทย (อังกฤษ: THAI Catering Service) เริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2503 โดยเช่าโรงซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบิน และอาคารเล็กอย่างละหนึ่งหลัง ภายในบริเวณท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่ดอนเมืองเป็นแห่งแรก เพื่อทำการผลิตและให้บริการอาหารชนิดต่าง ๆ สำหรับสายการบินไทย และสายการบินอื่นอีกมากกว่า 50 สายการบิน[49]

สำนักงานของครัวการบินไทย มีสองแห่งคือ อาคารขนาดใหญ่บนพื้นที่ 90,000 ตารางเมตร ภายในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย เพื่อผลิตอาหารสำหรับรองรับในส่วนของสายการบินไทย และคำสั่งจากลูกค้าทุกสายการบิน โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตอาหารจำนวนมากกว่า 87,000 มื้อต่อวัน ส่วนสำนักงานอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ภายในบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อสนับสนุนการกลับมาเปิดดำเนินการบินอีกครั้ง ตลอดจนรองรับความต้องการของเที่ยวบินภายในประเทศ รวมทั้งกิจการภาคพื้นดินอย่างการผลิตขนมอบ (Bakery) และการจัดเลี้ยงต่าง ๆ [49] โดยมีศักยภาพผลิตอาหารได้สูงสุด 49,000 มื้อต่อวัน

ครัวการบินไทยมีผลงานที่สำคัญคือ เป็นผู้ดำเนินการผลิตและให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม แก่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2541, เฟสปิกเกมส์ครั้งที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2542 และกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนครั้งที่ 24 เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงในงานไอฉิเอ็กซโป (Aichi Expo) เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย[49]

ภัตตาคารเยลโล ออร์คิด

ภัตตาคารเยลโล ออร์คิด (อังกฤษ: Yellow Orchid Restaurant) เปิดให้บริการเป็นแห่งแรก ภายในท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2515 และเริ่มให้บริการสาขาแรก ภายในท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2529

พัฟแอนด์พาย

ร้านขนมอบพัฟแอนด์พาย (อังกฤษ: Puff & Pie Bakery House) ก่อตั้งขึ้นราวปลายปี พ.ศ. 2538 โดยครัวการบินไทย และเริ่มเปิดทำการเป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 บริเวณหน้าอาคารรักคุณเท่าฟ้า ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ตลอดจนบริหารบุคลากรและอุปกรณ์ที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากครัวการบินไทยต้องสูญเสียรายได้ จากการบริการอาหารบนเครื่องบิน (Uplift) เนื่องจาก บมจ.การบินไทย มีนโยบายงดให้บริการอาหาร บนเที่ยวบินที่ไม่ตรงเวลาอาหาร ดังนั้นจึงทดลองเปิดขายขนมชนิดต่าง ๆ ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ครัวการบินไทยมีรายได้เพิ่ม เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด จึงเพิ่มความสำคัญอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายในการสร้างรายได้ จากกิจการพัฟแอนด์พาย ให้เป็นรายได้หลักอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากงานจัดเลี้ยง รวมถึงจากการผลิตและบริการอาหารบนเที่ยวบิน

ดังนั้น ครัวการบินไทยจึงดำเนินการขยายสาขาของร้านพัฟแอนด์พาย โดยแผนระยะแรก จะเปิดขายในพื้นที่ของ บมจ.การบินไทยก่อน เพื่อเป็นสวัสดิการของพนักงาน ทว่าต่อมาได้รับการเรียกร้องจากลูกค้าภายนอก ให้ขยายสาขาเพิ่มขึ้นในที่ต่าง ๆ เพื่อความสามารถในการให้บริการอย่างทั่วถึง ครัวการบินไทยจึงพิจารณาขยายสาขา ในสถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจอื่น ตลอดจนร้านพัฟแอนด์พายเฉพาะกิจ ภายในศูนย์การค้าและงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ซึ่งได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมากและต่อเนื่อง ครัวการบินไทยจึงพิจารณาขยายตลาด โดยเปิดโครงการ Puff & Pie Whole Sales โดยให้บุคคลภายนอกที่สนใจกิจการ เข้าร่วมประกอบธุรกิจในชื่อ "Puff & Pie Supreme Bakery Delight" ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา

สำหรับรูปแบบของร้านพัฟแอนด์พายส่วนมาก จะสร้างเป็นร้านค้าขนาดเล็ก (Kiosk) มีหลังคาผ้าใบสีขาวและเหลืองเป็นสัญลักษณ์ จำหน่ายอาหารไทย อาหารจีน และอาหารฝรั่งชนิดปรุงสำเร็จ ในชื่อผลิตภัณฑ์ซื้อกลับบ้าน (Take Home) รวมทั้งผลิตภัณฑ์เอื้องหลวง ที่ฝ่ายผลิตและบริการภาคพื้นเป็นผู้ผลิต วางจำหน่ายร่วมด้วย[50]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การบินไทย http://avherald.com/h?article=467ab3da&opt=0 http://avherald.com/h?article=4681fccd&opt=0 http://avherald.com/h?article=4826ce27&opt=0 http://avherald.com/h?article=496ca895&opt=0 http://avherald.com/h?article=49e5774b http://avherald.com/h?article=4b1e9702&opt=0 http://avherald.com/h?article=4be96a52&opt=0 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business... http://www.bangkokpost.com/business/tourism/572787... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1961/1...